ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 82อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 83อ่านอรรถกถา 32 / 84อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๙. ติมิรปุปผิยวรรค
๑. ติมิรปุปผิยเถราปทาน (๘๑)

               ติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙               
               ๘๑. อรรถกถาติมิรปุปผิยเถราปทาน               
               อปทานของท่านพระติมิรปุปผิยเถระมีคำเริ่มต้นว่า จนฺทภาคานทีตีเร ดังนี้.
               อะไรเป็นอุปัตติเหตุ?
               พระเถระนี้ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้วอยู่ครองเรือน เห็นโทษในกามทั้งหลาย ละการครองเรือน บวชเป็นดาบส อยู่ใกล้แม่น้ำจันทภาคานที. เพราะท่านเป็นผู้ใคร่วิเวก ไปสู่ป่าหิมพานต์ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ประทับอยู่แล้ว ถวายบังคม เลื่อมใสคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ถือเอาดอกดีหมีบูชา.
               ด้วยบุพกรรมนั้น ท่านเสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ท่องเที่ยวไป ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
               ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จนฺทภาคานทีตีเร ดังนี้.
               ความแห่งคำนั้น ท่านกล่าวแล้วในหนหลังแล.
               บทว่า อนุโสตํ วชามหํ ความว่า เราได้ไปอยู่ในที่นั้นๆ ตามกระแสภายใต้แม่น้ำคงคา เพราะเป็นที่น่ารื่นรมย์ในที่ทุกสถาน โดยเป็นที่อยู่ใกล้แม่น้ำคงคา.
               บทว่า นิสินฺนํ สมณํ ทิสฺวา ความว่า เราได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือพระสมณะ เพราะเป็นผู้สงบบาป คือเพราะเป็นผู้ทำบาปให้เหือดแห้ง.
               บทว่า เอวํ จินฺเตสหํ ตทา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ พระองค์เองข้ามพ้นแล้ว จักยังสัตว์ทั้งปวงให้ข้ามพ้นจากสงสาร คือพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ พระองค์ทรงฝึกพระองค์เองด้วยกายทวารแล้ว ทรงฝึกสัตว์เหล่าอื่นด้วย.
               นี้เป็นอรรถที่น่าโปร่งใจ คือถึงความโปร่งใจ.
               พระองค์พ้นแล้วจากความเร่าร้อนคือกิเลส ยังสัตว์ทั้งปวงให้โปร่งใจคือให้ถึงความสงบ. พระองค์ทรงสงบแล้วคือมีกายจิตสงบแล้ว ย่อมยังกายจิตของสัตว์เหล่าอื่นให้ถึงความสงบ. พระองค์พ้นแล้วคือพ้นจากสงสาร จักให้สัตว์เหล่าอื่นพ้นจากสงสาร. พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้น พระองค์เองดับสนิทแล้วคือดับจากไฟคือกิเลสทั้งหลาย จักให้สัตว์เหล่าอื่นดับจากไฟคือกิเลส
               เพราะฉะนั้น ในกาลนั้น เราจึงคิดอย่างนี้.
               บทว่า คเหตฺวา ติมิรปุปฺผํ ความว่า ชื่อว่าดอกดีหมี เพราะทำชายป่าทั้งสิ้นให้เป็นดุจอาการมืด ด้วยรัศมีเขียวและดำครอบคลุม เราได้ถือเอาดอกดีหมีแล้วถือขั้วดอกรรณิการ์ แล้วโปรยที่เบื้องบน คือเหนือพระเศียร บนอากาศบูชา.
               คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
               จบอรรถกถาติมิรปุปผิยเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๙. ติมิรปุปผิยวรรค ๑. ติมิรปุปผิยเถราปทาน (๘๑) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 82อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 83อ่านอรรถกถา 32 / 84อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=2989&Z=3010
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=2769
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=2769
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :