ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 40 / 1อ่านอรรถกถา 40 / 21อรรถกถา เล่มที่ 40 ข้อ 22อ่านอรรถกถา 40 / 23อ่านอรรถกถา 40 / 1767
อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
มาติกานิกเขปวาร ปัจจยวิภังควาร อัตถิปัจจัย

               วรรณนานิทเทสแห่งอัตถิปัจจัย               
               ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในอัตถิปัจจัยนิทเทสต่อไป.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอัตถิปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งสหชาตะ ด้วยคำว่า จตฺตาโร ขนฺธา เป็นต้น. ทรงแสดงอัตถิปัจจัยด้วยอำนาจแห่งปุเรชาตะด้วยคำว่า จกฺขฺวายตนํ เป็นต้น.
               ในคำว่า ยํ รูปํ นิสฺสาย นี้ ทรงแสดงอัตถิปัจจัยด้วยอำนาจธรรมทั้งที่เป็นสหชาตะและปุเรชาตะ. บาลีนี้มาแล้วด้วยอำนาจอัตถิปัจจัย แห่งธรรมทั้งที่เป็นสหชาตะและปุเรชาตะทีเดียวด้วยประการฉะนี้.
               แต่ในปัญหาวาระ ได้อัตถิปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งอาหารและอินทรีย์ที่เป็นปัจฉาชาตะด้วย เพราะพระบาลีมาแล้วด้วยอำนาจธรรมเหล่านี้ คือสหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาร อินทรีย์. แต่ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทศนา ด้วยอำนาจแห่งธรรมที่มีส่วนเหลือ.
               พรรณนาบาลีในอธิการนี้เพียงเท่านี้.
               ก็ชื่อว่าอัตถิปัจจัยนี้ มี ๒ อย่าง คือโดยเป็นอัญญมัญญะและไม่ใช่อัญญมัญญะ. ใน ๒ อย่างนั้น อัตถิปัจจัยที่เป็นอัญญมัญญะมี ๓ อย่าง คืออรูปกับอรูป รูปกับรูป รูปและอรูปกับรูปและอรูป.
               จริงอยู่ ในคำนี้ว่า ขันธ์ ๔ เป็นอัตถิปัจจัยแก่อรูป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอรูปเป็นปัจจัยกัน ด้วยอำนาจการเกิดขึ้นแห่งจิตทั้งหมด.
               ในคำนี้ว่า จตฺตาโร มหาภูตา ตรัสถึงรูปเป็นปัจจัยกับรูป ด้วยอำนาจการสืบต่อแห่งรูปทั้งหมด.
               ในคำนี้ว่า โอกฺกนฺติกฺขเณ นามรูปํ ตรัสถึงรูปและอรูป กับรูปและอรูปเป็นปัจจัยกัน ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิและวัตถุรูป. อัตถิปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญะมี ๓ อย่าง คืออรูปเป็นอัตถิปัจจัยแก่รูป รูปเป็นอัตถิปัจจัยแก่รูป รูปเป็นอัตถิปัจจัยแก่อรูป.
               จริงอยู่ ในคำนี้ว่า จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอรูปเป็นปัจจัยแก่รูป ด้วยอำนาจปัญจโวการภพ.
               ในคำนี้ว่า มหาภูตา อุปาทารูปานํ ตรัสถึงรูปเป็นปัจจัยแก่รูป ด้วยอำนาจการสืบต่อแห่งรูปทั้งหมด.
               ในคำมีอาทิว่า "จกฺขฺวายตนํ จกฺขุวิญฺญาณธาตุยา" พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า รูปเป็นปัจจัยแก่อรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ด้วยอำนาจวัตถุและอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอัตถิปัจจัยนี้โดยสังเขป จะกล่าวว่า ได้แก่ เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นไป คือนามและรูปที่ถึงซึ่งขณะทั้ง ๓ ก็ถูก.
               อัตถิปัจจัยนั้นโดยประเภทแห่งชาติแจกออกเป็น ๕ ชาติ คือกุศล อกุศล วิบาก กิริยาและรูป. ใน ๕ ชาตินั้น อัตถิปัจจัยที่เป็นกุศลมี ๒ คือเป็นสหชาตะกับปัจฉาชาตะ, อกุศล วิบากและกิริยาก็เหมือนกัน.
               บรรดาอัตถิปัจจัยที่เป็นกุศลเป็นต้นนั้น กุศลจำแนกออกเป็น ๔ ภูมิ ด้วยอำนาจ เป็นกามาวจรเป็นต้น. อกุศลเป็นกามาวจรอย่างเดียว. วิบากเป็นไปทั้ง ๔ ภูมิ. กิริยาเป็นไปใน ๓ ภูมิ อัตถิปัจจัยคือรูปเป็นกามาวจรอย่างเดียว. ก็อัตถิปัจจัยคือรูปนั้นมี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจสหชาตะและปุเรชาตะ. ใน ๒ อย่างนั้น วัตถุ ๕ และอารมณ์ ๕ เป็นปุเรชาตะอย่างเดียว. หทัยวัตถุเป็นสหชาตะก็ได้ เป็นปุเรชาตะก็ได้ ส่วนอาหารและอินทรีย์ที่มาแล้วในปัญหาวาระ ย่อมไม่ได้การจำแนกโดยเป็นสหชาตะเป็นต้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่างๆ ในอธิการนี้ ดังพรรณนามาแล้ว.
               ก็ในอัตถิปัจจัยที่จำแนกไว้อย่างนี้ กุศลแม้ทั้ง ๔ ภูมิที่เกิดพร้อมกัน เป็นอัตถิปัจจัย. ในปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกันแก่ขันธ์ทั้งหลาย โดยนัยเป็นต้นว่า ขันธ์ ๑ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓. และเป็นปัจจัยแก่จิตตชรูป ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย. ก็สหชาตกุศลที่เหลือ เว้นรูปาวจรกุศล เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตเท่านั้นในอรูปภพ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย. ก็กุศลที่เป็นปัจฉาชาตะทั้ง ๔ ภูมิ เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ในปัญจโรการภพ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
               แม้ในอกุศลเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
               จริงอยู่ อกุศลที่เป็นสหชาตะแม้นั้นเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุต และจิตตชรูปในปัญจโวการภพ และเป็นปัจจัยเฉพาะแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตเท่านั้นในจตุโวการภพ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย. อกุศลที่เป็นปัจฉาชาตอกุศล เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
               ก็โดยความเป็นวิบาก อัตถิปัจจัยที่เป็นกามาวจรวิบากและรูปาวจรวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายและกัมมชรูป ในขณะปฏิสนธิโดยแน่นอน ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย. แต่เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและจิตตชรูปในปวัตติกาล ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ซึ่งถึงฐิติขณะแล้ว ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตัตถิปัจจัย.
               แต่อรูปาวจรวิบากและโลกุตตรวิบากที่เกิดในอรูปภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตนเท่านั้น ด้วยอำนาจสหชาตัตถิปัจจัย. โลกุตตรวิบากในปัญจโวการภพ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตนและจิตตชรูป ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตัตถิปัจจัย.
               โดยความเป็นกิริยา อัตถิปัจจัยที่เป็นรูปาวจรกิริยา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตและจิตตชรูป ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย, เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตัตถิปัจจัย.
               แต่กามาวจรและอรูปาวจรกิริยา เป็นปัจจัยเฉพาะแก่ขันธ์ที่สัมปยุตเท่านั้นในอรูปภพ และเป็นปัจจัยแม้แก่จิตตชรูปในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย. เป็นปัจจัยแก่กายที่มีสมุฏฐาน ๔ และ ๓ ด้วยอำนาจปัจฉาชาตัตถิปัจจัย.
               ก็ธรรมคือรูป เป็นอัตถิปัจจัย ๔ ปัจจัย คือสหชาตะ ปุเรชาตะ อาหารและอินทรีย์.
               ใน ๔ ปัจจัยนั้น อัตถิปัจจัยคือรูปที่เป็นสหชาตะมี ๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งสมุฏฐาน.
               ในสมุฏฐาน ๔ นั้น รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นสหชาตัตถิปัจจัยอย่างนี้คือ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒, มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูป ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย. วัตถุรูปในขณะปฏิสนธิ เป็นปัจจัยแก่กามาวจรวิบากและรูปาวจรวิบากขันธ์ ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัย.
               รูปที่มีสมุฏฐาน ๓ ที่เหลือเป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตัตถิปัจจัยอย่างนี้คือ มหาภูตรูป ๑ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๓, มหาภูตรูป ๓ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๑, มหาภูตรูป ๒ เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป ๒, มหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่อุปาทายรูป.
               ส่วนปุเรชาตัตถิปัจจัยมี ๒ อย่าง คือวัตถุปุเรชาตะและอารัมมณปุเรชาตะ.
               ทั้ง ๒ อย่างนั้น ผู้ศึกษาพึงเชื่อมความถือเอาตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในปุเรชาตปัจจัยในหนหลัง. แม้อาหารัตถิปัจจัย พึงประกอบตามนัยที่ประกอบแล้วในกวฬีการาหารปัจจัยในหนหลัง.
               ก็อาหารัตถิปัจจัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อัตถิปัจจัย ในอธิการนี้ ด้วยความเป็นปัจจัยในขณะที่ตนยังไม่ดับไป. แม้รูปชีวิตินทรีย์ พึงถือเอาตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในการอธิบายรูปชีวิตินทรีย์ ในอินทริยปัจจัยข้างต้น. ก็ในที่นี้ รูปชีวิตินทรีย์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อัตถิปัจจัยด้วยความเป็นปัจจัยในขณะที่ตนยังไม่ดับไป.
               ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย แม้ด้วยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในอธิการนี้ ดังนี้แล.

               วรรณนานิทเทสแห่งอัตถิปัจจัย จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ มาติกานิกเขปวาร ปัจจยวิภังควาร อัตถิปัจจัย จบ.
อ่านอรรถกถา 40 / 1อ่านอรรถกถา 40 / 21อรรถกถา เล่มที่ 40 ข้อ 22อ่านอรรถกถา 40 / 23อ่านอรรถกถา 40 / 1767
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=40&A=228&Z=256
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=9926
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=9926
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๗  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :