ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 30 / 1อ่านอรรถกถา 30 / 346อรรถกถา เล่มที่ 30 ข้อ 366อ่านอรรถกถา 30 / 388อ่านอรรถกถา 30 / 663
อรรถกถา ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ปารายนวรรค
กัปปมาณวกปัญหานิทเทส

               อรรถกถากัปปมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๐               
               พึงทราบวินิจฉัยในกัปปสุตตนิทเทสที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.
               บทว่า มชฺเฌ สรสฺมึ ท่านอธิบายว่า ในสงสารอันเป็นท่ามกลาง เพราะไม่มีความปรากฏที่สุดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย.
               บทว่า ติฏฺฐตํ คือ แก่สัตว์ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่.
               บทว่า ยถยิทํ นาปรํ สิยา คือ ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีกอย่างไร.
               บทว่า อาคมนํ การมา คือการมาในที่นี้ แต่เบื้องต้นและที่สุด.
               บทว่า คมนํ การไป คือการไปสู่โลกอื่นจากโลกนี้.
               บทว่า คมนา คมนํ การไปและการมา. ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยอำนาจทั้งสองอย่างนั้น.
               บทว่า กาลํ คือ กาลมรณะ.
               บทว่า คติ คือ การบังเกิด.
               บทว่า ภวาภโว คือ ภพแต่ภพ.
               บทว่า จุติ จ คือ การเคลื่อนจากภพ.
               บทว่า อุปปตฺติ จ คือ การอุปบัติต่อจากการจุติ.
               บทว่า นิพฺพตฺติ จ ความบังเกิด คือความปรากฏ.
               บทว่า เภโท จ คือ ความทำลายขันธ์.
               บทว่า ชาติ จ คือ ความเกิด.
               บทว่า ชรา จ คือ ความเสื่อมแห่งขันธ์ทั้งหลาย.
               บทว่า มรณญฺจ ความตาย คือการสละชีวิตินทรีย์.
               บทว่า ปุริมาปิ โกฏิ น ปญฺญายติ ที่สุด แม้เบื้องต้นก็ไม่ปรากฏ คือไม่มี.
               ที่สุดแม้เบื้องปลายก็เหมือนอย่างนั้น.
               บทว่า เอตฺตกา ชาติโย คือ สิ้นชาติประมาณเท่านี้.
               บทว่า วฏฺฏํ วตฺติ วัฏฏะเป็นไปแล้ว คือ ความเป็นไปแห่งสงสารเป็นไปแล้ว.
               บทว่า ตโต ปรํ น วตฺตติ คือ พ้นจากนั้นแล้วไม่เป็นไป.
               บทว่า เหวํ นตฺถิ คือ ไม่มีอย่างนี้.
               หิ ศัพท์เป็นนิบาต.
               บทว่า อนมตคฺโคยํ คือ สงสารนี้มีที่สุดอันรู้ไม่ได้.
               บทว่า อวิชฺชา นีวรณานํ คือ สัตว์ทั้งหลายอันอวิชชากั้นไว้.
               บทว่า ตณฺหาสญฺโญชนานํ มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ คือมีตัณหา กล่าวคือกามราคะผูกพันไว้.
               บทว่า สนฺธาวตํ คือ วนเวียนไปบ่อยๆ ในกามธาตุ.
               บทว่า สํสรตํ คือ ท่องเที่ยวไปในรูปธาตุและอรูปธาตุ.
               บทว่า ทุกฺขํ ปจฺจนุภูตํ เสวยความทุกข์อันเป็นไปทางกายและทางจิต.
               บทว่า ติพฺพํ คือ มาก.
               บทว่า พฺยสนํ คือ ไม่มีความเจริญ พินาศ.
               บทว่า กฏสีววฑฺฒิตํ คือ มากไปด้วยป่าช้า.
               บทว่า อลเมว คือ สมควรแท้.
               บทว่า สพฺพสงฺขาเรสุ คือ ในสังขารอันเป็นไปในภูมิ ๓.
               บทว่า นิพฺพินฺทิตุํ เพื่อความเบื่อหน่าย คือ เพื่อคลายกระสัน.
               บทว่า วิรชฺชิตุํ คือ เพื่อให้เกิดความคลายกำหนัด.
               บทว่า วิมุจฺจิตุํ คือ เพื่อหลุดพ้น.
               บทว่า วฏฺฏํ วตฺติสฺสติ วัฏฏะจักเป็นไป คือวัฏฏะเป็นไปในภูมิ ๓ อันเป็นไปแล้วในสงสารจักเป็นไปในอนาคต.
               บทว่า ตโต ปรํ น วตฺติสฺสติ พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป คือความเป็นไปในสงสารในอนาคต พ้นจากนั้นจักไม่เป็นไป.
               บทว่า ชาติภเย คือ ภัยอาศัยชาติเกิดขึ้น.
               แม้ในชราเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงพยากรณ์ความนั้นแก่กัปปมาณพ จึงได้ตรัสคาถาทั้งหลายต่อๆ ไป.
               คาถาที่ ๒ มีความได้กล่าวไว้แล้ว.
               พึงทราบความคาถาที่ ๓ ต่อไป.
               บทว่า อกิญฺจนํ ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล คือ ตรงกันข้ามกับกิเลสเครื่องกังวล.
               บทว่า อนาทานํ ไม่มีตัณหาเครื่องถือมั่น คือ ตรงกันข้ามกับตัณหาเครื่องถือมั่น. อธิบายว่า เข้าไปสงบกิเลสเครื่องกังวลและตัณหาเครื่องถือมั่น.
               บทว่า อนาปรํ ไม่ใช่ธรรมอย่างอื่น คือเว้นจากธรรมที่เสมอกันเช่นกันอย่างอื่น. อธิบายว่า เป็นธรรมประเสริฐที่สุด.
               พึงทราบความในคาถาที่ ๔.
               บทว่า น เต มารสฺส ปฏฺฐคู พระขีณาสพเหล่านั้นไม่ไปบำรุงมาร คือไม่เที่ยวบำรุง บำเรอ รับใช้มาร.
               ชื่อว่ามาร เพราะประกอบมหาชนไว้ในบาปแล้วให้ตาย. ชื่อว่ามีธรรมดำ เพราะเป็นผู้ประกอบในอกุศลกรรม. ชื่อว่าผู้เป็นใหญ่ เพราะเป็นใหญ่ในเทวโลกทั้ง ๖. ข้อว่าอนฺตคู เพราะเป็นผู้ไปสู่ที่สุดแห่งอกุศลกรรม. ชื่อว่านมุจิ เพราะไม่ปล่อยมหาชน. ชื่อว่าเป็นพวกพ้องของคนประมาท เพราะเป็นญาติโดยเป็นที่นับถือกันของคนประมาท คืออยู่ปราศจากสติ.
               บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.
               เมื่อจบเทศนาได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับครั้งก่อน.

               จบอรรถกถากัปปมาณวกปัญหานิทเทสที่ ๑๐               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ปารายนวรรค กัปปมาณวกปัญหานิทเทส จบ.
อ่านอรรถกถา 30 / 1อ่านอรรถกถา 30 / 346อรรถกถา เล่มที่ 30 ข้อ 366อ่านอรรถกถา 30 / 388อ่านอรรถกถา 30 / 663
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=30&A=3379&Z=3558
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=46&A=879
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=46&A=879
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๔  เมษายน  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :