ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 162อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 163อ่านอรรถกถา 32 / 164อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๗. สุปาริจริยวรรค
๑. สุปาริจริยเถราปทาน (๑๖๑)

               อรรถกถาสุปาริจริยวรรคที่ ๑๗               
               ๑๖๑. อรรถกถสุปาริจริยเถราปทาน               
               อปทานของท่านพระสุปาริจริยเถระมีคำเริ่มต้นว่า ปทุโม นาม นาเมน ดังนี้.
               แม้พระเถระรูปนี้ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระมุนีเจ้าผู้ประประเสริฐพระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ.
               ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ท่านได้เกิดในกำเนิดยักษ์ ไปยังสมาคมยักษ์ในหิมวันต์ ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า จากพวกเทวดายักษ์ คนธรรพ์และนาคแล้ว มีใจเลื่อมใส คู้แขนทั้งสองแล้ว ปรบมือนมัสการแล้ว.
               ด้วยบุญอันนั้น เขาจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้บังเกิดในเทวโลกชั้นสูงๆ ขึ้นไป ได้เสวยทิพยสุขในเทวโลกนั้นแล้ว และได้บังเกิดในมนุษยโลก เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมบัติเป็นต้นในหมู่มนุษย์แล้ว.
               ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในตระกูลคฤหบดีในพระนครสาวัตถี เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เกิดศรัทธาบวชแล้วไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต.
               วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนเองได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุโม นาม นาเมน ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปทุโม ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงการนับว่าปทุมะ เพราะสัญญาในเวลาที่จะวางพระบาทลง จะมีดอกบัวแทรกแผ่นดินโผล่ขึ้นมารองรับพื้นพระบาทของพระองค์.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ พระอรรถกถาจารย์ประสงค์ในบทว่า ปทุโม นี้.
               เชื่อมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จออกจากพระวิหารที่ประทับ แล้วเสด็จเข้าไปยังท่ามกลางป่า ทรงแสดงธรรมแล้วแล.
               บทว่า ยกฺขานํ สมโย ความว่า ได้มีสมาคมของเทวดาทั้งหลายแล้ว.
               บทว่า อชฺฌาเปกฺขึสุ ตาวเท ความว่า ได้เห็นแจ้งชัดในเวลาแสดงธรรมนั้น คือได้มีปกติเห็นชัดโดยพิเศษ.
               คำที่เหลือมีเนื้อความปรากฏชัดแล้วทีเดียวแล.
               จบอรรถกถาสุปาริจจริยเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๗. สุปาริจริยวรรค ๑. สุปาริจริยเถราปทาน (๑๖๑) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 162อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 163อ่านอรรถกถา 32 / 164อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=4392&Z=4407
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=4419
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=4419
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :