ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 671อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 691อ่านอรรถกถา 37 / 696อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๒ นิโรธกถา

               อรรถกถานิโรธกถา               
               ว่าด้วยนิโรธ               
               บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องนิโรธคือความดับ.
               ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นว่ารวมนิโรธทั้ง ๒ คืออัปปฏิสังขานิโรธ คือการดับโดยไม่ใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา และปฏิสังขานิโรธ คือการดับโดยใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ทั้ง ๒ นี้เข้าด้วยกัน จึงชื่อว่านิโรธสัจจะ ดังนี้ ดุจนิกายมหิสาสกะและนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ สกวาทีหมายชนเหล่านั้น จึงถามว่า นิโรธเป็น ๒ หรือ คำตอบรับรองเป็นของพระปรวาที.
               ในปัญหาว่า ทุกขนิโรธเป็น ๒ หรือ ปรวาทีไม่ปรารถนาทุกขสัจจะเป็น ๒ เหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงตอบปฏิเสธ แต่ปรารถนาว่าทุกข์ย่อมดับไปโดยอาการ ๒ อย่าง เพราะฉะนั้น จึงตอบรับรอง.
               ในปัญหาว่า นิโรธสัจจะเป็น ๒ หรือ ปรวาที เมื่อไม่ปรารถนาด้วยสามารถแห่งการดับทุกขสัจจะทั้ง ๒ อย่าง จึงตอบปฏิเสธ แต่ย่อมตอบรับรองเพราะการดับทุกข์โดยอาการทั้ง ๒ อย่าง. ในคำทั้งหลาย แม้คำว่า ตาณะเป็น ๒ หรือ เป็นต้น ก็ในนี้นั่นแหละ ตาณะ คือธรรมเป็นเครื่องต้านทานเป็นต้น นี้เป็นไวพจน์ของพระนิพพาน.
               ในคำถามทั้งหลายมีคำว่า มีความสูงและต่ำแห่งนิพพานทั้ง ๒ หรือ เป็นต้น ปรวาทีเมื่อไม่เห็นพระนิพพานมีการสูงต่ำเป็นต้น จึงตอบปฏิเสธ.
               คำว่า สังขารที่ยังไม่ดับด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ดังนี้ อธิบายว่า สังขารเหล่าใดไม่ดับไปด้วยโลกุตตรญาณอันเป็นเครื่องพิจารณา ท่านเรียกสังขารเหล่านั้นว่า ดับไปแล้วตามปกติของตนเอง หรือเพราะไม่มีการปฏิบัติด้วยสามารถแห่งการสอบถามอุทเทสเป็นต้น.
               คำว่า สังขารที่ดับแล้วด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ได้แก่ สังขารเหล่านั้นย่อมดับไปด้วยโลกุตตรญาณ คือย่อมถึงซึ่งความไม่เกิดขึ้นอีก.
               คำถามว่า สังขารทั้งที่ยังไม่ดับด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ทั้งที่ดับแล้วด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ต่างก็ย่อยยับไปสิ้นแล้วมิใช่หรือ ดังนี้ เป็นของปรวาที. ในคำวิสัชนานั้น สกวาทีย่อมตอบรับรองซึ่งความที่สังขารทั้งหลายเหล่านั้นมีการแตกดับไปเป็นธรรมดา โดยมิต้องใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา เพราะการแตกดับแห่งสังขารทั้งหลายเป็นสภาพต้องแตกดับไปโดยส่วนเดียว หรือว่าความที่สังขารเหล่านั้น เมื่ออริยมรรคเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องแตกดับไปเพราะการแตกดับนั้นเทียว.
               คำที่เหลือในที่นี้มีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.
               อรรถกถานิโรธกถา จบ.               

               รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ
                         ๑. ปรูปหารกถา
                         ๒. อัญญาณกถา
                         ๓. กังขากถา
                         ๔. ปรวิตารณกถา
                         ๕. วจีเภทกถา
                         ๖. ทุกขาหารกถา
                         ๗. จิตตฐิติกถา
                         ๘. กุกกุฬกถา
                         ๙. อนุปุพพาภิสมยกถา
                         ๑๐. โวหารกถา
                         ๑๑. นิโรธกถา.
               วรรคที่ ๒ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๒ นิโรธกถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 671อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 691อ่านอรรถกถา 37 / 696อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=7347&Z=7415
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4231
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4231
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๖  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :