ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 127อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 128อ่านอรรถกถา 4 / 131อ่านอรรถกถา 4 / 252
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ
เรื่องห้ามคนฆ่ามารดามิให้อุปสมบทเป็นต้น

               อรรถกถามาตุฆาตกาทิวัตถุ               
               พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องบุคคลผู้ฆ่ามารดาเป็นต้นต่อไป :-
               สองบทว่า นิกฺขนฺตึ กเรยฺยํ มีความว่า เราพึงกระทำความออก คือความหลีกไป ความชำระสะสาง.
               ในคำว่า มาตุฆาตโก ภิกฺขเว นี้ มีวินิจฉัยว่า
               มารดาผู้ให้เกิดซึ่งเป็นหญิงมนุษย์ อันบุคคลใดแม้ตนเองก็เป็นชาติมนุษย์เหมือนกันแกล้งปลงเสียจากชีวิต บุคคลนี้เป็นผู้ฆ่ามารดาด้วยอนันตริยมาตุฆาตกรรม. บรรพชาและอุปสมบทแห่งบุคคลนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว.
               ส่วนมารดาผู้เลี้ยงดูก็ดี ป้าก็ดี น้าก็ดี ซึ่งมิใช่ผู้ให้เกิด แม้เป็นหญิงมนุษย์ หรือมารดาผู้ให้เกิดแต่มิใช่หญิงมนุษย์ อันบุคคลใดฆ่าแล้ว บรรพชาของบุคคลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงห้าม และเขาไม่เป็นผู้มีอนันตริยกรรม.
               มารดาผู้เป็นหญิงมนุษย์ อันบุคคลใดซึ่งตนเองเป็นสัตว์ดิรัจฉานฆ่าแล้ว แม้บุคคลนั้นย่อมไม่เป็นผู้มีอนันตริยกรรม. ส่วนบรรพชาของเขาเป็นอันทรงห้ามด้วย เพราะข้อที่เขาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน.
               คำที่เหลือเป็นคำตื้นทั้งนั้น.
               แม้ในบุคคลผู้ฆ่าบิดา ก็นัยนี้แล.
               ก็ถ้าแม้บุรุษเป็นลูกหญิงแพศยา ไม่ทราบว่า ผู้นี้เป็นบิดาของเรา เขาเกิดด้วยน้ำสมภพของชายใด และชายนั้นอันเขาฆ่าแล้วย่อมถึงความนับว่าเป็นผู้ฆ่าบิดาเหมือนกัน ย่อมถูกอนันตริยกรรมด้วย. แม้บุคคลผู้ฆ่าพระอรหันต์ พึงทราบด้วยอำนาจพระอรหันต์ผู้เป็นมนุษย์เหมือนกัน.
               วินิจฉัยในอรหันตฆาตกวัตถุนี้ พึงทราบดังนี้ว่า
               อันบุคคลเมื่อแกล้งปลงพระขีณาสพผู้เป็นชาติมนุษย์ โดยที่สุดแม้ไม่ใช่บรรพชิตเป็นทารกก็ตาม เป็นทาริกาก็ตาม จากชีวิต, ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าพระอรหันต์แท้ ย่อมถูกอนันตริยกรรมด้วย และบรรพชาของผู้นั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม.
               ส่วนบุคคลฆ่าพระอรหันต์ซึ่งมิใช่ชาติมนุษย์ หรือพระอริยบุคคลที่เหลือซึ่งเป็นชาติมนุษย์ ยังไม่เป็นผู้มีอนันตริยกรรม แม้บรรพชาของเขา ก็ไม่ทรงห้าม. แต่ว่า กรรมเป็นของรุนแรง. ดิรัจฉานแม้ฆ่าพระอรหันต์ซึ่งเป็นชาติมนุษย์ ก็ไม่เป็นผู้มีอนันตริยกรรม แต่ว่า เป็นกรรมอันหนัก.
               หลายบทว่า เต วธาย โอนียนฺติ มีความว่า โจรเหล่านั้นอันพวกราชบุรุษย่อมนำไป เพื่อประโยชน์แก่การฆ่า. อธิบายว่า นำไปเพื่อประหารชีวิต.
               ก็คำใดที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ในบาลีว่า สจา จ มยํ ความแห่งคำนั้นเท่านี้เองว่า สเจ มยํ. จริงอยู่ ในพระบาลีนี้ ท่านกล่าวนิบาตนี้ว่า สจา จ ในเมื่อนิบาตว่า สเจ อันท่านพึงกล่าว. อีกอย่างหนึ่งปาฐะว่า สเจ จ ก็มี. ใน ๒ ศัพท์นั้น ศัพท์ว่า สเจ เป็นสัมภาวนัตถนิบาต. ศัพท์ว่า เป็นนิบาตใช้ในอรรถมาตรว่าเป็นเครื่องทำบทให้เต็ม. ปาฐะว่า สจชฺช มยํ บ้าง ความแห่งปาฐะนั้นว่า สเจ อชฺช มยํ.

               อรรถกถามาตุฆาตกาทิวัตถุ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ เรื่องห้ามคนฆ่ามารดามิให้อุปสมบทเป็นต้น จบ.
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 127อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 128อ่านอรรถกถา 4 / 131อ่านอรรถกถา 4 / 252
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=3551&Z=3587
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=2022
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=2022
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๘  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :