ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 62อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 63อ่านอรรถกถา 32 / 64อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๗. สกจิตตนิยวรรค
๑. สกจิตตนิยเถราปทาน (๖๑)

               สกจิตตนิยวรรคที่ ๗               
               ๖๑. อรรถกถาสกจิตตนิยเถราปทาน               
               อปทานของท่านพระสกจิตตนิยเถระนี้มีคำเริ่มต้นว่า ปวนํ กานนํ ทิสฺวา ดังนี้.
               พระเถระแม้นี้ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเปนอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เกิดขึ้นในกาลเป็นที่สิ้นพระชนมายุของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ยังไม่ทันได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อยังดำรงพระชนมายุอยู่.
               ในกาลที่พระองค์ปรินิพพาน ได้บวชเป็นฤาษี อยู่ในหิมวันตประเทศ ถึงป่าแห่งหนึ่งอันวิเวกน่ารื่นรมย์ ก่อเจดีย์ทรายที่ซอกเขาแห่งหนึ่ง ที่นั้นเอาใจใส่ดังในพระผู้มีพระภาคเจ้า และเอาใจใส่ดังพระธาตุของพระองค์ บูชาด้วยดอกไม้ในป่า เที่ยวนมัสการอยู่.
               ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจึงท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสวรรค์สมบัติอันเลิศ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งสองนั้น และจักรพรรดิสมบัติอันเลิศ.
               ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เพียบพร้อมด้วยศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสดา บวชได้เป็นพระอรหันต์ผู้มีอภิญญา ๖.
               ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปวนํ กานนํ ทิสฺวา ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวนํ ความว่า ชื่อว่าปวนะ เพราะอรรถว่าเป็นป่าโดยประการ ป่าแผ่กว้าง เป็นรกชัฏ.
               ชื่อว่ากานนะ เพราะอรรถว่าเป็นดง เป็นป่าทึบ หนาแน่นไปด้วยสัตว์ร้ายเช่น สีหะ เสือโคร่ง ยักษ์ ผีเสื้อน้ำ ช้างดุ ม้าดุ ครุฑและงู หรือมากไปด้วยเสียงแห่งหมู่นก ไก่และนกดุเหว่า.
               ชื่อว่ากานนะ ป่าใหญ่ กล่าวคือดงนั้น มีเสียงน้อย คือไม่มีเสียง เพราะเว้นจากเสียงมนุษย์.
               บทว่า อนาวิลํ ได้แก่ ไม่ขุ่นมัว. อธิบายว่า ปราศจากอันตราย.
               บทว่า อิสีนํ อนุจิณฺณํ ความว่า อันฤาษีทั้งหลายกล่าวคือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอรหันตขีณาสพอบรมเนืองๆ คือซ่องเสพเสมอ.
               บทว่า อาหุตีนํ ปฏิคฺคหํ ความว่า เครื่องบูชาและเครื่องสักการะ ท่านเรียกว่าอาหุนะ เครื่องบูชา. อธิบายว่า การต้อนรับเช่นเดียวกับเจ้าของบ้านฉะนั้น.
               บทว่า ถูปํ กตฺวาน เวฬุนา ความว่า กระทำเจดีย์ด้วยชิ้นไม้ไผ่.
               บทว่า นานาปุปฺผํ สโมกิรึ ความว่า เราเกลี่ยลง คือบูชาด้วยดอกไม้เป็นอันมากมีดอกจำปาเป็นต้น.
               บทว่า สมฺมุขา วิย สมฺพุทฺธํ ความว่า เราได้ไหว้ คือกระทำการนอบน้อมซึ่งพระเจดีย์อันสร้างขึ้นคือให้เกิดขึ้น เสมือนเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ยังทรงพระชนม์อยู่ โดยพิเศษยิ่ง.
               คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
               จบอรรถกถาสกจิตตนิยเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๗. สกจิตตนิยวรรค ๑. สกจิตตนิยเถราปทาน (๖๑) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 62อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 63อ่านอรรถกถา 32 / 64อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=2629&Z=2644
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=2293
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=2293
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :