ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 164อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 165อ่านอรรถกถา 32 / 166อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๗. สุปาริจริยวรรค
๓. ขัชชทายกเถราปทาน (๑๖๓)

               ๑๖๓. อรรถกถาขัชชกทายกเถราปทาน               
               อปทานของท่านพระขัชชกทายกเถระมีคำเริ่มต้นว่า ติสฺสสฺส โข ภควโต ดังนี้.
               แม้พระเถระรูปนี้ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ.
               ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าติสสะ ท่านได้เกิดในตระกูลศูทร ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลไม้น้อยใหญ่อันมีรสอร่อยอย่างละ ๑ ผล มีผลมะม่วงและผลชมภู่เป็นต้น มะพร้าวและขนมที่ควรเคี้ยว.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสวยแล้ว ในขณะที่เขามองดูอยู่นั่นแล ก็เพื่อจะเจริญความเลื่อมใสแก่เขา.
               ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้เสวยแต่สมบัติในสุคติโลกสวรรค์อย่างเดียว.
               ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีตระกูลในกรุงสาวัตถี บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วเกิดศรัทธา มีความเลื่อมใสและนับถือมาก บวชแล้วทำพระศาสนาให้งดงามด้วยข้อวัตรปฏิบัติ มีศีลเป็นอลังการเครื่องประดับ ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต.
               เมื่อท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนทราบว่า เราได้ทำกุศลอันดีงามไว้ในที่ดีในกาลก่อนดังนี้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ติสฺสสฺส โข ภควโต ดังนี้.
               พึงทราบความหมายในบทนั้นว่า
               ชื่อว่าติสสะ ด้วยอำนาจเป็นชื่อที่มารดาบิดาตั้งให้ เพราะตั้งแต่เกิดขึ้นมา มีแต่จะให้สมบัติในภพทั้งสาม.
               อีกความหมายหนึ่ง ชื่อว่าติสสะ เพราะทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงยังมหาชนให้สบายใจด้วยไตรสรณคมน์ ทรงโอวาทพร่ำสอนให้หมู่คนผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุตั้งอยู่ในสมบัติทั้งสอง คือสวรรค์สมบัติและนิพพานสมบัติ.
               ชื่อว่า ภควา เพราะทรงประกอบไปด้วยภคธรรมทั้งหลายมีสมาบัติคุณเป็นต้น.
               อธิบายว่า ในกาลก่อน เราได้ถวายผลมะพร้าวและผลไม้อื่นนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าติสสะพระองค์นั้นแล้ว.
               บทว่า นาฬิเกรญฺจ ปาทาสึ ความว่า เราได้ถวายผลไม้อันเป็นไปโดยอาการแห่งต้นมะพร้าวชื่อว่านาฬิเกระ นั้น.
               บทว่า ขชฺชกํ อภิสมฺมตํ ความว่า เราได้ถวายของที่ควรเคี้ยวที่สมมติกัน รู้กันอย่างดียิ่งกว่าขนมมีรสอร่อยดี ที่สำเร็จแล้วเพราะปรุงผสมกับน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดเป็นต้นอย่างพิเศษ.
               คำที่เหลือมีเนื้อความพอจะรู้ได้โดยง่ายทีเดียว.
               จบอรรถกถาขัชชชกทายกเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๗. สุปาริจริยวรรค ๓. ขัชชทายกเถราปทาน (๑๖๓) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 164อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 165อ่านอรรถกถา 32 / 166อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=4423&Z=4435
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=4456
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=4456
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :