ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1515อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1518อ่านอรรถกถา 37 / 1521อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๑๓ อนันตราปยุตตกถา

               อรรถกถาอนันตราปยุตตกถา               
               ว่าด้วยบุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม               
               บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องบุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม คือผู้สั่งให้ทำอนันตริยกรรม.
               ในเรื่องนั้น บุคคลใดสั่งให้ทำอนันตริยกรรมมีการฆ่ามารดาเป็นต้น อันให้ผลโดยไม่มีภพอื่นคั่นในระหว่างโดยประเภทแห่งขันธ์ บุคคลนั้นชื่อว่าผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม ในเรื่องนี้ สกวาทีทำการสันนิษฐานคือลงความเห็นในลัทธิของตนว่า บุคคลใดจักกระทำกรรมนั้นที่เขาสั่งด้วยคำสั่งที่แน่นอน บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้เที่ยงในทางที่ผิด เขาย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม เพราะความที่เจตนาที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จเกิดขึ้นแล้ว แต่ว่าบุคคลใดจักกระทำซึ่งกรรมที่เขาสั่งนั้นด้วยคำสั่งที่ไม่แน่นอน บุคคลนั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้เที่ยงในทางที่ผิด เขาย่อมเป็นผู้ควรเพื่อก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม เพราะความที่เจตนาอันให้สำเร็จประโยชน์นั้นยังไม่เกิดขึ้น ดังนี้.
               ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามทั้งนั้น แม้คำสั่งนั้นแน่นอนก็ตาม ไม่แน่นอนก็ตาม ดังนี้ เพื่อทำลายลัทธิแห่งชนเหล่านั้น สกวาทีจึงให้ปรวาทีถามตนก่อนว่า บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น คำถามแรกในปัญหานี้จึงเป็นของปรวาที คำตอบรับรองหมายเอาความไม่มีเจตนาที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จเป็นของสกวาที.
               จากนั้นปรวาทีผู้สำคัญอยู่ว่า บุคคลนั้นเป็นผู้เที่ยงในทางที่ผิดเพราะการสั่งให้ทำกรรมมีการฆ่ามารดาเป็นต้นนั่นเทียว เพราะฉะนั้น จึงถามปัญหาว่า (เขา) พึงก้าวลงสู่มิจฉัตตนิยามเป็นต้น สกวาทีตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น โดยหมายเอาการไม่ก้าวลงสู่นิยามทั้ง ๒ ของบุคคลผู้เดียว.
               คำว่า กรรมนั้น ได้แก่ อนันตริยกรรมมีการฆ่ามารดาเป็นต้น.
               ในปัญหานั้น สกวาทีตอบรับรองว่า ใช่ หมายเอาคำสั่งที่ไม่แน่นอน. เพราะว่าความรำคาญใจและความเดือดร้อน ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ชักนำทำคำสั่งอันไม่แน่นอนว่า เราทำกรรมอันไม่สมควรแล้วทีเดียว ดังนี้.
               คำว่า หากว่า เป็นต้น ที่ปรวาทีกล่าวก็เพื่อจะให้ลัทธิตั้งไว้ด้วยการถือเอาซึ่งเหตุสักว่าความเกิดขึ้นแห่งความรำคาญใจ.
               บัดนี้ เป็นคำถามของสกวาทีว่า บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม เพราะถือเอาบุคคลนั้นนั่นแหละ ที่ปรวาทีตอบปฏิเสธถึงการก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามของผู้ชักนำในการทำอนันตริยกรรมแม้ด้วยคำสั่งอันไม่แน่นอน. คำตอบรับรองของปรวาทีย่อมมีด้วยสามารถแห่งลัทธิของตน.
               ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงปรวาทีนั้นว่า บุคคลผู้ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามเป็นผู้ทำกรรมมีการฆ่ามารดาเป็นต้น ก็กรรมเหล่านั้นอันบุคคลนั้นทำแล้วหรือ จึงกล่าวคำว่า เขาได้ปลงชีวิตมารดา เป็นต้น. ปรวาทีเมื่อไม่เห็นการกระทำเช่นนั้น เพราะความไม่เบียดเบียนชนเหล่านั้น จึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น.
               คำว่า ล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว ท่านกล่าวหมายเอากรรมอันเป็นคำสั่งที่ไม่แน่นอน. อธิบายว่า บุคคลผู้ห้ามคำสั่งอยู่ว่า ก็กรรมนั้นแล เราสั่งแล้ว ขอท่านอย่าทำ ดังนี้ ชื่อว่าคำสั่งนั้นอันตนล้มเลิกเสียแล้ว เพราะความที่คำสั่งนั้นอันตนถอนเสียแล้วนั่นแหละ จึงชื่อว่าตนกำจัดความรำคาญใจและความเดือดร้อนใจได้ในปัญหานี้ แม้ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนี้มีอยู่ ปรวาทีผู้สำคัญอยู่ซึ่งความที่คำสั่งแรกเท่านั้นเป็นคำสั่งแน่นอน ในปัญหานั้น จึงตอบรับรองว่า ใช่. ทีนั้น สกวาทีจึงให้ปรวาทีรับคำซึ่งความที่กรรมนั้นเป็นกรรมอันถอนแล้ว จึงกล่าวคำว่า หากว่าเป็นต้น เพื่ออันยังลัทธิของตนให้ตั้งไว้.
               ในปัญหาที่สุดว่า บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม อีกเป็นคำถามของปรวาทีซึ่งเหมือนปัญหาแรก คำตอบรับรองเป็นของสกวาที.
               คำซักถามว่า เขาได้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมนั้นแล้วมิใช่หรือ เป็นของปรวาที คำตอบรับรองของสกวาทีหมายเอาการชักนำแล้วในกาลก่อนแต่การถอนคำ.
               การตั้งลัทธิของปรวาทีด้วยคำว่า หากว่า เป็นต้น ได้แก่ ด้วยอำนาจคำสั่งที่ไม่แน่นอนเพราะถือเอาเหตุสักว่าความเป็นผู้สั่งก่อนของผู้ชักนำ. ก็ลัทธินี้ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้เลย เพราะตั้งไว้โดยไม่พิจารณา ดังนี้.

               อรรถกถาอนันตราปยุตตกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๑๓ อนันตราปยุตตกถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1515อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1518อ่านอรรถกถา 37 / 1521อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=15527&Z=15572
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=6023
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=6023
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :