ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 50อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 51อ่านอรรถกถา 32 / 52อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๕. อุปาลีวรรค
๙. สุภัททเถราปทาน (๔๙)

               ๔๙. อรรถกถาสุภัททเถราปทาน               
               อปทานของท่านพระสุภัททเถระมีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร โลกวิทู ดังนี้.
               พระเถระแม้นี้ได้บำเพ็ญบุญญาธิการในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญเพื่อบรรลุพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง ผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติ เพียบพร้อมด้วยศรัทธา บรรลุนิติภาวะแล้ว ถูกตบแต่งให้มีเหย้าเรือน เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงบรรทมบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพาน และเห็นเทวดาในหมื่นจักรวาลประชุมกัน มีใจเลื่อมใส บูชาด้วยดอกไม้มีกลิ่นหอม มีดอกคนทิสอ ดอกลำเจียกและดอกอโศกเขียว และขาวเป็นต้นเป็นอเนก.
               ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านดำรงอยู่จนสิ้นอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เสวยทิพยสมบัติในภพชั้นดุสิตเป็นต้น จากนั้นเสวยมนุษย์สมบัติในหมู่มนุษย์ ได้เป็นผู้อันเขาบูชาด้วยดอกไม้ทั้งหลาย อันไปดีในที่ๆ ตนเกิดแล้ว.
               ก็ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติตระกูลหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว แม้เห็นโทษกามทั้งหลายแล้ว ก็ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้า ตราบจนถึงเวลาที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจะปรินิพพาน. บวชในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรทมบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพานนั้นเอง บรรลุพระอรหัตแล้ว.
               ท่านได้ปรากฏโดยนามแห่งบุญที่บำเพ็ญไว้ในกาลก่อนว่าสุภัททะ ดังนี้.
               ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทานด้วยอำนาจโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตโร โลกวิทู ดังนี้.
               คำนั้นมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระทรงบรรทมบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพานนั่นแล ได้พยากรณ์คำนี้ว่า สุณาถ มม ภาสโต ฯเปฯ นิพฺพายิสฺสตินาสโว.
               จบอรรถกถาปัญจมภาณวาร               

               ท่านเมื่อแสดงข้อปฏิบัติของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปุพฺพกมฺเมน สํยุตฺโต ดังนี้.
               บทว่า เอกคฺโค แปลว่า ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
               บทว่า สุสมาหิโต แปลว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดี. อธิบายว่า ผู้สงบกายและจิต.
               บทว่า พุทฺธสฺส โอรโส ปุตโต ความว่า ท่านฟังโอวาทานุสาสนีที่ออกจากอกคือหทัย บรรลุพระอรหัตผลแล้ว.
               บทว่า ธมฺมโตมฺหิ สุนิมฺมิโต ความว่า เกิดจากธรรม คือจากกรรมฐานกรรม. อธิบายว่า เรามีนิมิตดีโดยอริยชาติ คือเป็นผู้มีกิจทั้งปวงสำเร็จแล้วด้วยดี.
               บทว่า ธมฺมราชํ อุปคมฺม ความว่า เราเข้าไปเฝ้า คือเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระราชา เป็นอิสระกว่าสัตว์ทั้งปวงโดยธรรม.
               บทว่า อาปุจฺฉึ ปญฺหมุตฺตมํ ความว่า เราได้ถามปัญหาอันสูงสุด อันเกี่ยวด้วยการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ อายตนะ ธาตุและสัจจะเป็นต้น.
               บทว่า กถยนฺโต จ เม ปญฺหํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายนั้น เมื่อตรัสคือเมื่อพยากรณ์ปัญหาแก่เรา.
               บทว่า ธมฺมโสตํ อุปานยิ ความว่า ท่านได้เข้าใกล้คือเข้าถึงกระแสธรรม คือห้วงแห่งธรรม กล่าวคืออนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.
               บทว่า ชลชุตฺตมนายโก ความว่า เป็นโวหารที่สำเร็จแล้ว เป็นชื่อของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า เพราะกระทำ อักษรให้เป็น อักษร.
               บทว่า นิพฺพายิ อนุปาทาโย ความว่า ดับแล้วเพราะไม่ยึดถือขันธ์ ๕ อันเป็นอารมณ์ของอุปาทานแล้วคือไม่ปรากฏ. ได้แก่ไปสู่ที่ไม่เห็น. อธิบายว่า ไม่ตั้งอยู่แม้ในที่ไหนๆ เช่นในมนุษยโลกเป็นต้น.
               บทว่า ทีโป ว เตลสงฺขฺยา เชื่อมความว่า ดับไปดุจประทีปที่ดับไป เพราะสิ้นไปคือความไม่มีแห่งไส้และน้ำมัน.
               บทว่า สตฺตโยชนิกํ อาสิ ความว่า พระสถูปอันสำเร็จด้วยรัตนะของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระผู้ปรินิพพานแล้วนั้น ได้สูงถึง ๗ โยชน์.
               บทว่า ธชํ ตตฺถ อปูเชสึ ความว่า เราได้บูชาธงอันเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ โดยประการทั้งปวงที่พระเจดีย์นั้น.
               บทว่า กสฺสปสฺส จ พุทฺธสฺส ความว่า จำเดิมแต่กาลปรินิพพานแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ.
               เชื่อมความว่า เราท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ โอรสคือบุตรของเรานามว่าติสสะ ได้เป็นอัครสาวกแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ คือเป็นทายาทในศาสนาของพระชินเจ้า
               บทว่า ตสฺส หีเนน มนสา เราผู้มีใจคือมีจิตอันเลวทรามลามก ได้กล่าวคือแสดงคำว่า อนฺตโก ปจฺฉิโม ดังนี้ อันเป็นคำไม่เจริญ ไม่ดี ไม่เหมาะ ต่อพระอัครสาวกชื่อว่าติสสะ ผู้เป็นบุตรของเรานั้น.
               บทว่า เตน ปมฺมวิปาเกน ความว่า ด้วยวิบากแห่งอกุศลกรรม คือการกล่าวตู่พระอรหันต์นั้น.
               บทว่า ปจฺฉิเม อทฺทสํ ชินํ ความว่า เราได้เห็นพระชินเจ้า คือผู้พึงชนะมาร ได้แก่พระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราผู้บรรทมบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพาน อันเป็นที่แวะเวียนแห่งมัลลกษัตริย์ทั้งหลายในกาลสุดท้าย คือในกาลเป็นปรินิพพาน.
               บาลีว่า ปจฺฉา เม อาสิ ภทฺทกํ ดังนี้ก็มี.
               อธิบายว่า เรานั้นได้มีการแทงตลอดสัจจะ ๔ อันเจริญอันดีในกาลอันเป็นภายหลังแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะนั้น คือในกาลเป็นที่สุด ได้แก่ในกาลใกล้ต่อพระนิพพานแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.
               บทว่า ปพฺพาเชสิ มหาวีโร เชื่อมความว่า พระมหาวีระผู้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทุกจำพวก ผู้ประกอบด้วยพระกรุณา ผู้ชำนะมาร ผู้เป็นมุนี ทรงบรรทมในที่บรรทมคือบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพาน ให้เราบรรพชาในปัจฉิมกาล ในป่าสาลวโนยานอันเป็นที่แวะเวียนแห่งมัลลกษัตริย์.
               บทว่า อชฺเชว ทานิ ปพฺพชฺชา ความว่า วันนี้แหละคือในวันเป็นที่ปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราได้บรรพชา อนึ่ง วันนี้แหละเราได้อุปสมบท.
               เชื่อมความว่า วันนี้เราได้ปรินิพพาน ในที่พร้อมพระพักตร์แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า.
               จบอรรถกถาสุภัททเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๕. อุปาลีวรรค ๙. สุภัททเถราปทาน (๔๙) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 50อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 51อ่านอรรถกถา 32 / 52อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=2334&Z=2380
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=1943
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=1943
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :