ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 4อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 5อ่านอรรถกถา 4 / 6อ่านอรรถกถา 4 / 252
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ
มุจจลินทกถา

               อรรถกถามุจจลินทกถา               
               หลายบทว่า อถ โข มุจฺจลินฺโท นาคราชา มีความว่า พระยานาคผู้มีอานุภาพใหญ่ เกิดขึ้นที่สระโบกขรณีใกล้ต้นไม้จิกนั่นเอง.
               หลายบทว่า สตฺตกฺขตฺตุํ โภเคหิ ปริกฺขิปิตฺวา มีความว่า เมื่อพระยานาคนั้นวงรอบพระกายด้วยขนด ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่ปกเบื้องบนพระเศียรอยู่อย่างนั้น ร่วมในแห่งวงขนดของพระยานาคนั้น มีประมาณเท่าห้องเรือนคลังในโลหปราสาท เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็นเหมือนประทับนั่งในปราสาทอันอับลม มีประตูหน้าต่างปิด.
               คำว่า มา ภควนฺตํ สีตํ เป็นต้น แสดงเหตุที่พระยานาคนั้นทำอย่างนั้น.
               จริงอยู่ พระยานาคนั้นทำได้อย่างนั้น ก็ด้วยตั้งใจว่า หนาวอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า. ร้อนอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า และสัมผัสเหลือบเป็นต้นอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า อันที่จริง เมื่อมีฝนตกพรำตลอด ๗ วัน ในที่นั้น ไม่มีความร้อนเลย. ถึงอย่างนั้น ก็สมควรที่พระยานาคนั้นจะคิดอย่างนี้ว่า ถ้าเมฆจะหายไปในระหว่างๆ ความร้อนคงจะมี แม้ความร้อนนั้นอย่าได้เบียดเบียนพระองค์เลย.
               บทว่า วิทฺธํ ได้แก่ หายแล้ว. อธิบายว่า เป็นของมีไกลเพราะหมดเมฆ.
               บทว่า วิคตวลาหกํ ได้แก่ ปราศจากเมฆ.
               บทว่า เทวํ ได้แก่ อากาศ.
               บทว่า สกวณฺณํ ได้แก่ รูปของตน.
               สองบทว่า สุโข วิเวโก มีความว่า อุปธิวิเวก กล่าวคือ นิพพานเป็นสุข.
               บทว่า ตุฏฺฐสฺส มีความว่า ผู้สันโดษด้วยความยินดีในจตุมรรคญาณ.
               บทว่า สุต๑- ธมฺมสฺส ได้แก่ ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว.
               บทว่า ปสฺสโต มีความว่า ผู้เห็นอยู่ซึ่งวิเวกนั้น หรือธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจะพึงเห็นได้ทั้งหมด ด้วยดวงตาคือญาณ ซึ่งได้บรรลุด้วยกำลังความเพียรของตน.
               ความไม่เกรี้ยวกราดกัน ชื่อว่าความไม่เบียดเบียนกัน.
               ธรรมเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยบทว่า ความไม่เบียดเบียนนั้น.
               สองบทว่า ปาณภูเตสุสญฺญโม มีความว่า และความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย. อธิบายว่า ความที่ไม่เบียดเบียนกัน เป็นความสุข.
               ธรรมเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งกรุณา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยบทว่า ความสำรวมนั้น.
               บาทคาถาว่า สุขา วิราคตา โลเก มีความว่า แม้ความปราศจากกำหนัด ก็จัดเป็นความสุข.
               ถามว่า ความปราศจากกำหนัดเป็นเช่นไร?
               ตอบว่า คือความล่วงกามทั้งหลายเสีย.
               อธิบายว่า ความปราศจากกำหนัดอันใด ที่ท่านเรียกว่าความล่วงกามทั้งหลายเสีย แม้ความปราศจากกำหนัดอันนั้น ก็จัดเป็นความสุข. อนาคามิมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยบทว่า ความปราศจากกำหนัดนั้น.
               ส่วนพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยคำนี้ว่า ความกำจัดอัสมิมานะเสีย.
               จริงอยู่ พระอรหัตท่านกล่าวว่าเป็นความกำจัดด้วยระงับอัสมิมานะ. ก็ขึ้นชื่อว่าสุขอื่นจากพระอรหัตนี้ไม่มี เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ข้อนี้แลเป็นสุขอย่างยิ่ง.
____________________________
๑- สุต ศัพท์ในที่นี้ ท่านให้แปลว่า ปรากฏ. เช่นอ้างไว้ใน สุมงฺคลวิลาสินี ภาค ๑ หน้า ๓๗.

               อรรถกถามุจจลินทกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ มุจจลินทกถา จบ.
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 4อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 5อ่านอรรถกถา 4 / 6อ่านอรรถกถา 4 / 252
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=137&Z=159
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=203
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=203
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :