ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1747อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1750อ่านอรรถกถา 37 / 1755อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๑๘ ฌานสังกันติกถา

               อรรถกถาฌานสังกันติกถา               
               ว่าด้วยการเลื่อนฌาน               
               บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องการเลื่อนฌาน คือการเปลี่ยนจากฌานหนึ่งไปสู่ฌานหนึ่ง.
               ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายมหิสสาสกะและนิกายอันธกะบางพวกว่า โยคีบุคคลย่อมเลื่อนจากฌานมาสู่ฌาน โดยเว้นจากความเป็นไปแห่งอุปจาระของฌานนั้นๆ เพราะอาศัยการแสดงฌานโดยลำดับนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลายเทียว ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌานอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบ ฯลฯ เข้าถึงทุติยฌาน ฯลฯ เข้าถึงตติยฌาน ฯลฯ เข้าถึงจตุตถฌานอยู่ ดังนี้.
               คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
               ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวคำว่า เลื่อนสู่ตติยฌานจากปฐมฌานเป็นต้น เพื่อท้วงว่า ถ้าว่า บุคคลไม่บรรลุอุปจาระแห่งทุติยฌานย่อมเลื่อนจากปฐมฌานเข้าสู่ทุติยฌานโดยผิดระเบียบได้ไซร้ บุคคลก็พึงเลื่อนจากปฐมฌานเข้าสู่ตติยฌาน จากทุติยฌานเข้าสู่แม้จตุตถฌานได้ ดังนี้.
               คำว่า ความนึก...ความตั้งใจอันใด เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานเป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อท้วงด้วยคำว่า บุคคลย่อมเข้าทุติยฌานถัดจากปฐมฌาน หรือเข้าตติยฌานเป็นต้นซึ่งต่อจากทุติยฌานเป็นต้นได้ไซร้ บุคคลก็พึงเข้าฌานได้ด้วยอาวัชชนจิตเดียว คือหมายความว่า ความนึกครั้งเดียวเข้าฌานได้ทุกฌาน ได้.
               คำว่า ผู้กระทำไว้ในใจซึ่งกามทั้งหลายโดยความเป็นของมีโทษ อธิบายว่า เมื่อพระโยคีมนสิการกามทั้งหลายโดยความเป็นโทษอยู่ ปฐมฌานย่อมเกิดขึ้นในภายหลัง แต่ในขณะแห่งฌาน นิมิตนั้นนั่นแหละย่อมเป็นการกระทำไว้ในใจ.
               คำว่า ปฐมฌานอันนั้น เป็นต้น สกวาทีย่อมถามเพื่อท้วงด้วยคำว่า ถ้าว่าฌานนั้นนั่นแหละเว้นเบื้องต้นและเบื้องปลายพึงมีได้โดยลักษณะไซร้ ฌานนั้นก็พึงเกิดได้ตามลำดับ ดุจชวนจิตดวงสุดท้ายเกิดเพราะอาศัยชวนจิตดวงก่อน.
               พึงทราบเนื้อความในที่ทั้งปวงโดยอุบายนี้.
               พระสูตรนี้ย่อมแสดงความที่ฌานทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดยลำดับด้วยคำว่า สงัดแล้วจากกามทั้งหลายเทียว เป็นต้น มิใช่แสดงถึงความเกิดขึ้นแห่งฌานอันติดต่อกันไป โดยเว้นมนสิการ เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงมิใช่ข้ออ้างว่าอุปจารฌานไม่มี ดังนี้แล.

               อรรถกถาฌานสังกันติกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๑๘ ฌานสังกันติกถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1747อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1750อ่านอรรถกถา 37 / 1755อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=18302&Z=18423
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6758
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6758
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๙  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :