ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1771อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1775อ่านอรรถกถา 37 / 1779อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๑๙ สุญญตากถา

               อรรถกถาสุญญตากถา               
               ว่าด้วยสุญญตา               
               บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องสุญญตา คือความว่าง.
               ในเรื่องนั้น คำว่า สุญญตา ได้แก่ สุญญตา ๒ คือ อนัตตลักขณะของขันธ์ทั้งหลายและพระนิพพาน.
               ในสุญญตาเหล่านั้น อนัตตลักขณะอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนที่นับเนื่องด้วยสังขารขันธ์ โดยปริยายหนึ่ง พระนิพพานเป็นปริยาปันนะ คือเป็นธรรมที่นับเนื่องด้วยสุญญตา โดยปริยายหนึ่ง.
               ก็ชนเหล่าใดไม่ถือเอาวิภาคนี้ มีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอันธกะทั้งหลายว่า สุญญตาเป็นธรรมนับเนื่องด้วยสังขาร ดังนี้. คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
               คำว่า ธรรมหานิมิตมิได้ ได้แก่ พระนิพพานอันเว้นจากนิมิตทั้งปวง แม้คำว่า ธรรมอันหาที่ตั้งมิได้ คืออัปปณิหิตะ ก็เป็นชื่อของพระนิพพานนั้นนั่นแหละ.
               ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท่านจึงนำพระนิพพานนี้มากล่าว.
               ตอบว่า เพื่อจะยกโทษของลัทธิอันไม่กล่าวจำแนกธรรม.
               ด้วยว่า ลัทธิของผู้ใดว่า สุญญตาเป็นธรรมนับเนื่องด้วยสังขารขันธ์โดยส่วนเดียว ดังนี้ เพราะไม่จำแนกออกไป ลัทธิแห่งชนนั้นก็ย่อมปรากฏว่า แม้แต่พระนิพพานก็เป็นธรรมที่นับเนื่องด้วยสังขารขันธ์ ดังนี้.
               เพื่อจะยกขึ้นซึ่งโทษของลัทธินี้ สกวาทีจึงนำคำว่า อนิมิตและอัปปณิหิตะ มากล่าว.
               ปรวาทีเมื่อไม่ปรารถนาซึ่งความที่พระนิพพานนั้นเป็นธรรมนับเนื่องด้วยสังขารนั้น จึงตอบปฏิเสธ.
               คำว่า สังขารขันธ์มิใช่ธรรมไม่เที่ยง เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงความผิดอันถึงความเป็นของไม่เที่ยงแห่งสุญญตาอันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่าพระนิพพาน.
               คำว่า ความว่างแห่งสังขารขันธ์นับเนื่องในวิญญาณขันธ์หรือ สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่าสุญญตาของขันธ์อื่นนับเนื่องด้วยขันธ์อื่นไซร้ แม้สุญญตาของสังขารขันธ์ ก็พึงนับเนื่องด้วยขันธ์ที่เหลือได้ ดังนี้.
               ข้อว่า ความว่างแห่งสังขารขันธ์ ไม่พึงกล่าวว่า นับเนื่องในรูปขันธ์หรือ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงโดยปฏิโลมว่า ถ้าว่าสุญญตาของสังขารขันธ์ไม่นับเนื่องด้วยขันธ์ที่เหลือไซร้ แม้สุญญตาของขันธ์ที่เหลือก็ชื่อว่านับเนื่องในสังขารขันธ์หรือ ดังนี้.
               สุญฺญมิทํ ภิกฺขเว สงฺขาราติ สุตฺตํ ปรสมยโต อาภตํ ฯ
               พระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารเหล่านี้ว่างจากตนหรือจากความเป็นตน ปรวาทีนำมาจากลัทธิอื่น. ในคำเหล่านั้น คำว่า สังขารเหล่านี้ อธิบายว่า การหยั่งลงในพระศาสนาว่า ปัญจขันธ์เหล่านั้นเทียวชื่อว่าเป็นสภาพว่าง เพราะว่างจากตน และของที่เนื่องด้วยตน ดังนี้ ย่อมไม่ผิด ดุจอาคตสถานว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจจา ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตไว้. แต่พระสูตรนี้ ย่อมแสดงซึ่งความที่แห่งสุญญตาเป็นธรรมที่นับเนื่องด้วยสังขารขันธ์ เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระสูตรนี้ จึงมิใช่ข้อพิสูจน์ว่า พระนิพพานมิใช่สุญญตา คือความว่าง ดังนี้แล.

               อรรถกถาสุญญตากถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๑๙ สุญญตากถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1771อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1775อ่านอรรถกถา 37 / 1779อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=18680&Z=18737
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6854
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6854
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๙  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :