ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 0 อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 957 อรรถกถาอรรถาธิบาย
เล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 963 อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 969 อรรถาธิบายเล่มที่  27 เริ่มข้อที่ 2519
อรรถกถา มณิชาดก
ว่าด้วย แก้วมณี

               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้เหลวไหล จึงได้ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า จิรสฺสํ วต ปสฺสามิ ดังนี้.
               เรื่องปัจจุบันมีนัยดังกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.
               พระองค์ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
               ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นนกพิราบอาศัยอยู่ที่รังนก บนโรงครัวหลังใหญ่ของเศรษฐีเมืองพาราณสี.
               ฝ่ายกาทำความคุ้นเคยกับนกพิราบนั้นแล้วอยู่ ณ ที่นั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เรื่องทั้งหมดควรให้พิสดารเถิด.
               พ่อครัวถอนขนปีกของกาออกแล้วเอาแป้งทาปีกไว้ เจาะชิ้นกระเบื้องชิ้นหนึ่งสวมไว้ที่คอแล้วใส่ไว้ในรัง.
               พระโพธิสัตว์มาจากป่าเห็นมันแล้ว
               เมื่อจะทำการเยาะเย้ย จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
               เป็นเวลานานหนอ เราจึงจะเห็นสหายทัดทรงแก้วมณี สหายของเรางามจริง เพราะการแต่งขนที่ช่างตกแต่งดีแล้ว.


               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มสฺสุกุตฺติยา ความว่า เพราะการตกแต่งขนนี้.

               กาได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
               เราเป็นผู้ขวนขวายในการงานทั้งหลาย จึงมีขนแข็งคล้ายเล็บงอกขึ้นใต้ปีก นานๆ จึงจะได้ช่างกัลบก วันนี้ได้ให้ช่างถอนแล้ว.


               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺเม สุพฺยาวโฏ ความว่า กากล่าวว่า ดูก่อนสหาย เราเป็นผู้ขวนขวายในงานราชการทั้งหลาย เมื่อไม่ได้โอกาสถอนจึงได้มีขนแข็งเหมือนเล็บงอกขึ้นใต้ปีกคือรักแร้
               บทว่า อหารยิ ความว่า วันนี้เราได้ให้ช่างถอนขนออกแล้ว.

               ในลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
               เธอได้ช่างกัลบกที่หาได้ยากแล้ว ได้ให้เขาถอนขนออกไปโดยวิธีใดหนอ เธอจงให้เขาถอนออกโดยวิธีนั้นเถิด สหาย เมื่อเป็นเช่นนั้น อะไรเล่าห้อยย้อยอยู่ที่คอของเธอ?


               คาถานั้นมีเนื้อความว่า
               เจ้าได้ช่างกัลบกที่หาได้ยาก แล้วได้ให้เขาถอนขนออกโดยวิธีใด เจ้าชอบใจวิธีนี้นั้น ฉันจักให้เขาทำการตกแต่งขนเคราให้ เจ้าจงให้เขาถอนขนนั้นออกไปเถิด สหายเอ๋ย นี้อะไรเล่าห้อยระย้าอยู่ที่คอของเจ้า?

               ลำดับนั้น กาได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
               แก้วมณีห้อยอยู่ที่คอของมนุษย์ พวกสุขุมาลชาติทั้งหลาย เราเลียนแบบมนุษย์เหล่านั้น เธออย่าสำคัญว่าทำเล่น.
               ดูก่อนสหาย ถ้าแม้ว่า เธอชอบใจการแต่งขนที่ตกแต่งดีแล้วนี้ไซร้ เราจะให้ช่างทำให้เธอ และแม้แก้วมณีเราก็จะให้เธอ.


               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มณี ความว่า รัตนมณีดวงหนึ่งห้อยอยู่ที่คอของคนทั้งหลายแบบนั้น. บทว่า เตสาหํ ตัดบทเป็น แปลว่า ข้าเลียนแบบพวกเขา.
               บทว่า มา ตวํ มญฺเญ ความว่า แต่เจ้าอย่าสำคัญว่า สิ่งนั่นข้าทำเล่น.
               บทว่า ปิหยสิ ความว่า ถ้าหากเจ้าต้องการแบบขนที่ข้าแต่งดีแล้วไซร้.

               พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า:-
               เธอเท่านั้นแหละเหมาะกับแก้วมณี และขนที่ตกแต่งดีแล้ว เราบอกเธอแล้วก็จะไปละ การเห็นเธอเป็นที่รักของฉัน.


               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มณินา ความว่า สำหรับแก้วมณี. ปาฐะเป็นอย่างนี้ทีเดียวก็มี. มีคำอธิบายไว้ว่า สหายกาเอ๋ย เจ้าเท่านั้นแหละเหมาะสำหรับแก้วมณีนี้ และขนที่ตกแต่งแล้วนี้ แต่การเห็นเธอนั่นเองเป็นที่รักของฉัน เพราะฉะนั้นฉันบอกเธอแล้วก็จะไป.

               ก็แหละนกพิราบครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็บินหนีเข้าป่าไป. ส่วนกาถึงการสิ้นชีวิต ณ ที่นั้นนั่นเอง.

               พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย แล้วจึงทรงประชุมชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจธรรม ภิกษุผู้เหลวไหลดำรงอยู่แล้วในอนาคามิผล.
               กาในครั้งนั้น ได้แก่ ภิกษุผู้เหลวไหลในบัดนี้
               ส่วนนกพิราบ ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.

               จบ อรรถกถามณิชาดกที่ ๑๐               
               -----------------------------------------------------               

               รวมชาดกที่มีในขุรปุตวรรคนี้มี ๑๐ คือ :-
                         ๑. ขุรปุตตชาดก ว่าด้วย ทำตนให้ไร้ประโยชน์
                         ๒. สูจิชาดก ว่าด้วย เข็ม
                         ๓. ตุณฑิลชาดก ว่าด้วย ธรรมเหมือนน้ำ บาปธรรมเหมือนเหงื่อไคล
                         ๔. สุวรรณกักกฏกชาดก ว่าด้วย ปูตัวฉลาด
                         ๕. มัยหกสกุณชาดก ว่าด้วย การใช้ทรัพย์ให้เป็นประโยชน์
                         ๖. ปัพพชิตวิเหฐกชาดก ว่าด้วย กราบไหว้ผู้ควรกราบไหว้
                         ๗. อุปสิงฆปุปผกชาดก ว่าด้วย คนดีไม่ควรทำชั่วแม้นิดหน่อย
                         ๘. วิฆาสาทชาดก ว่าด้วย การกินของที่เป็นเดน
                         ๙. วัฏฏกชาดก ว่าด้วย การทำให้เกิดความสุข
                         ๑๐. มณิชาดก ว่าด้วย แก้วมณี
               จบ ขุรปุตวรรคที่ ๒               
               -----------------------------------------------------               


               อรรถกถาชาดกนี้ ชื่อว่า อรรถกถาฉักกนิบาต ประดับด้วยชาดก ๒๐ ชาดก
               จบบริบูรณ์แล้ว ด้วยประการฉะนี้.
               ปกรณ์นี้ที่พระโอรสองค์เล็กของพระเจ้าอภัยสังคหะ ผู้มีพระทัยน้อมไปในการบรรพชา ตั้งแต่เวลามีพระชนม์ ๗ พรรษา มีพระหฤทัยผ่องใส ทรงผนวชแล้วโดยพระนามฉายาว่า อคฺคญาณะ ทรงมีพรรษา ๒ ตั้งแต่ทรงผนวชมา สมมุติกันว่าเป็นศิษย์เอกของพระเถระ ชาวบ้านมณีหริตคิรีคาม ผู้เป็นพระราชาคณะพระนามว่า พระสีลสัมบันตรีปิฎกธร อรรถธรรมโกศลสาสน์ ทรงลิขิตไว้สำเร็จเสร็จสิ้นในเวลาบ่ายวันที่ ๗ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ศุกรปักษ์ เดือนอ้าย.
               รวมวรรคที่มีอยู่ในฉักกนิบาตมี ๒ วรรค คือ :-
                         ๑. อาวาริยวรรค
                         ๒. ขุรปุตวรรค
               จบ ฉักกนิบาตชาดก               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มณิชาดก ว่าด้วย แก้วมณี จบ.
อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 0 อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 957 อรรถกถาอรรถาธิบาย
เล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 963 อรรถาธิบายเล่มที่ 27 เริ่มข้อที่ 969 อรรถาธิบายเล่มที่  27 เริ่มข้อที่ 2519
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=4248&Z=4276
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=2281
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=2281
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๒๙  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :