ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1814อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1818อ่านอรรถกถา 37 / 1823อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๒๐ นิรยปาลกถา

               อรรถกถานิรยปาลกถา               
               ว่าด้วยนายนิรยบาล               
               บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องนายนิรยบาล.
               ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า ในนรก กรรมของสัตว์นรกนั่นแหละ ย่อมฆ่าสัตว์นรกทั้งหลายโดยเป็นรูปนายนิรยบาล สัตว์ทั้งหลายชื่อว่าเป็นนายนิรยบาลหามีไม่ ดังนี้.
               คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
               ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า การทำกรรมกรณ์ คือการลงโทษ ไม่มีในนรกทั้งหลายหรือ เป็นต้น เพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่า นายนิรยบาลทั้งหลายไม่พึงมีในนรกไซร้ แม้กรรมกรณ์ทั้งหลายก็ไม่พึงมี แต่เมื่อกรรมกรณ์ทั้งหลายมีอยู่ การกระทำกรรมกรณ์ก็พึงมี มิใช่หรือ ดังนี้.
               คำว่า การทำกรรมกรณ์มีอยู่ในหมู่มนุษย์ สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อให้ทราบโดยแจ่มแจ้ง.
               ในข้อนี้มีอธิบายว่า เหมือนอย่างว่า เมื่ออุปกรณ์เครื่องลงโทษมีในพวกมนุษย์ทั้งหลาย การกระทำก็ย่อมมี ฉันใด แม้ในนรกนั้นก็ฉันนั้นนั่นแหละ.
               คำถามว่า นายนิรยบาลมีอยู่ในนรกทั้งหลายหรือ? เป็นของปรวาที. คำตอบรับรองเป็นของสกวาที. ปรวาทีนำพระสูตรมาโดยลัทธิของตนว่า ท้าวเวสสภูก็มิได้ฆ่า แม้ท้าวเปตติราช คือพญาเปรต ก็มิได้ฆ่า ฯลฯ กรรมของสัตว์นั้นเองย่อมฆ่าเขาผู้สิ้นบุญจากโลกนี้และเข้าถึงโลกหน้าในนรกนั้นๆ ดังนี้ พระสูตรนั้นสกวาทียอมรับแล้วว่า นั่นเป็นถ้อยคำที่หยั่งลงในพระศาสนา มีอยู่ ดังนี้.
               ในคำเหล่านั้น คำว่า ท้าวเวสสภู ได้แก่ เทพองค์หนึ่ง.
               คำว่า ท้าวเปตติราช ได้แก่ เปรตผู้มีฤทธิมากในปิตติวิสัย.
               ท้าวโสมเป็นต้นปรากฏชัดเจนแล้วทั้งนั้น.
               ข้อนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า ท้าวเวสสภู เป็นต้น ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ผู้ละโลกนี้แล้วไปสู่โลกหน้าตามกรรมทั้งหลายของตน.
               อนึ่ง สัตว์นั้นละที่นั้นไปด้วยกรรมเหล่าใด กรรมทั้งหลายอันเป็นของตนเหล่านั้นนั่นแหละ ย่อมฆ่าสัตว์ในที่นั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน มิใช่ทรงแสดงความไม่มีนายนิรยบาลทั้งหลาย.
               อนึ่ง บทแห่งพระสูตรทั้งหลายที่สกวาทีนำมากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนายนิรยบาลย่อมยังสัตว์นรกนั้นให้รับกรรมกรณ์ ๕ ประการ เป็นต้น มีอรรถที่ท่านแนะนำไว้แล้วทั้งนั้น แล.

               อรรถกถานิรยปาลกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๒๐ นิรยปาลกถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1814อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1818อ่านอรรถกถา 37 / 1823อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=19292&Z=19353
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=7009
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=7009
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๙  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :