ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 26อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 27อ่านอรรถกถา 32 / 28อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๓. สุภูติวรรค
๕. อันนสังสาวกเถราปทาน (๒๕)

               ๒๕. อรรถกถาอันนสังสาวกเถราปทาน               
               อปทานแห่งท่านพระอันนสังสาวกเถระมีคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณวณฺณํ สมฺพุทฺธํ ดังนี้.
               พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูลแห่งหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้งดงามด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ และมณฑลแห่งพระรัศมีด้านละวา กำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาต มีจิตเลื่อมใสเชื้อเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้านำไปสู่เรือน ให้บริโภคอิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและน้ำอันประเสริฐ.
               ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้นนั่นแล ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติ ต่อจากนั้นเสวยทิพยเทวสมบัติและ มนุษย์สมบัติบ่อยๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลหนึ่ง เลื่อมใสในพระศาสนาแล้วบวช เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว.
               ท่านได้เป็นมีผู้นามปรากฏว่า อันนสังสาวกเถระ ด้วยอำนาจนามแห่งบุญที่ตนทำไว้ในกาลก่อน.
               อยู่มาภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทานของตน ด้วยอำนาจอุทานว่า เราบรรลุพระอรหัตด้วยอานุภาพแห่งบุญสมภารนี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สุวณฺณวณฺณํ ดังนี้.
               ในคำนั้นมีอธิบายว่า
               พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดมีวรรณะเพียงดังว่าวรรณะแห่งทอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้นั้น ชื่อว่ามีวรรณะเพียงว่าวรรณะแห่งทอง. ซึ่งพระสัมพุทธะคือพระสิทธัตถะผู้มีวรรณะเพียงดังว่าวรรณะแห่งทองพระองค์นั้น.
               บทว่า คจฺฉนฺตํ อนฺตราปเณ ความว่า ผู้เสด็จไปอยู่ในระหว่างทางแห่งแถวร้านค้าของพ่อค้าทั้งหลาย.
               บทว่า กญฺจนคฺฆิยสงฺกาสํ เชื่อมความว่า เห็นพระสิทธัตถะ เสมือนกับเสาระเนียดอันสำเร็จด้วยทอง มีพระลักษณะ ๓๒ คือสมบูรณ์ด้วยพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ผู้ยังโลกให้โชติช่วง คือผู้เป็นดุจประทีปส่องโลกทั้งสิ้นไม่มีประมาณคือเว้นจากประมาณ ไม่มีผู้ใดเปรียบ คือเว้นจากผู้เปรียบเทียบ ผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง ทรงไว้ซึ่งพระรัศมี คือทรงไว้ซึ่งพระพุทธรัศมีมีวรรณะ ๖ ได้รับปีติอย่างยิ่งคือสูงสุด.
               คำที่เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.
               จบอรรถกถาอันนสังสาวกเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๓. สุภูติวรรค ๕. อันนสังสาวกเถราปทาน (๒๕) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 26อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 27อ่านอรรถกถา 32 / 28อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=1770&Z=1786
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=1065
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=1065
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :