ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1187อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1193อ่านอรรถกถา 37 / 1198อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๘ ฉคติกถา

               อรรถกถาฉคติกถา               
               ว่าด้วยคติ ๖               
               บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องคติ ๖.
               ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะและอุตตราปถกะทั้งหลายว่า คติมี ๖ รวมทั้งอสุรกาย ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
               ลำดับนั้น สกวาที เพื่อจะท้วงด้วยสามารถแห่งคติทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดไว้ในเรื่องโลมหังสนสูตรว่า ดูก่อนสารีบุตร คติ ๕ เหล่านี้แลมีอยู่ ดังนี้ จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคติไว้ ๕ มิใช่หรือ เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองเพราะกลัวผิดจากพระสูตร.
               ถามว่า ก็เพราะเหตุไร สกวาทีจึงไม่รับรองคติ ๖ แม้อสุรกาย ท่านก็สงเคราะห์เข้าในอบายภูมิ ดังคำนี้ว่า พระอริยเจ้าพ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ดังนี้ มิใช่หรือ?
               แก้ว่า ท่านสงเคราะห์อสุรกายไว้ในข้อนั้น ก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ไม่จัดเป็นคติ.
               ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่า เพราะไม่มีคติส่วนหนึ่งต่างหาก.
               จริงอยู่ พวกอสูรชื่อว่ากาลกัญชิกาในจำพวกอสุรกาย ท่านสงเคราะห์เข้าในคติแห่งเปรต. บริษัทของท้าวเวปจิตติ ท่านสงเคราะห์เข้าในคติแห่งพวกเทพ. คำว่า อสุรกาย นี้ ชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งต่างหากย่อมไม่มี.
               บัดนี้ สกวาทีจึงเริ่มคำว่า อสูรพวกกาลกัญชิกา เป็นต้น เพื่อจะแสดงอรรถอย่างเดียวกันนั้นนั่นแหละ.
               ในคำเหล่านั้น คำว่า สมานวณฺณา ได้แก่ มีรูปร่างสัณฐานอย่างเดียวกัน.
               คำว่า มีรูปร่างน่าเกลียด ได้แก่ มีรูปพิการ มีลักษณะชั่ว.
               คำว่า มีการเสวยอารมณ์อย่างเดียวกัน ได้แก่ มีการประพฤติในเมถุนธรรมเช่นเดียวกัน.
               คำว่า มีอาหารอย่างเดียวกัน ได้แก่ มีอาหาร มีน้ำลาย น้ำมูก น้ำเหลืองและเลือดเป็นต้นอย่างเดียวกัน.
               คำว่า มีอายุเท่ากัน ได้แก่ มีการกำหนดอายุเหมือนกัน.
               คำว่า อาวาหะและวิวาหะ ได้แก่ การรับหญิงสาวและการให้หญิงสาว.
               ในฝ่ายเทพเจ้า สุกฺกปกฺเข ในพวกคุณงามความดี คำว่า มีรูปร่างเหมือนกัน ได้แก่ เป็นผู้มีรูปร่างสวยงามเช่นเดียวกัน ถึงพร้อมด้วยรัศมีอันนำมาซึ่งความเลื่อมใสน่าทัศนา คือน่ารักน่าดู.
               คำว่า มีการเสวยอารมณ์อย่างเดียวกัน ได้แก่ มีการบริโภคกามคุณ ๕ เหมือนกัน.
               คำว่า มีอาหารอย่างเดียวกัน ได้แก่ อาหารมีสุธาโภชน์เป็นต้นเหมือนกัน.
               คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.
               คำว่า มีอสุรกายมิใช่หรือ นี้ เป็นการสำเร็จประโยชน์แต่เพียงว่าอสูรกายมีอยู่เท่านั้น แต่ไม่สำเร็จว่าเป็นคติของอสูรกายนั้น เพราะไม่มีการกำหนดคติของอสุรกายไว้ส่วนหนึ่งดังนี้แล.

               อรรถกถาฉคติกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๘ ฉคติกถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1187อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1193อ่านอรรถกถา 37 / 1198อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=11711&Z=11750
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5219
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5219
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๗  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :