ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 34 / 1อ่านอรรถกถา 34 / 501อรรถกถา เล่มที่ 34 ข้อ 503อ่านอรรถกถา 34 / 514อ่านอรรถกถา 34 / 970
อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์
รูปกัณฑ์ มาติกา

               อรรถกถาแสดงมาติการูปกัณฑ์               
               ว่าด้วยเอกมาติกา               
               บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะแสดงรูปนั้นโดยพิสดาร เมื่อจะทรงตั้งมาติกาด้วยการสงเคราะห์รูป ๑๑ หมวดมีรูปหมวดหนึ่งเป็นต้น จึงตรัสว่า สพฺพํ รูปํ น เหตุ (รูปทั้งหมดมิใช่เหตุ) เป็นต้น.
               ในพระบาลีเหล่านั้น ก็บทว่า สพฺพํ รูปํ นี้ บัณฑิตพึงประกอบกับบททั้งปวงอย่างนี้ว่า สพฺพํ รูปํ น เหตุ สพฺพํ รูปํ อเหตุกํ (รูปทั้งหมดไม่ใช่เหตุ รูปทั้งหมดไม่มีเหตุ) ดังนี้. บททั้งหมดที่ทรงตั้งไว้ ๔๓ บท มีคำว่า น เหตุ (มิใช่เหตุ) เป็นต้น ทรงยกขึ้นแสดงแล้ว.
               บรรดาบท ๔๓ เหล่านั้น บท ๔๐ โดยลำดับ ทรงถือเอาแต่มาติกาตั้งไว้ ๓ บทสุดท้ายนอกจากมาติกา เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบพระบาลีในสังคหะ (สงเคราะห์) ที่หนึ่งอย่างนี้ก่อน ในสังคหะที่ ๒ เป็นต้นก็เหมือนอย่างนั้น.

               ว่าด้วยทุกรูป คือรูปหมวด ๒               
               บรรดาสังคหะเหล่านั้น มีนัยดังต่อไปนี้.
               สังคหะที่ ๒ ก่อน รูปหมวด ๒ มี ๑๐๔ ทุกะ ในทุกะ ๑๐๔ เหล่านั้น ทุกะ ๑๔ ในเบื้องต้น มีอาทิว่า อตฺถิ รูปํ อุปาทา อตฺถิ รูปํ โน อุปาทา (รูปเป็นอุปาทาก็มี รูปเป็นอนุปาทาก็มีอยู่) ชื่อว่า ปกิณกทุกะ เพราะไม่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน.
               ทุกะต่อจากนั้น ๒๕ ทุกะ มีคำอาทิว่า อตฺถิ รูปํ จกฺขุสมฺผสฺสสฺส วตฺถุ (รูปเป็นที่อาศัยของจักขุสัมผัสก็มี) ชื่อว่าวัตถุทุกะ เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาวัตถุและอวัตถุ. ต่อจากนั้น ทุกะ ๒๕ มีอาทิว่า อตฺถิ รูปํ จกฺขุสมฺผสฺสสฺส อารมฺมณํ (รูปเป็นอารมณ์ของจักขุสัมผัสก็มี) ชื่อว่าอารัมทุกะ เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาถึงอารมณ์และอนารมณ์. ต่อจากนั้นทุกะ ๑๐ มีอาทิว่า อตฺถิ รูปํ จกฺขายตนํ (รูปเป็นจักขายตนะก็มี) ชื่อว่าอายตนทุกะ เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจแห่งความพิจารณาอายตนะและอนายตนะ ต่อจากนั้น ทุกะ ๑๐ มีอาทิว่า อตฺถิ รูปํ จกฺขุธาตุ (รูปเป็นจักขุธาตุมีอยู่) ชื่อว่าธาตุทุกะ เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจความพิจารณาธาตุและอธาตุ. ต่อจากนั้น ทุกะ ๘ มีคำอาทิว่า อตฺถิ รูปํ จกฺขุนฺทฺริย์ (รูปเป็นจักขุนทรีย์ก็มี) ชื่อว่าอินทริยทุกะ เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจความพิจารณาอินทรีย์และอนินทรีย์. ต่อจากนั้น ทุกะ ๑๒ มีอาทิว่า อตฺถิ รูปํ กายวิญฺญตฺติ (รูปเป็นกายวิญญัติมีอยู่) ชื่อว่าสุขุมรูปทุกะ เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจการพิจารณาสุขุมรูปและอรูป ดังนี้
               นี้เป็นการกำหนดพระบาลีในทุติยสังคหะ.

               ว่าด้วยติกรูป คือรูปหมวด ๓               
               ในสังคหะที่ ๓ มีจำนวน ๑๐๓ ติกะ ในบรรดาติกะเหล่านั้น ติกะ ๑๓ ที่ประกอบอัชฌัตติกทุกะ ๑ ในปกิณกทุกะ ๑๔ ตามที่กล่าวในทุติยสังคหะด้วยติกะ ๑๓ ที่เหลือแล้วตั้งไว้โดยนัยมีอาทิว่า ยนฺตํ รูปํ อชฺฌตฺติกํ ตํ อุปาทา ยนฺตํ รูปํ พาหิรํ ตํ อตฺถิ อุปาทา อตฺถิ โน อุปาทา รูปภายในเป็นอุปาทา รูปภายนอกที่เป็นอุปาทาก็มี ที่เป็นอนุปาทาก็มี ดังนี้ ชื่อว่าปกิณกติกะ จากนั้นก็ทรงประกอบทุกะนั้นนั่นแหละกับทุกะที่เหลือ แล้วทรงตั้งติกะที่เหลือ โดยนัยมีอาทิว่า ยนฺตํ รูปํ พาหิรํ ตํ จกฺขุสมฺผสฺส น วตฺถุ ยนฺตํ รูปํ อชฺฌตฺติกํ ตํ อตฺถิ จกฺขุสมฺผสฺส วตฺถุ อตฺถิ จกฺขุสมฺผสฺสสฺส น วตฺถุ (รูปภายนอกไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัส รูปภายในเป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัสก็มี ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจักขุสัมผัสก็มี) ดังนี้. พึงทราบชื่อและการนับแห่งติกะเหล่านั้นด้วยสามารถแห่งวัตถุทุกะเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแหละ
               นี้เป็นการกำหนดพระบาลีในสังคหะที่ ๓.

               ว่าด้วยรูปหมวด ๔ เป็นต้น               
               ในสังคหะที่ ๔ มี ๒๒ จตุกะ บรรดาจตุกะ ๒๒ เหล่านั้น จตุกะสุดท้ายมิได้ทรงถือเอามาติกาตามที่กล่าวไว้ในทุกะนี้ อย่างนี้ว่า “รูปเป็นอุปาทาก็มี รูปไม่เป็นอุปาทาก็มี” ดังนี้ แล้วทรงตั้งไว้ แต่ทรงถือจตุกะนอกนี้ทรงตั้งไว้เป็นอย่างไร?
               คือ ทุกะ ๓ ข้างต้นในปกิณกะทั้งหลายที่สงเคราะห์รูป ๒ อย่างเหล่าใด ในทุกะ ๓ เหล่านั้น ทรงถือเอาทีละทุกะประกอบกับทุกะละ ๕ ทุกะ โดยนัยมีอาทิว่า ยนฺตํ รูปํ อุปาทา ตํ อตฺถิ อุปาทินฺนํ อตฺถิ อนุปาทินฺนํ (รูปเป็นอุปาทา ที่เป็นอุปาทินนะก็มี ที่เป็นอนุปาทินนะก็มี) ดังนี้แล้วทรงตั้งจตุกะ ๑๕ ข้างต้นซึ่งมี ๓ ทุกะเป็นมูล.
               บัดนี้ พึงทราบสนิทัสสนทุกะที่ ๔ นี้ใด เพราะสนิทัสสนทุกะนั้นไม่ถึงการประกอบกับทุกะอื่นๆ โดยนัยมีอาทิว่า “รูปเป็นสนิทัสสนะ (เห็นได้) กระทบได้ก็มี กระทบไม่ได้ก็มี” ดังนี้ หรือว่ากับทุกะข้างต้นโดยนัยว่า “รูปเป็นอุปาทาก็มี ไม่เป็นอุปาทาก็มี” เป็นต้น เพราะไม่มีอรรถะ เพราะไม่มีลำดับเป็นไป และเพราะไม่มีความแตกต่างกัน.
               จริงอยู่ รูปที่ชื่อว่าสนิทัสสนะ (เห็นได้) กระทบไม่ได้ หรือว่า เป็นอนุปาทา ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น รูปนั้นจึงไม่ถึงการประกอบ เพราะไม่มีอรรถะ แต่รูปที่เป็นอุปาทินนะและอนุปาทินนะมีอยู่ เพราะฉะนั้น จึงไม่ถึงการประกอบ เพราะไม่มีลำดับเป็นไป ด้วยว่า ทุกะทั้งหมดพระองค์ทรงประกอบกับทุกะหลังๆ เท่านั้น นี้เป็นลำดับที่เป็นไปในอธิการนี้ แต่กับบทต้นๆ ไม่มีลำดับเป็นไปดังนี้.
               หากมีผู้ท้วงว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ความไม่มีลำดับเป็นไป ก็ไม่ใช่เหตุสำคัญ ฉะนั้น ควรประกอบกับบทที่เป็นอุปาทินนะเป็นต้น.
               ตอบว่า จะประกอบกับรูปนี้ไม่ได้ เพราะไม่มีความต่างกันกับรูปที่เป็นบทอุปาทินนรูปเป็นต้น ในอธิการแห่งบทมีอุปาทินนะเป็นต้น ประกอบเข้ากับบทสนิทัสสนทุกะนั้นแล้ว เมื่อกล่าวว่ารูปเป็นอุปาทินนะ เป็นสนิทัสสนะ หรือรูปที่เป็นสนิทัสสนะเป็นอุปาทินนะ ดังนี้ ความแตกต่างกันก็ไม่มี จึงไม่ถึงการประกอบกัน เพราะไม่มีความแตกต่างกันฉะนี้.
               เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้งจตุกะไว้ ๖ จตุกะประกอบครั้งละ ๒ ทุกะซึ่งประกอบโดยนัยมีอาทิว่า ยนฺตํ รูปํ สปฺปฏิฆํ ตํ อตฺถิ อินฺทฺริยํ อตฺถิ น อินฺทฺริยํ ยนฺตํ รูปํ อปฺปฏิฆํ ตํ อตฺถิ อินฺทริยํ อตฺถิ น อินฺทฺริยํ (รูปกระทบได้ คือสัปปฏิฆรูป) ที่เป็นอินทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี รูปที่กระทบไม่ได้ (คืออัปปฏิฆรูป) ที่เป็นอินทรีย์ก็มี ที่ไม่เป็นอินทรีย์ก็มี ดังนี้ กับ ๓ ทุกะมีอาทิว่า อตฺถิ รูปํ สปฺปฏิฆํ ดังนี้ อื่นจากนั้นไม่ถือเอาทุกะที่ ๔ นั้น.
               ก็ทุกะที่ ๔ นี้ ไม่ถึงการประกอบ ฉันใด แม้ทุกะต้นก็ไม่ถึงการประกอบกับทุกะที่ ๔ นั้น ฉันนั้น. เพราะเหตุไร? เพราะความที่อนุปาทารูป (คือรูปที่ไม่มีใจครอง) เป็นอนิทัสสนรูป (เห็นไม่ได้). จริงอยู่ ทุกะข้างต้น เมื่อประกอบกับทุกะที่ ๔ อย่างนี้ว่า “รูปเป็นอนุปาทา เป็นสนิทัสสนะก็มี เป็นอนิทัสสนะก็มี” ดังนี้ ย่อมไม่ถึงการประกอบได้. เพราะฉะนั้น จึงต้องเลยทุกะนั้นไปประกอบกับทุกะที่ ๕. ทุกะใดถึงการประกอบได้ ประกอบไม่ได้กับด้วยการประกอบอย่างนี้ พึงทราบทุกะนั้น ดังนี้. นี้เป็นการกำหนดตามพระบาลีในสังคหะที่ ๔.

               ว่าด้วยสงเคราะห์รูปหมวด ๕               
               ก็เบื้องหน้าแต่นี้ สังคหะ (คือสงเคราะห์) ๗ อย่างมีการสงเคราะห์รูปหมวดละ ๕ อย่างเป็นต้น เป็นการสงเคราะห์ไม่ปะปนกันทั้งนั้น. พึงทราบการกำหนดพระบาลีในมาติกาแม้ทั้งสิ้น ด้วยประการฉะนี้.

               อุทเทสแห่งรูป จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ รูปกัณฑ์ มาติกา จบ.
อ่านอรรถกถา 34 / 1อ่านอรรถกถา 34 / 501อรรถกถา เล่มที่ 34 ข้อ 503อ่านอรรถกถา 34 / 514อ่านอรรถกถา 34 / 970
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=34&A=4141&Z=4393
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=8961
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=8961
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๗
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :