ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1470อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1472อ่านอรรถกถา 37 / 1476อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๑๑ อนิจจตากถา

               อรรถกถาอนิจจตากถา               
               ว่าด้วยความไม่เที่ยง               
               บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องความไม่เที่ยง. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า แม้ความไม่เที่ยงแห่งรูปเป็นต้นที่ไม่เที่ยง ก็เป็นภาวะสำเร็จแล้ว คือหมายความว่าเกิดขึ้นแล้วดุจรูปเป็นต้น ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
               ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า ความไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยงนั้นก็เป็นภาวะสำเร็จแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว หรือ? เพื่อท้วงว่า ความไม่เที่ยงเป็นของสำเร็จแล้วราวกะรูปเป็นต้น ตามลัทธิของท่านมีอยู่ไซร้ อันความไม่เที่ยงที่สำเร็จแล้วอย่างอื่นก็พึงมีแก่ความไม่เที่ยงแม้นั้น ดังนี้.
               ปรวาทีนั้นปฏิเสธโดยความไม่มีความไม่เที่ยง ๒ อย่างรวมกัน แต่ตอบรับรองเพราะความไม่เที่ยงนั้นย่อมไม่เป็นความไม่เที่ยงอีก หมายความว่าความไม่เที่ยงนั้นย่อมอันตรธานไปกับความไม่เที่ยงนั้นนั่นแหละ.
               ลำดับนั้น สกวาทีไม่ให้โอกาสอันมีเลศนัยแก่ปรวาทีนั้นจึงยกโทษ คือการไม่เข้าไปตัดวัฏฏะด้วยสามารถแห่งธรรมอื่นๆ ว่าความไม่เที่ยงที่ ๒ ท่านไม่รับรองตามลัทธิของท่านโดยความเป็นภาวะไม่เที่ยงนั้นๆ บ้าง โดยความเป็นภาวะไม่เที่ยงอื่นจากนั้นบ้าง จึงกล่าวคำว่า ความไม่เที่ยงนั้นๆ แลไม่มีการทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ เป็นต้น.
               คำว่า ชราเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น สกวาทีกล่าวด้วยความสามารถแห่งการประกอบเนืองๆ ซึ่งการจำแนกความไม่เที่ยง เพราะขึ้นชื่อว่าความไม่เที่ยงอื่นจากชราและมรณะแห่งธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่มี.
               บัณฑิตพึงทราบคำตอบรับรองและคำปฏิเสธของปรวาที ในปัญหาแม้นั้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในก่อนนั่นแหละ.
               คำว่า รูปเป็นภาวะที่สำเร็จแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อเทียบเคียงความไม่เที่ยงแห่งธรรมมีรูปเป็นต้นเหล่านั้นกับความไม่เที่ยงเหล่านั้น.
               ในข้อนั้น ปรวาทีเมื่อสำคัญว่า ความไม่เที่ยง ความชราและมรณะแห่งธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นที่สำเร็จแล้วมีอยู่ ฉันใด ธรรมเหล่านั้น ไม่มีอยู่แก่ธรรมทั้งหลายมีความไม่เที่ยงเป็นต้นที่สำเร็จแล้ว ฉันนั้น จึงตอบปฏิเสธโดยส่วนเดียว ดังนี้.
               อรรถกถาอนิจจตากถา จบ.               

               รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ
                         ๑. ติสโสปิอนุสยกถา
                         ๒. ญาณกถา
                         ๓. ญาณังจิตตวิปปยุตตันติกถา
                         ๔. อิทังทุกขันติกถา
                         ๕. อิทธิพลกถา
                         ๖. สมาธิกถา
                         ๗. ธัมมัฏฐตตากถา
                         ๘. อนิจจตากถา.

               วรรคที่ ๑๑ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๑๑ อนิจจตากถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1470อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1472อ่านอรรถกถา 37 / 1476อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=14972&Z=15033
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5869
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5869
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :