ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 40อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 41อ่านอรรถกถา 32 / 42อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๔. กุณฑธานวรรค
๙. ธรรมจักกิกเถราปทาน (๓๙)

               ๓๙. อรรถกถาธัมมจักกิกเถราปทาน               
               อปทานของท่านพระธรรมจักกิกเถระมีคำเริ่มต้นว่า สิทฺธตฺถสฺส ภควโต ดังนี้.
               พระเถระแม้นี้ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เจริญด้วยบุตรและภรรยา สมบูรณ์ด้วยสมบัติมีโภคะมาก.
               ท่านเลื่อมใสในพระรัตนตรัย เกิดศรัทธา ได้สร้างธรรมจักรสำเร็จด้วยรัตนะบูชาข้างหลังธรรมาสน์ในธรรมสภา. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเสวยสักกสมบัติและจักกวัตติสมบัติ ในที่ที่ตนเกิดแล้วในเทวดาและมนุษย์.
               ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยสมบัติ เกิดศรัทธา บวชแล้วเจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ปรากฏโดยนามที่เสมือนกับนามแห่งกุศลที่ท่านบำเพ็ญในกาลก่อนว่า ธัมมจักกิกเถระ.
               ท่านบรรลุพระอรหัตผลโดยสมควรแก่บุญสมภาร ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สิทฺธตฺถสฺส ภควโต ดังนี้.
               บทว่า สีหาสนสฺส สมฺมุขา ความว่า ในที่พร้อมหน้า คือในที่ตรงหน้าพุทธอาสน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่ง.
               บทว่า ธมฺมจกฺกํ เม ฐปิตํ ความว่า เราได้แสดงรูปสีหะทั้งสองข้าง โดยอาการดุจธรรมจักร สร้างกระทำให้เหมือนกระจกในท่ามกลางตั้งธรรมจักรบูชา.
               เป็นอย่างไร?
               เชื่อมความว่า ธรรมจักรที่วิญญูชน คือบุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลายสรรเสริญ ชมเชย กระทำดีแล้ว ว่างามเหลือเกิน.
               บทว่า จารุวณฺโณว โสภามิ ความว่า เราย่อมงาม คือไพโรจน์ประดุจมีวรรณะดังทองคำ.
               บาลีว่า จตุวณฺเณหิ โสภามิ ดังนี้ก็มี.
               อธิบายว่า เราย่อมงดงามคือไพโรจน์ด้วยวรรณะ ๔ กล่าวคือชาติแห่งกษัติรย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร.
               บทว่า สโยคฺคพลวาหโน ความว่า ประกอบด้วยยานมีวอทองเป็นต้น เสวกคือหมู่พลมีเสนาบดีและอำมาตย์เป็นต้น และด้วยพาหนะกล่าวคือรถเทียมช้างและม้าเป็นต้น.
               เชื่อมความว่า ชนเป็นอันมากคือมนุษย์เป็นอันมาก ประกอบตามคือคล้อยตามเรา แวดล้อมตลอดกาลเป็นนิตย์.
               คำที่เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
               จบอรรถกถาธัมมจักกิกเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๔. กุณฑธานวรรค ๙. ธรรมจักกิกเถราปทาน (๓๙) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 40อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 41อ่านอรรถกถา 32 / 42อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=2082&Z=2097
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=1701
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=1701
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :