ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1158อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1169อ่านอรรถกถา 37 / 1179อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์
วรรคที่ ๗ ชรามรณวิปาโกติกถา

               อรรถกถาชรามรณังวิปาโกติกถา               
               ว่าด้วยชรามรณะเป็นวิบาก               
               บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องชรามรณะเป็นวิบาก คือความแก่ความตายเป็นวิบาก.
               ในปัญหานั้น ชื่อว่าชรา เพราะความที่เป็นผู้มีผิวพรรณทราม ชื่อว่ามรณะ เพราะความเป็นผู้มีอายุน้อย. อนึ่ง กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณทราม และให้มีอายุน้อยนั้นมีอยู่ ในคำว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณทรามและให้มีอายุน้อยนั้น มีอยู่ ในคำว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณขี้ริ้ว กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีอายุน้อย มีอยู่ ดังนี้ เพราะฉะนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ชรามรณะเป็นวิบาก คือเป็นผล ดังนี้. คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที.
               ในปัญหาปฏิโลม คำว่า ชรามรณะไม่มีอารมณ์ อธิบายว่า รูปธรรมทั้งหลายไม่มีอารมณ์ ส่วนชรามรณะแห่งอรูปทั้งหลายคือนามธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าไม่มีอารมณ์เพราะความไม่มีลักษณะแห่งสัมปโยคะ.
               ในปัญหาว่า ชรามรณะแห่งอกุศลธรรมเป็นวิบากแห่งอกุศลธรรมหรือ ปรวาทีตอบรับรองตามลัทธิว่า ขึ้นชื่อว่าชราและมรณะพึงเป็นวิบากที่ไม่น่าปรารถนา. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ย่อมตอบปฏิเสธซึ่งความที่ชรามรณะแห่งกุศลธรรมว่าเป็นวิบากแห่งกุศลธรรม. และย่อมตอบรับรองชรามรณะแห่งกุศลธรรมว่าเป็นวิบากของอกุศลธรรมนั่นแหละข้างหน้า.
               อนึ่ง สกวาทีท่านรวมปัญหาให้เป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถแห่งคำถามว่า ชรามรณะแห่งกุศลและอกุศลธรรม แต่ชราและมรณะแห่งกุศลและอกุศลนั้นมีในขณะเดียวกันหามิได้.
               ชื่อว่าคำปริยาย คือพูดอ้อมค้อม เพราะคำอันบุคคลพึงกล่าวว่า ชรามรณะเป็นวิบากของอัพยากตะ อันมิใช่วิบากทั้งหลาย ดังนี้ ไม่มี เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่อธิบายปัญหาว่าด้วยอัพยากตะ.
               ในข้อว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีผิวพรรณขี้ริ้ว นี้อธิบายว่า ชื่อว่าความเป็นผู้มีผิวพรรณไม่ดี เพราะมีผิวพรรณไม่บริสุทธิ์.
               ชื่อว่าความเป็นผู้มีอายุน้อย เพราะไม่สามารถให้อายุเป็นไปได้ยั่งยืน.
               ในปัญหานั้น อกุศลธรรมเป็นกัมมปัจจัยแก่รูปที่มีผิวพรรณไม่งามซึ่งมีกรรมเป็นสมุฏฐาน. แต่วิบากแห่งอกุศลธรรมนั้น ชื่อว่าย่อมไม่มีแก่รูปนั้นเพราะเป็นสภาวธรรมไม่เหมือนกัน.
               อนึ่ง วิบากแห่งอกุศลธรรมนั้นย่อมเป็นปัจจัยแก่สมุฏฐานทั้งหลายมีอุตุสมุฏฐานเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งการให้ได้รูปที่มีผิวพรรณทรามนั้น และด้วยสามารถแห่งการเข้าไปตัดซึ่งอายุ. อกุศลธรรมนั้น ชื่อว่าเกี่ยวข้องด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณไม่ดี และเป็นผู้มีอายุน้อยด้วยประการฉะนี้. ธรรมนั้น ชื่อว่าไม่ให้เป็นไปด้วยสามารถแห่งความเกิดขึ้นแห่งชราและมรณะโดยตรง เหมือนผัสสะอันเป็นวิบากเป็นต้น เพราะฉะนั้น ชราและมรณะนั้นจึงไม่สำเร็จในความเป็นวิบาก.
               คำที่เหลือในที่นี้ เช่นกับด้วยคำที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

               อรรถกถาชรามรณังวิปาโกติกถา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา กถาวัตถุปกรณ์ วรรคที่ ๗ ชรามรณวิปาโกติกถา จบ.
อ่านอรรถกถา 37 / 1อ่านอรรถกถา 37 / 1158อรรถกถา เล่มที่ 37 ข้อ 1169อ่านอรรถกถา 37 / 1179อ่านอรรถกถา 37 / 1898
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=37&A=11517&Z=11584
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5142
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5142
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๗  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :