ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 175อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 181อ่านอรรถกถา 4 / 185อ่านอรรถกถา 4 / 252
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ อุโบสถขันธกะ
พระพุทธานุญาตให้มอบปาริสุทธิเป็นต้น

               อรรถกถาปาริสุทธิและฉันทะ               
               ข้อว่า กาเยน วิญฺญาเปติ มีความว่า ภิกษุผู้อาพาธย่อมให้รู้ คือย่อมให้ทราบการให้ปาริสุทธิ ด้วยอวัยวะใหญ่น้อยอันใดอันหนึ่ง ก็แลเมื่ออาจเปล่งวาจา ย่อมให้รู้ด้วยวาจา เมื่ออาจทั้ง ๒ ประการ ย่อมให้รู้ทั้งกายวาจา.
               ข้อว่า สงฺเฆน ตตฺถ คนฺตฺวา อุโปสโถ กาตพฺโพ มีความว่า
               ถ้าภิกษุผู้อาพาธเช่นนั้นมีมาก สงฆ์พึงตั้งอยู่ตามลำดับกระทำภิกษุผู้อาพาธทั้งปวงไว้ในหัตถบาส. ถ้าภิกษุผู้อาพาธมีในระยะไกล สงฆ์ไม่พอ วันนั้นไม่ต้องทำอุโบสถ อันสงฆ์ผู้เป็นวรรคไม่พึงทำอุโบสถแท้.
               ข้อว่า ตตฺเถว ปกฺกมติ มีความว่า ภิกษุผู้นำปาริสุทธิ ไม่มาสู่ท่ามกลางสงฆ์ จะไปในที่บางแห่งจากที่นั้นที่เดียว.
               ข้อว่า สามเณโร ปฏิชานาติ มีความว่า ภิกษุผู้นำปาริสุทธิ ปฏิญญาอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเป็นสามเณร หรือบอกข้อที่ตนเป็นสามเณรจริงๆ หรือตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณรในภายหลัง. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.
               ข้อว่า สงฺฆปฺปตฺโต ปกฺกมติ มีความว่า ภิกษุผู้นำปาริสุทธิถึงหัตถบาสของภิกษุ ๔ รูปกำหนดอย่างต่ำที่สุด ผู้ประชุมกันเพื่อประโยชน์แก่อุโบสถแล้ว หลีกไปเสีย. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.
               ก็แลวินิจฉัยในการนำปาริสุทธินี้ พึงทราบดังนี้ :-
               ปาริสุทธิของภิกษุผู้มากรูป อันภิกษุรูป ๑ นำมาแล้ว เป็นอันนำมาแล้วแท้. แต่ถ้าภิกษุผู้นำนั้น พบภิกษุอื่นในกลางทาง จึงให้ปาริสุทธิของภิกษุทั้งหลายที่ตนรับมาด้วย ปาริสุทธิของตนด้วยปาริสุทธิของภิกษุผู้นำนั้นเท่านั้น ย่อมมา ส่วนปาริสุทธินอกจากนี้จัดเป็นปาริสุทธิดังโซ่ล่ามแมว ปาริสุทธินั้นย่อมไม่มา.
               ข้อว่า สุตฺโต น อาโรเจติ มีความว่า ภิกษุผู้นำปาริสุทธินั้นมาแล้วหลับเสีย ไม่บอกว่า ปาริสุทธิ อันภิกษุโน้นให้แล้วเจ้าข้า.
               วินิจฉัยในข้อว่า ปาริสุทฺธิหารกสฺส อนาปตฺติ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
               ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิ แกล้งไม่บอก เธอต้องทุกกฎ ส่วนปาริสุทธิเป็นอันนำมาแล้วแท้. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่เธอ เพราะมิได้แกล้งไม่บอก และอุโบสถของเธอทั้ง ๒ รูป เป็นอันทำแล้วเหมือนกัน.
               วินิจฉัยในการให้ฉันทะเล่า ย่อมเป็นเช่นกับวินิจฉัยที่กล่าวแล้วในการให้ปาริสุทธินั่นแล.
               วินิจฉัยในข้อว่า ปาริสุทฺธึ เทนฺเตน ฉนฺทมฺปิทาตุํ นี้พึงทราบดังนี้ :-
               หากว่า ภิกษุผู้อาพาธให้ปาริสุทธิเท่านั้น ไม่ให้ฉันทะ อุโบสถย่อมเป็นอันสงฆ์ทำแล้ว แต่สงฆ์ทำกรรมอันใด กรรมอื่นนั้นไม่เป็นอันสงฆ์ได้ทำ. ภิกษุผู้อาพาธให้แต่ฉันทะเท่านั้น ไม่ให้ปาริสุทธิ ทั้งอุโบสถทั้งกรรมของภิกษุสงฆ์ เป็นอันสงฆ์ทำแล้วแท้ แต่อุโบสถของภิกษุผู้ให้ฉันทะ ไม่จัดว่าอันเธอได้ทำเลย. ถ้าแม้ภิกษุบางรูปอธิษฐานอุโบสถในแม่น้ำหรือในสีมาแล้ว จึงมา เธอย่อมไม่ได้เพื่อจะอยู่เฉยด้วยคิดว่า เราทำอุโบสถแล้ว ต้องให้สามัคคีหรือฉันทะ.
               ข้อว่า สรติปิ อุโปสถํ นปิ สรติ มีความว่า บางคราวก็ระลึกได้ บางคราวก็ระลึกไม่ได้.
               ข้อว่า อตฺถิ เนว สรติ มีความว่า ภิกษุบ้ารูปใด ระลึกไม่ได้เสียเลยโดยส่วนเดียว กิจที่จะต้องให้สมมติแก่ภิกษุบ้ารูปนั้น ย่อมไม่มี.
               หลายบทว่า โส เทโส สมฺมชฺชิตฺวา ได้แก่ พึงกวาดประเทศนั้น.
               สองบทว่า โส เทโส เป็นปฐมาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ.
               คำว่า ปานียํ ปริโภชนียํ เป็นอาทิ มีเนื้อความชัดแล้ว. ก็เพราะเหตุไรเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนั้นไว้? เพื่อแสดงกิจมีบุพพกรณ์เป็นต้นแห่งอุโบสถ. เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า :-
               การปัดกวาด ตามประทีป ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ พร้อมทั้งปูลาดอาสนะเหล่านี้ เรียกว่า บุพพกรณ์ของอุโบสถ.
               กรรม ๔ อย่างนี้ ท่านเรียกว่า บุพพกรณ์ ด้วยประการฉะนี้.
               นำฉันทะ ปาริสุทธิ บอกฤดู นับภิกษุ สอนนางภิกษุณี เหล่านี้ บุพพกิจแห่งอุโบสถ.
               กรรม ๕ อย่างนี้ ท่านกล่าวว่า บุพพกิจ เพราะจะต้องทำภายหลังบุพพกรณ์.
               วันอุโบสถ ๑ ภิกษุผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร ๑ สภาคาบัติไม่มี ๑ บุคคลควรเว้นไม่มีในหัตถบาสสงฆ์นั้น ๑ รวมเรียกว่า ปัตตกัลละ แปลว่า ความพรั่งพร้อมถึงที่.
               ลักษณะ ๔ ประการนี้ ท่านเรียกว่า ปัตตกัลละ.
               ข้อว่า เตหิ สทฺธึ มีความว่า พึงทำบุพพกรณ์เป็นต้นเหล่านี้แล้วทำอุโบสถกับภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้วเหล่านั้น.
               วินิจฉัยในข้อว่า อชฺช เม อุโปสโถ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
               ถ้าเป็นวัน ๑๕ ค่ำจะอธิษฐานว่า อชฺช เม อุโปสโถ ปณฺณรโส แปลว่า วันนี้อุโบสถวัน ๑๕ ค่ำของเรา ดังนี้บ้าง ก็ควร. แม้ในอุโบสถวัน ๑๔ ค่ำ ก็นัยนี้แล.
               คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติว่า ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวไม่พึงทำอุโบสถ นี้ บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า ข้อนั้นเป็นอันพระองค์ทรงบัญญัติแล้ว ด้วยคำว่า ยสฺส สิยา อาปตฺติ เป็นอาทิ ๑ ด้วยบัญญัติการให้ปาริสุทธิอุโบสถ ๑.

               อรรถกถาปาริสุทธิและฉันทะ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ อุโบสถขันธกะ พระพุทธานุญาตให้มอบปาริสุทธิเป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 175อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 181อ่านอรรถกถา 4 / 185อ่านอรรถกถา 4 / 252
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=4729&Z=4872
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=3129
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=3129
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๒  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :