ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 35 / 1อ่านอรรถกถา 35 / 236อรรถกถา เล่มที่ 35 ข้อ 242อ่านอรรถกถา 35 / 255อ่านอรรถกถา 35 / 1118
อรรถกถา วิภังคปกรณ์
อินทริยวิภังค์ ปัญหาปุจฉกะ

               วรรณนาปัญหาปุจฉกะ               
               พึงทราบการจำแนกอินทรีย์ แม้ทั้งหมดในปัญหาปุจฉกะ ว่าเป็นกุศลเป็นต้น โดยทำนองแห่งนัยของพระบาลีนั่นแหละ. อนึ่ง ในอารัมมณติกะทั้งหลาย คำว่า อินทรีย์ ๗ เป็นอนารัมมณะนั้น ตรัสหมายเอาจักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์และปุริสินทรีย์ แต่ชีวิตินทรีย์ไม่มาในฐานะนี้ เพราะปะปนด้วยอรูป.
               บทว่า ทฺวินฺทฺริยา ได้แก่ อินทรีย์ ๒ คำนี้ตรัสหมายเอาอินทรีย์ ๒ คือ สุขินทรีย์และทุกขินทรีย์ เพราะอินทรีย์ ๒ นั้นเป็นปริตตารัมมณะโดยส่วนเดียว.
               คำว่า โทมนสฺสินฺทฺริยํ สิยา ปริตฺตารมฺมณํ สิยา มหคฺคตารมฺมณํ (โทมนัสสินทรีย์เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี) ความว่า ในเวลาปรารภกามาวจรธรรมเป็นไปก็เป็นปริตตารัมมณะ แต่ในเวลาที่ปรารภรูปาวจร อรูปาวจรเป็นไปก็เป็นมหัคคตารัมมณะ และในเวลาที่ปรารภบัญญัติเป็นไปก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ.
               คำว่า นวินฺทฺริยา สิยา ปริตฺตารมฺมณา (อินทรีย์ ๙ แม้ปริตตารัมมณะก็มี) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอามนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์และอินทรีย์หมวด ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น.
               จริงอยู่ ชีวิตินทรีย์ แม้สงเคราะห์ในรูปธรรมซึ่งไม่มีอารมณ์เพราะระคนด้วยรูป และสงเคราะห์ในฝ่ายที่เป็นธรรมชาติมีอารมณ์ได้โดยส่วนแห่งอรูป.
               คำว่า จตฺตาริ อินฺทฺริยานิ (อินทรีย์ ๔) ได้แก่ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์และอัญญาตาวินทรีย์ เพราะอินทรีย์ ๔ เหล่านั้นไม่รวมอยู่ในมัคคารัมมณติกะ.
               บทว่า มคฺคเหตุกํ (เป็นมรรคเหตุกะ) นี้ ตรัสไว้หมายเอาเหตุที่เป็นสหชาตะ ในเวลาที่วิริยะหรือวิมังสาเป็นใหญ่ เป็นมัคคาธิปติ แต่ในเวลาที่ฉันทะหรือจิตเป็นใหญ่ ก็เป็นนวัตตัพพธรรม.
               คำว่า ทสินฺทฺริยา สิยา อุปฺปนฺนา สิยา อุปฺปาทิโน (อินทรีย์ ๑๐ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอุปาทีก็มี) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอารูปอินทรีย์ ๗ และวิปากอินทรีย์ ๓ อินทรีย์ ๑๐ ตรัสไว้ในหนหลังพร้อมทั้งโทมนัสสินทรีย์ ในอินทรีย์ ๑๐ เหล่านั้น โทมนัสสินทรีย์ ในเวลาที่ปรารภบัญญัติเป็นไปก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ อินทรีย์ที่เหลือ แม้ในเวลาที่พิจารณานิพพานก็เป็นนวัตตัพพารัมมณะ.
               คำว่า ตีณินฺทฺริยานิ พหิทฺธารมฺมณานิ (อินทรีย์ ๓ เป็นพหิทธารัมมณะ) ได้แก่ อินทรีย์ ๓ ที่เป็นโลกุตรินทรีย์.
               บทว่า จตฺตาริ ได้แก่ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ เพราะอินทรีย์ ๔ เหล่านั้น ปรารภเป็นไปในอัชฌัตตธรรมบ้าง ในพหิทธาธรรมบ้าง.
               บทว่า อฏฺฐินฺทฺริยา (อินทรีย์ ๘) ได้แก่ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อุเปกขินทรีย์และอินทรีย์หมวด ๕ มีศรัทธาเป็นต้น ในบรรดาอินทรีย์ ๘ เหล่านั้น ความเป็นนวัตตัพพารัมมณะ พึงทราบในเวลาแห่งอากิญจัญญายตนะ.
               ในปัญหาปุจฉกะแม้นี้ อินทรีย์ ๑๐ เป็นกามาพจร อินทรีย์ ๓ เป็นโลกุตระ อินทรีย์ ๙ เป็นอินทรีย์ระคนกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยประการฉะนี้ ปัญหาปุจกะแม้นี้ ก็เป็นปริจเฉทอย่างเดียวกับอภิธรรมภาชนีย์นั่นเอง ก็อินทริยวิภังค์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำออกจำแนกแสดงแล้ว ๒ ปริวรรต ด้วยประการฉะนี้.

               วรรณนาอินทริยวิภังค์ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา วิภังคปกรณ์ อินทริยวิภังค์ ปัญหาปุจฉกะ จบ.
อ่านอรรถกถา 35 / 1อ่านอรรถกถา 35 / 236อรรถกถา เล่มที่ 35 ข้อ 242อ่านอรรถกถา 35 / 255อ่านอรรถกถา 35 / 1118
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=35&A=3433&Z=3731
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=3232
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=3232
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๙  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :