ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1489อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1492อ่านอรรถกถา 37 / 1500อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๑๒ สัตตักขัตตุปรมกถา

               อรรถกถาสัตตักขัตตุปรมกถา               
               ว่าด้วยบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ               
               บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ คือบุคคลผู้มีการเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง.
               ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธินิกายอุตตราปถกะทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สัตตักขัตตุปรมบุคคลมีอยู่ เหตุใด เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้นั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะ จึงชื่อว่าเป็นผู้เที่ยงโดยความเป็นผู้มีการเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้.
               คำถามของสกวาทีเพื่อแสดงวิภาคนี้แก่ชนเหล่านั้นว่า ยกเว้นอริยมรรคแล้วการกำหนดแน่นอนอย่างอื่นไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นพึงเป็นผู้เที่ยงเพราะความเป็นผู้มีการเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่งด้วยเหตุอันใด ดังนี้.
               คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
               ในคำทั้งหลาย คำว่า บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ได้ปลงชีวิตมารดาเป็นต้น พึงทราบคำอธิบายอย่างนี้ว่า นิยาม๑- คือธรรมที่กำหนดแน่นอนมี ๒ อย่าง คือสัมมัตตนิยาม คือธรรมที่กำหนดแน่นอนในทางที่ถูก ๑ มิจฉัตตนิยาม คือธรรมที่กำหนดแน่นอนในทางที่ผิด ๑
               อริยมรรค ชื่อว่าสัมมัตตนิยาม ก็อริยมรรคนั้นย่อมกำหนดซึ่งความเป็นอวิปากธรรมและความเกิดขึ้นแห่งผลธรรม.
               ส่วนมิจฉัตตนิยามย่อมกำหนดแน่นอนซึ่งอนันตริยกรรม คือความเกิดขึ้นในนรกอันไม่มีภพอื่นคั่นในระหว่าง.
               ในปัญหานั้น สัตตักขัตตุปรมบุคคลย่อมเป็นผู้อันโสดาปัตติมรรคกำหนดแล้วโดยความเป็นสภาพธรรมที่ไม่ตกไปสู่อบาย และโดยความเกิดขึ้นแห่งผลธรรม ส่วนนิยามแห่งมรรคที่เหลือย่อมไม่มีแก่สัตตักขัตตุปรมบุคคลนั้น เพราะมิใช่เป็นธรรมที่ท่านบรรลุแล้ว แม้สัตตักขัตตุปรมบุคคลนั้น ก็ไม่อาจทำอนันตริยกรรม ก็แต่ว่าท่านคือปรวาที ปรารถนานิยามแห่งสัตตักขัตตุปรมบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงถามท่านว่า สัตตักขัตตุปรมบุคคลนั้นเป็นผู้อันมิจฉัตตนิยามนี้กำหนดแล้วตามลัทธิของท่านหรือ.
               ในปัญหาทั้งหลายว่า บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อตรัสรู้ธรรมในระหว่างหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาความไม่มีธรรมอื่นคั่นในระหว่าง ย่อมตอบรับรองหมายเอาการเกิดอีก ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง.
____________________________
๑- บาลีพระอภิธรรมใช้คำว่า นิยาโม แต่อรรถกถาใช้คำว่า นิยโม แปลว่า ความแน่นอน คือความกำหนดแน่นอนเหมือนกัน หรือจะแปลทับศัพท์ว่า นิยม, นิยาม ก็ได้.

               ในปัญหาทั้งหลายว่า นิยามที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะไว้ด้วยความเกิด ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง มีอยู่มิใช่หรือ ปรวาทีเมื่อไม่เห็นนิยามของความเป็นสัตตักขัตตุปรมบุคคล จึงตอบปฏิเสธ.
               คำว่า สติปัฏฐาน ที่กำหนดบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงซึ่งมรรคธรรมทั้งหลายที่ท่านเรียกว่านิยาม.
               อนึ่ง ธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้นนั้นย่อมไม่มีเพราะความไม่เกิดขึ้นแห่งปฐมมรรคของสัตตักขัตตุปรมบุคคลนั้นอีก. เพราะฉะนั้น ท่านจึงตอบปฏิเสธ.
               คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
               ในคำว่า บุคคลนั้นเป็นสัตตักขัตตุปรมะมิใช่หรือ ที่ปรวาทีนำมานี้อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงพยากรณ์บุคคลเหล่านั้นด้วยกำลังแห่งพระญาณของพระองค์ว่า บุคคลนี้ท่องเที่ยวไปสิ้นภพมีประมาณเท่านี้ๆ แล้วจักปรินิพพาน ดังนี้เป็นต้น. ก็คำอะไรๆ ที่พระองค์ตรัสว่า สัตตักขัตตุปรมบุคคล โกลังโกละบุคคลและเอกพีชีบุคคล ดังนี้ ชื่อว่าเป็นนิยามแห่งภพหามีไม่ เพราะฉะนั้น พระสูตรนี้จึงไม่สำเร็จประโยชน์ ดังนี้แล.

               อรรถกถาสัตตักขัตตุปรมกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๑๒ สัตตักขัตตุปรมกถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1489อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1492อ่านอรรถกถา 37 / 1500อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=15256&Z=15321
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5939
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5939
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :