ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 3 / 1อ่านอรรถกถา 3 / 432อรรถกถา เล่มที่ 3 ข้อ 435อ่านอรรถกถา 3 / 438อ่านอรรถกถา 3 / 504
อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาจิตติยกัณฑ์
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑

               อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑               
               วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑๑ พึงทราบดังนี้ :-
               บทว่า ปริวาสิยฉนฺททาเนน คือ โดยให้ฉันทะค้าง.
               ในคำว่า การให้ฉันทะค้างนั้น การค้างมี ๔ อย่างคือ ค้างโดยที่ประชุม ๑ ค้างโดยราตรี ๑ ค้างโดยฉันทะ ๑ ค้างโดยอัธยาศัย ๑.
               ที่ชื่อว่า ค้างโดยที่ประชุม คือ พวกภิกษุกำลังประชุมกันด้วยวกรณียกิจบางอย่าง. คราวนั้น เมฆฝนตั้งเค้าขึ้นก็ดี ถูกเขาทำการขับไล่ก็ดี พวกชาวบ้านมามุงดูกันก็ดี ภิกษุทั้งหลายยังไม่ทันสละฉันทะเลย พากันลุกไปโดยอ้างว่า ไม่ใช่โอกาส พวกเราจงไปที่อื่นเถอะ. นี้ชื่อว่า ค้างโดยที่ประชุม.
               ก็การค้างโดยที่ประชุม ควรจะทำกรรมได้ เพราะภิกษุทั้งหลายยังไม่ได้สละฉันทะ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ตกกลางคืนพวกภิกษุประชุมกันอีก ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักทำกรรมมีอุโบสถเป็นต้น จึงเชื้อเชิญภิกษุรูปหนึ่ง ด้วยตั้งใจว่า จักฟังธรรมจนกว่าภิกษุจะมาประชุมกันทั้งหมด.
               เมื่อภิกษุนั้นกำลังแสดงธรรมกถาอยู่นั่นแหละ อรุณขึ้นเสีย. ถ้าพวกภิกษุนั่งประชุมกันด้วยตั้งใจว่า จักทำจาตุทสีอุโบสถ แล้วทำด้วยตกลงกันว่า ปัณณรสีอุโบสถ ก็ได้. ถ้านั่งประชุมกันเพื่อทำปัณณรสีอุโบสถ วันแรมค่ำ ๑ ไม่ใช่วันอุโบสถ จะทำอุโบสถ ไม่ควร แต่จะทำสังฆกิจอย่างอื่น ควรอยู่. นี้ชื่อว่า ค้างโดยราตรี.
               พวกภิกษุประชุมกันอีกด้วยตั้งใจว่า จักทำสังฆกรรมมีอัพภานเป็นต้นบางอย่างนั่นแล. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นนักโหราศาสตร์ กล่าวอย่างนี้ว่า วันนี้ฤกษ์ร้าย (ฤกษ์ทารุณ) พวกท่านจงอย่าทำกรรมนี้. ภิกษุพวกนั้นสละฉันทะตามคำของภิกษุนั้นแล้ว ยังนั่งประชุมกันอยู่อย่างนั้นแหละ. ทีนั้น ภิกษุรูปอื่นมาพูดขึ้นว่า ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ที่มัวถือฤกษ์ยามอยู่ แล้วกล่าวว่า พวกท่านจะทำอะไรด้วยดาวฤกษ์. นี้ชื่อว่าค้างโดยฉันทะ และค้างโดยอัธยาศัย.
               ในการค้างนั่น จะไม่นำฉันทะและปาริสุทธิมาใหม่ทำกรรม ย่อมไม่ควร.
               สองบทว่า วุฏฺฐิตาย ปริสาย ความว่า เมื่อที่ประชุมสละฉันทะ แล้วเลิกประชุมไปด้วยกายก็ดี ด้วยอาการเพียงสละฉันทะเท่านั้นก็ดี.
               ข้อว่า อนาปตฺติอวุฏฺฐิตาย ปริสาย มีความว่า เมื่อที่ประชุมยังไม่สละฉันทะ ยังไม่เลิกประชุม ไม่เป็นอาบัติ.
               คำที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
               สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ แล.

               อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ภิกขุนีวิภังค์ ปาจิตติยกัณฑ์ กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ.
อ่านอรรถกถา 3 / 1อ่านอรรถกถา 3 / 432อรรถกถา เล่มที่ 3 ข้อ 435อ่านอรรถกถา 3 / 438อ่านอรรถกถา 3 / 504
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=3&A=5967&Z=6003
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11846
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11846
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒  มกราคม  พ.ศ.  ๒๕๕๖
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :