ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 152อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 153อ่านอรรถกถา 32 / 154อ่านอรรถกถา 32 / 412
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๖. พันธุชีวกวรรค
๑. พันธุชีวกเถราปทาน (๑๕๑)

               อรรถกถาพันธุชีวกวรรคที่ ๑๖               
               ๑๕๑. อรรถกถาพันธุชีวกเถราปทาน               
               อปทานของท่านพระพันธุชีวกเถระมีคำเริ่มต้นว่า จนฺทํ ว วิมลํ สุทฺธํ ดังนี้.
               แม้ท่านพระเถระรูปนี้ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ.
               ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าสิขี ท่านได้เกิดในเรือนอันมีตระกูล บรรลุนิติภาวะแล้ว ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส ได้เห็นพระรูปกายสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามสิขีแล้ว มีจิตเลื่อมใส เก็บเอาดอกชบาหลายดอกมาบูชาที่แทบพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า.
               เพื่อจะทรงทำจิตของเขาให้เกิดความเลื่อมใส พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงทำอนุโมทนาแก่เขา. เขาดำรงชีวิตอยู่จนตลอดอายุขัย ด้วยบุญอันนั้นนั่นแล เขาจึงได้บังเกิดในเทวโลก ได้เสวยกามาวจรสมบัติ ๖ ชั้นแล้ว ได้เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมบัติเป็นต้นในมนุษยโลกอีก.
               ในกาลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเราพระองค์นี้อุบัติขึ้นแล้ว เขาได้เกิดในตระกูลคฤหบดี ได้ฟังพระธรรมของพระศาสดาแล้วเกิดศรัทธาละเรือนออกบวช ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.
               ท่านระลึกถึงกุศลกรรมที่ตนได้กระทำไว้ในกาลก่อนได้ด้วยปุพเพนิวาสญาณแล้ว เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า จนฺทํ ว วิมลํ สุทฺธํ ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จนฺทํ ว วิมลํ สุทฺธํ เชื่อมความว่า ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าสิขี พระองค์ผู้ผ่องใสบริสุทธิ์เพราะไม่มีกิเลส ทรงปราศจากมลทินเพราะละมลทินคืออุปกิเลส ๑,๕๐๐ เสียได้ดุจดวงจันทร์พ้นแล้วจากมลทิน คืออุปกิเลสเหล่านี้คือ เมฆ หมอก น้ำค้าง ควัน ธุลี ราหู ดังนี้.
               ชื่อว่าไม่ขุ่นมัว เพราะไม่มีเปือกตมคือกิเลส.
               ชื่อว่ามีความเพลิดเพลินและภพสิ้นไปแล้ว เพราะความเสน่หาอันมีกำลัง คือความเพลิดเพลินและภพ สิ้นไปแล้วโดยรอบด้าน.
               บทว่า ติณฺณํ โลเก ความว่า ข้ามขึ้นพ้นจากโลกทั้ง ๓ ได้แล้ว
               บทว่า วิสตฺติกํ ความว่า ตัณหาท่านเรียกว่า วิสตฺติ.
               นิตฺตณฺหํ แปลว่าไม่มีตัณหา.
               บทว่า นิพฺพาปยนฺตํ ชนตํ ความว่า พระองค์ทรงอยู่ในธรรม ทรงยังหมู่ชนให้ดับ สงบระงับได้ด้วยความไม่มีความเร่าร้อน คือกิเลส.
               เชื่อมความว่า ซึ่งพระสัมพุทธเจ้าพระนามสิขี พระองค์ทรงข้ามจากสงสารแล้ว ทรงชักชวนสัตว์ทั้งปวงให้ข้ามพ้นจากสงสารบ้าง ทรงเป็นมุนีเพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการ.
               บทว่า วนสฺมึ ฌายมานํ ความว่า ทรงเพ่ง คิด ทรงอบรมจิตด้วยอารัมมณูนิชฌานและลักขณูนิชฌานในกลางป่า.
               เชื่อมความว่า เห็นแล้วซึ่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ทรงเป็นมุนีผู้มีจิตเป็นอารมณ์เดียว มีจิตตั้งมั่นด้วยดีในอารมณ์เดียว.
               บทว่า พนฺธุชีวกปุปฺผานิ ความว่า เป็นที่ดำรงชีวิตของเผ่าพันธุ์คือหมู่ญาติ คือเป็นที่อาศัยเป็นอยู่เป็นที่รวมพันธุชีวกะ คือหัวใจ เนื้อและโลหิต เก็บเอาดอกชบาที่มีสีดอกเสมอเหมือนกับหัวใจ เนื้อและโลหิต มาบูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก.
               คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
               จบอรรถกถาพันธุชีวกเถราปทาน               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑๖. พันธุชีวกวรรค ๑. พันธุชีวกเถราปทาน (๑๕๑) จบ.
อ่านอรรถกถา 32 / 1อ่านอรรถกถา 32 / 152อรรถกถา เล่มที่ 32 ข้อ 153อ่านอรรถกถา 32 / 154อ่านอรรถกถา 32 / 412
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=4242&Z=4257
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=4216
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=4216
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๓  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :