ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 35 / 1อ่านอรรถกถา 35 / 784อรรถกถา เล่มที่ 35 ข้อ 789อ่านอรรถกถา 35 / 795อ่านอรรถกถา 35 / 1118
อรรถกถา วิภังคปกรณ์
ปฏิสัมภิทาวิภังค์ ปัญหาปุจฉกะ

               วรรณนาปัญหาปุจฉกะ               
               ในปัญหาปุจฉกะ บัณฑิตพึงทราบความที่ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งพระบาลีนั่นแหละ. ก็แต่ในอารัมมณติกะทั้งหลาย นิรุตติปฏิสัมภิทาชื่อว่าเป็นปริตตารัมมณะ เพราะทำเสียงเท่านั้นให้เป็นอารมณ์.
               อัตถปฏิสัมภิทาเป็นปริตตารัมมณะแก่ผู้พิจารณาซึ่งอรรถ กล่าวคือกามาวจรวิบากและกิริยา และสภาวะอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย. เมื่อพิจารณาอรรถแห่งรูปาวจรและอรูปาวจร มีประเภทตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ เป็นมหัคคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ์และอรรถ คือโลกุตวิบาก ชื่อว่าเป็นอัปปมาณารัมมณะ.
               ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นปริตตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาซึ่งกามาวจรกุศล อกุศลและธรรมอันเป็นปัจจัย. เมื่อพิจารณากุศลธรรมอันเป็นรูปาวจร อรูปาวจร และธรรมอันเป็นปัจจัย เป็นมหัคคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งธรรมอันเป็นโลกุตตรกุศล และธรรมอันเป็นปัจจัย เป็นอัปปมาณารัมมณะ.
               ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นปริตตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งญาณในกามาวจรกุศล วิบากและกิริยา. เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งญาณในกุศล วิบากและกิริยาอันเป็นรูปาวจร อรูปาวจร รู้อยู่ซึ่งอารมณ์ทั้งหลายของธรรมเหล่านั้น เป็นมหัคคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาอยู่ซึ่งญาณในกุศลและวิบาก อันเป็นโลกุตตระ เป็นอัปปมาณารัมมณะ.
               อัตถปฏิสัมภิทาเป็นมัคคเหตุกะ ด้วยสามารถแห่งสหชาตเหตุ. เป็นมัคคาธิปติ ด้วยการเจริญมรรค มีวิริยะเป็นหัวหน้า. ไม่พึงกล่าวว่า เป็นมัคคาธิปติ ด้วยการเจริญมรรคอันมีฉันทะ จิตตะเป็นหัวหน้า. แม้ในกาลแห่งผลก็ไม่พึงกล่าวนั่นแหละ.
               ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นมัคคารัมมณะ ในเวลาพิจารณามรรค. เมื่อพิจารณากระทำมรรคให้เป็นหัวหน้า (ครุํ) เป็นมัคคาธิปติ ด้วยสามารถแห่งอารัมมณาธิปติ.
               ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นมัคคารัมมณะ ในเวลาพิจารณาญาณในมรรค. เมื่อพิจารณากระทำมรรคให้เป็นหัวหน้า (ครุํ) เป็นมัคคาธิปติ. เป็นนวัตตัพพารัมมณะในเวลาพิจารณาญาณที่เหลือ.
               นิรุตติปฏิสัมภิทา ชื่อว่าเป็นปัจจุปปันนารัมมณะ เพราะทำเสียงอันเป็นปัจจุบันนั่นแหละให้เป็นอารมณ์.
               อัตถปฏิสัมภิทาเป็นอตีตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งอรรถแห่งวิบาก อรรถแห่งกิริยา และอรรถอันอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อันเป็นอดีต. เป็นอนาคตารัมมณะแก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งอรรถเหล่านั้นในอนาคต. เมื่อพิจารณาอรรถอันเป็นปัจจุบัน เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ. เมื่อพิจารณาปรมัตถ์ คือพระนิพพาน เป็นนวัตตัพพารัมมณะ.
               ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นอตีตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งกุศล อกุศลและปัจจัยธรรมอันเป็นอดีต. เมื่อพิจารณาธรรมเหล่านั้นในอนาคต เป็นอนาคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาในปัจจุปบันอยู่ เป็นปัจจุปันนารัมมณะ.
               ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นอตีตารัมมณะแก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งกุศลญาณ วิปากญาณ กิริยาญาณ อันเป็นอดีต. เมื่อพิจารณาในอนาคต เป็นอนาคตารัมมณะ. เมื่อพิจารณาในปัจจุบัน เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ.
               นิรุตติปฏิสัมภิทาเป็นพหิทธารัมมณะ เพราะมีเสียงเป็นอารมณ์.
               ในปฏิสัมภิทา ๓ นอกนี้ คือ
               อัตถปฏิสัมภิทาเป็นอัชฌัตตารัมมณะ แก่ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งอรรถแห่งวิบาก อรรถแห่งกิริยาและซึ่งอรรถอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย. เมื่อพิจารณาในภายนอก เป็นพหิทธารัมมณะ. เมื่อพิจารณาทั้งในภายในทั้งในภายนอก เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ. เมื่อพิจารณาปรมัตถ์ คือพระนิพพาน เป็นพหิทธารัมมณะเท่านั้น.
               ธัมมปฏิสัมภิทาเป็นอัชฌัตตารัมมณะในเวลาพิจารณาธรรมอันเป็นปัจจัยของกุศล และอกุศลในภายใน. เป็นพหิทธารัมมณะในเวลาพิจารณาธรรมอันเป็นปัจจัยของกุศล อกุศลในภายนอก. เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะในเวลาพิจารณาธรรมอันเป็นปัจจัยของกุศลและอกุศลทั้งในภายในทั้งในภายนอก.
               ปฏิภาณปฏิสัมภิทาเป็นอัชฌัตตารัมมณะในเวลาพิจารณาญาณอันเป็นกุศลวิบาก กิริยาในภายใน. เป็นพหิทธารัมมณะในเวลาพิจารณาญาณในกุศล วิบาก กิริยาในภายนอก. เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ในเวลาพิจารณาญาณในกุศล วิบาก กิริยาทั้งในภายในทั้งในภายนอก ดังนี้.
               วรรณนาปัญหาปุจฉกะ จบ.               

               ในปัญหาปุจฉกะแม้นี้ ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นโลกีย์ อัตถปฏิสัมภิทาเป็นโลกุตตระ.
               จริงอยู่ ในปฏิสัมภิทาวิภังค์นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสนัยแม้ทั้ง ๓ (คือนัยแห่งสุตตันตะ อภิธรรม ปัญหาปุจฉกะ) ไว้เป็นปริจเฉทเดียวกัน เพราะความที่ปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านั้นเป็นมิสสกะ คือเป็นโลกิยะและโลกุตตระ. ในนัยแม้ทั้ง ๓ ทั้งหมดนี้ปฏิสัมภิทา ๓ เป็นโลกีย์ อัตถปฏิสัมภิทาเป็นโลกุตตระ. แม้ปฏิสัมภิทาวิภังค์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว ๓ ปริวัฏ ดังพรรณนามาฉะนี้.

               อรรถกถาปฏิสัมภิทาวิภังคนิทเทส จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา วิภังคปกรณ์ ปฏิสัมภิทาวิภังค์ ปัญหาปุจฉกะ จบ.
อ่านอรรถกถา 35 / 1อ่านอรรถกถา 35 / 784อรรถกถา เล่มที่ 35 ข้อ 789อ่านอรรถกถา 35 / 795อ่านอรรถกถา 35 / 1118
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=35&A=10513&Z=10596
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=9954
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=9954
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๗  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :