ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 109อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 110อ่านอรรถกถา 4 / 111อ่านอรรถกถา 4 / 252
อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ
ทรงอนุญาตการปลงผม

               อรรถกถาภัณฑุกัมกถา               
               บทว่า กมฺมารภณฺฑุ ได้แก่ ลูกช่างทองซึ่งมีศีรษะโล้นไว้แหยม.
               มีคำอธิบายว่า เด็กรุ่นมีผม ๕ แหยม.๑-
               ข้อว่า สงฺฆํ อปโลเกตุํ ภณฺฑุกมฺมาย มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุบอกเล่าสงฆ์เพื่อประโยชน์แก่ภัณฑุกรรม.
               อาปุจฉนวิธี ในภัณฑุกรรมาธิการนั้น ดังนี้.
               พึงนิมนต์ภิกษุทั้งหลายผู้นับเนื่องในสีมาให้ประชุมกันแล้ว นำบรรพชาเปกขะไปในสีมานั้นแล้ว บอก ๓ ครั้งหรือ ๒ ครั้งหรือครั้งเดียวว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าบอกภัณฑุกรรมของเด็กนี้กะสงฆ์.
               อนึ่ง ในอธิการว่าด้วยการปลงผมนี้ จะบอกว่า ข้าพเจ้าบอกภัณฑุกรรมของเด็กนี้ ดังนี้ก็ดี ว่า ข้าพเจ้าบอกสมณกรณ์ของทารกนี้ ดังนี้ก็ดี ว่า ทารกนี้อยากบวช ดังนี้ก็ดี ควรทั้งนั้น.
               ถ้าสถานแห่งภิกษุผู้เป็นสภาคกันมีอยู่ คือโอกาสเป็นที่กำหนดปรากฎว่า ภิกษุ ๑๐ รูปหรือ ๒๐ หรือ ๓๐ รูปอยู่ด้วยกัน จะไปสู่โอกาสที่ภิกษุเหล่านั้นยืนแล้ว หรือโอกาสที่นั่งแล้วบอกเล่าโดยนัยก่อนนั้นเองก็ได้.
               แม้จะวานพวกภิกษุหนุ่มหรือเหล่าสามเณรแต่เว้นบรรพชาเปกขะเสีย ให้บอกโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านเจ้าข้า มีบรรพชาเปกขะอยู่คนหนึ่ง พวกผมบอกภัณฑุกรรมของเขา ดังนี้ก็ควร.
               ถ้าภิกษุบางพวกเข้าสู่เสนาสนะ หรือพุ่มไม้เป็นต้น หลับอยู่ก็ดี ทำสมณธรรมอยู่ก็ดี ฝ่ายภิกษุสามเณรผู้บอกเล่า แม้เที่ยวตามหาก็ไม่พบ จึงมีความสำคัญว่า เราบอกหมดทุกรูปแล้ว ขึ้นชื่อว่าบรรพชาเป็นกรรมเบา เพราะเหตุนั้น บรรพชาเปกขะนั้นบวชแล้ว เป็นอันบวชด้วยดีแท้ ไม่เป็นอาบัติแม้แก่อุปัชฌาย์ผู้ให้บวช.
               แต่ถ้าวัดที่อยู่ใหญ่เป็นที่อยู่ของภิกษุหลายพัน ถึงจะนิมนต์ภิกษุทั้งหมดให้ประชุมก็ทำได้ยาก ไม่จำต้องกล่าวถึงบอกเล่าตามลำดับ ต้องอยู่ในขัณฑสีมา หรือไปสู่แม่น้ำ หรือทะเลเป็นต้นแล้วจึงให้บวช. ฝ่ายผู้ใดเป็นคนโกนผมใหม่ หรือสึกออกไป หรือเป็นคนใดคนหนึ่ง ในพวกนักบวชมีนิครนถ์เป็นต้น มีผมเพียง ๒ องคุลี หรือหย่อนกว่า ๓ องคุลี กิจที่จะต้องปลงผมของผู้นั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น แม้จะไม่บอกภัณฑุกรรม ให้บุคคลเช่นนั้นบวช ก็ควร.
               ฝ่ายผู้ใดมีผมยาวเกิน ๒ องคุลี โดยที่สุดแม้ไว้ผมเพียงแหยมเดียว ผู้นั้น ภิกษุต้องบอกภัณฑุกรรมก่อนจึงให้บวชได้ อุบาลิวัตถุมีนัยดังกล่าวแล้วในมหาวิภังค์นั่นแล.
____________________________
๑- ตามนัยโยชนา ภาค ๒ หน้า ๒๐๒ ควรจะแปลว่า บทว่า กมมารภณฺฑุ ได้แก่ ชายศีรษะโล้นลูกนายช่างทอง. มีคำอธิบายว่า เด็กรุ่นบุตรนายช่างทองมีผมอยู่ ๕ แหยม. (ตุลาธาโร ก็คือ สุวณฺณกาโร). ส่วนปาฐะว่า กมฺมารภณฺฑุ ในพระบาลีนั้น แปลเอาความว่า บุตรนายช่างทองศีรษะโล้น (วินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ หน้า ๑๕๖).

               อรรถกถาภัณฑุกัมกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ ทรงอนุญาตการปลงผม จบ.
อ่านอรรถกถา 4 / 1อ่านอรรถกถา 4 / 109อรรถกถา เล่มที่ 4 ข้อ 110อ่านอรรถกถา 4 / 111อ่านอรรถกถา 4 / 252
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=3044&Z=3105
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=1436
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=1436
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๔  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :