ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 35 / 1อ่านอรรถกถา 35 / 74อรรถกถา เล่มที่ 35 ข้อ 84อ่านอรรถกถา 35 / 97อ่านอรรถกถา 35 / 1118
อรรถกถา วิภังคปกรณ์
ขันธวิภังค์ ปัญหาปุจฉกะ

               วรรณนาปัญหาปุจฉกะ               
               บัดนี้ เป็นปัญหาปุจฉกะ (หมวดถามปัญหา) ในปัญหาปุจฉกะนั้น บัณฑิตพึงทราบในการถามปัญหาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาธรรมใดที่ได้และไม่ได้โดยนัยมีอาทิว่า ปญฺจนฺนํ ขนฺธานํ กติ กุสลา กติ อกุสลา กติ อพฺยากตา (บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นกุศล ขันธ์ไหนเป็นอกุศล ขันธ์ไหนเป็นอัพยากฤต) ดังนี้นั้น ในการวิสัชนา พระองค์ทรงยกธรรมที่ได้เท่านั้นขึ้นแสดงโดยนัยมีอาทิว่า รูปกฺขนฺโธ อพฺยากโต (รูปขันธ์เป็นอัพยากฤต) ดังนี้.
               ก็ในที่ใดๆ พระองค์ไม่ทรงกำหนดว่า เป็นขันธ์หนึ่งหรือขันธ์สอง ก็จะทรงตั้งตันติ (แบบแผน) ไว้โดยนัยมีอาทิว่า สิยา อุปฺปนฺนา สิยา อนุปฺปนฺนา (ขันธ์ ๕ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปันนะก็มี) ดังนี้ ในที่นั้นๆ พึงทราบการถือเอาขันธ์แม้ทั้ง ๕.
               การจำแนกกุศลเป็นต้นของขันธ์เหล่านั้นๆ ที่เหลือ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมสังคหะ๑- ในหนหลังแล้วแล.
____________________________
๑- อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี.

               ก็ในอารัมมณติกะทั้งหลาย ขันธ์ ๔ ย่อมเป็นปริตตารัมมณะแก่บุคคลผู้กำหนัด ผู้ขัดเคือง ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้พิจารณา ผู้เล็งเห็น ปรารภกามาวจรธรรม ๕๕ ดวง เป็นมหัคคตารัมมณะแก่บุคคลผู้กำหนัด ผู้ขัดเคือง ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้เริ่มกำหนดปรารภรูปาวจรและอรูปาวจรธรรม ๒๗ ดวง และเป็นอัปปมาณารัมมณะแก่บุคคลผู้พิจารณามรรค ผลและพระนิพพาน แต่เป็นนวัตตัพพารมณ์ (อารมณ์บัญญัติ) ในเวลาพิจารณาบัญญัติ ฉะนี้แล.
               ขันธ์ ๔ เหล่านั้นนั่นเองเป็นมัคคารัมมณะในเวลาที่พระเสขะและอเสขะพิจารณามรรค. เป็นมัคคเหตุกะ (มีมรรคเป็นเหตุ) โดยเหตุที่เกิดพร้อมกันในกาลแห่งมรรค. เป็นมัคคาธิปติโดยอารัมมณาธิปติ ในเวลาพิจารณาทำมรรคให้หนัก (เป็นใหญ่).
               อีกอย่างหนึ่ง ขันธ์ ๔ เป็นมัคคาธิปติด้วยอธิบดีที่เกิดพร้อมกันของบุคคลผู้เจริญมรรคมีวิริยะเป็นใหญ่ หรือมีวิมังสาเป็นใหญ่ แต่ชื่อว่าเป็นนวัตตัพพารัมมณะ แก่บุคคลผู้เจริญมรรคมีฉันทะเป็นใหญ่ หรือมีจิตเป็นใหญ่.
               ก็ขันธ์ ๔ เป็นอตีตารัมมณะแก่บุคคลผู้กำหนัด ผู้ขัดเคือง ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้เริ่มกำหนดปรารภขันธ์ ธาตุ อายตนะที่ล่วงแล้ว. เป็นอนาคตารัมมณะแก่บุคคลผู้กำหนัดเป็นผู้ปรารภธรรมมีขันธ์เป็นต้นที่ยังมาไม่ถึง. เป็นปัจจุปปันนารัมมณะแก่บุคคลเหล่านั้นแหละผู้ปรารภธรรมเหล่านั้นแหละที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า. เป็นนวัตตัพพารัมมณะแก่บุคคลผู้พิจารณาบัญญัติหรือพระนิพพาน.
               อนึ่ง ขันธ์ ๔ พึงทราบว่าเป็นอัชฌัตตารัมมณะแก่บุคคลผู้กำหนัด ผู้ขัดเคือง ผู้ลุ่มหลง ผู้สำรวม ผู้เริ่มกำหนดปรารภขันธ์ ธาตุ อายตนะของตน เป็นพหิทธารัมมณะแก่บุคคลผู้ปรารภขันธ์ ธาตุ อายตนะของบุคคลเหล่าอื่น เป็นไปอยู่อย่างนั้น เป็นพหิทธารัมมณะนั่นแหละ แม้ในกาลที่พิจารณาบัญญัติและพระนิพพาน เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะแก่บุคคลผู้ประพฤติอย่างนั้นในอัชฌัตตธรรมตามกาล ในพหิทธธรรมตามกาล เป็นนวัตตัพพารัมมณะ ในกาลแห่งอากิญจัญญายตนะ ดังนี้.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงจำแนกขันธวิภังค์นี้นำออก ๓ ปริวรรต๑- ด้วยอำนาจสุตตันตภาชนีย์เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. ก็ในปริวรรตแม้ทั้ง ๓ มีปริจเฉทเดียวเท่านั้น เพราะรูปขันธ์เป็นกามาพจรอย่างเดียวในที่ทั้งปวง ขันธ์ ๔ เป็นไปในภูมิ ๔ พระองค์ตรัสไว้ปะปนกันไปทั้งโลกิยะและโลกุตระแล.
____________________________
๑- หมุนไป ๓ อย่าง.

               ขันธวิภังคนิเทศที่หนึ่ง               
               แห่งสัมโมหวิโนทนี อรรถกถาพระวิภังค์ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา วิภังคปกรณ์ ขันธวิภังค์ ปัญหาปุจฉกะ จบ.
อ่านอรรถกถา 35 / 1อ่านอรรถกถา 35 / 74อรรถกถา เล่มที่ 35 ข้อ 84อ่านอรรถกถา 35 / 97อ่านอรรถกถา 35 / 1118
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=35&A=1499&Z=1726
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=1092
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=1092
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๗  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :