ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 146อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 147อ่านอรรถกถา 4 / 154อ่านอรรถกถา 4 / 252
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ อุโบสถขันธกะ
เรื่องปริพาชกอัญญเดียรถีย์เป็นต้น

               อรรถกถาวินิจฉัยในอุโบสถขันธกะ               
               ในบทว่า อญฺญติตฺถิยา นี้ มีวิเคราะห์ว่า ลัทธิ ท่านเรียกให้ชื่อว่าติตถะ แปลว่าท่า ท่าอื่นชื่ออัญญติตถะ, ท่าอื่นของชนเหล่านั้นมีอยู่ เหตุนั้น ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่า อัญญเดียรถีย์. มีคำอธิบายว่า ผู้มีลัทธิอื่นจากลัทธิในศาสนานี้.
               สองบทว่า ธมฺมํ ภาสนฺติ มีความว่า ย่อมชี้แจงถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำของเหล่าอัญญเดียรถีย์นั้น.
               สองบทว่า เต ลภนฺติ คือ มนุษย์เหล่านั้นย่อมได้.
               บทว่า มูคสูกรา คือ เหมือน สุกรตัวอ้วน.
               ในข้อว่า อนชฺฌาปนฺโน วา โหติ อาปชฺชิตฺวา วาวุฏฺฐิโต นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ภิกษุไม่ต้องอาบัติใด หรือต้องแล้ว แต่ออกแล้ว อาบัตินี้ชื่อว่า อาบัติไม่มี.
               ข้อว่า สมฺปชานมุสาวาโท กึ โหติ มีความว่า สัมปชานมุสาวาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ภิกษุนั้น นี้ว่าโดยอาบัติเป็นอาบัติอะไร? คือ เป็นอาบัติชนิดไหน?
               ข้อว่า ทุกฺกฏํ โหติ คือเป็นอาบัติทุกกฎ. ก็อาบัติทุกกฎนั้นแล ผู้ศึกษาอย่าพึงเข้าใจว่า เป็นอาบัติตามลักษณะแห่งมุสาวาท แต่ควรทราบว่า เป็นอาบัติมีการไม่ทำในวจีทวารเป็นสมุฏฐาน ตามพระวาจาของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันที่จริงพระอุบาลีเถระก็ได้กล่าวว่า
               ภิกษุไม่บอกด้วยวาจากับมนุษย์ไรๆ (ผู้อยู่ใกล้) และไม่เอิ้นบอกกะชนเหล่าอื่น (ผู้อยู่ห่าง) แต่ต้องอาบัติมีวาจาเป็นสมุฏฐาน หาต้องอาบัติมีกายเป็นสมุฏฐานไม่ ปัญหาข้อนี้ผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันนัก.
               บทว่า อนฺตรายิโก คือ ทำอันตราย.
               ข้อว่า กิสฺส ผาสุ โหติ มีความว่า ความสำราญย่อมมีเพื่อประโยชน์อะไร?
               ข้อว่า ปฐมสฺส ฌานสฺส อธิคมาย มีความว่า ความสำราญย่อมมี คือความสุขย่อมมี แก่ภิกษุนั้น เพื่อประโยชน์แก่ความบรรลุปฐมฌาน.
               นัยในคุณวิเศษทั้งปวงมีทุติยฌานเป็นต้น ก็เหมือนกัน.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปาติโมกขุทเทสครั้งแรก ทั้งอุทเทสทั้งนิทเทส ด้วยประการฉะนี้.
               บทว่า เทวสิกํ ได้แก่ ทุกๆ วัน
               หลายบทว่า จาตุทฺทเส วา ปณฺณรเส วา มีความว่า ในวันจาตุทฺทเส ๒ ครั้ง ในปักษ์ที่ ๓ และที่ ๗ แห่งฤดูอันหนึ่ง. ในวันปัณณรสี ๖ ครั้ง ในปักษ์ที่เหลือ จากนั้น อันนี้เป็นอรรถอันหนึ่งก่อน. และอรรถนี้กล่าวด้วยมุ่งเอาจิตตามปกติ. แต่เมื่อปัจจัยเห็นปานนั้นมี ก็สมควรจะสวดในวันจาตุททสีหรือวันปัณณรสี วันใดวันหนึ่งก็ได้ ตามพระบาลีว่า สกึ ปกฺขสฺส จาตุทฺทเส วา ปณฺณรเส วา.
               ก็เนื้อความนี้ บัณฑิตพึงทราบแม้โดยพระบาลีว่า อุโบสถของภิกษุทั้งหลายผู้เจ้าถิ่นเป็นวันจาตุททสี, อุโบสถของภิกษุทั้งหลายผู้อาคันตุกะเป็นวันปัณณรสี, ถ้าภิกษุผู้เจ้าถิ่นมากกว่าภิกษุผู้อาคันตุกะต้องคล้อยตามภิกษุผู้เจ้าถิ่น.๑-
____________________________
๑- มหาวคฺค ปฐม. ๒๖๑.

               อรรถกถาวินิจฉัยในอุโบสถขันธกะ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ อุโบสถขันธกะ เรื่องปริพาชกอัญญเดียรถีย์เป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 146อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 147อ่านอรรถกถา 4 / 154อ่านอรรถกถา 4 / 252
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=4053&Z=4207
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=2360
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=2360
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๑  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :