ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒]อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 34อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 35อ่านอรรถกถา 25 / 36อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕

หน้าต่างที่ ๙ / ๑๒.

               ๙. เรื่องพระสันตกายเถระ [๒๖๐]               
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสันตกายเถระ
               ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สนฺตกาโย" เป็นต้น.

               พระเถระเคยเกิดเป็นราชสีห์               
               ดังได้สดับมา ชื่อว่าการคะนองมือและเท้าของพระเถระนั้น มิได้มีแล้ว. ท่านได้เป็นผู้เว้นจากการบิดกาย เป็นผู้มีอัตภาพสงบ.
               ได้ยินว่า พระเถระนั้นมาจากกำเนิดแห่งราชสีห์. นัยว่า ราชสีห์ทั้งหลายถือเอาอาหารในวันหนึ่งแล้ว เข้าไปสู่ถ้ำเงิน ถ้ำทอง ถ้ำแก้วมณีและถ้ำแก้วประพาฬ ถ้ำใดถ้ำหนึ่ง นอนที่จุรณแห่งมโนศิลาและหรดาลตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ลุกขึ้นแล้วตรวจดูที่แห่งตนนอนแล้ว, ถ้าเห็นว่าจุรณแห่งมโนศิลาและหรดาลกระจัดกระจายแล้ว เพราะความที่หาง หู หรือเท้าอันตัวกระดิกแล้ว จึงคิดว่า "การทำเช่นนี้ไม่สมควรแก่ชาติหรือโคตรของเจ้า" แล้วก็นอนอดอาหารไปอีกตลอด ๗ วัน แต่เมื่อไม่มีความที่จุรณทั้งหลายกระจัดกระจายไป จึงคิดว่า "การทำเช่นนี้สมควรแก่ชาติและโคตรของเจ้า" ดังนี้แล้ว ก็ออกจากที่อาศัย บิดกาย ชำเลืองดูทิศทั้งหลาย บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วก็หลีกไปหากิน.
               ภิกษุนี้มาแล้วโดยกำเนิดแห่งราชสีห์เห็นปานนั้น.
               ภิกษุทั้งหลายเห็นความประพฤติเรียบร้อยทางกายของท่าน จึงกราบทูลแด่พระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า ภิกษุผู้เช่นกับพระสันตกายเถระ พวกข้าพระองค์ไม่เคยเห็นแล้ว ก็การคะนองมือ คะนองเท้า หรือการบิดกายของภิกษุนี้ในที่แห่งภิกษุนี้นั่งแล้ว มิได้มี."

               ภิกษุควรเป็นผู้สงบ               
               พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุพึงเป็นผู้สงบทางทวารทั้งหลายมีกายทวารเป็นต้นโดยแท้ เหมือนสันตกายเถระฉะนั้น"
               ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๙.  สนฺตกาโย สนฺตวาโจ    สนฺตมโน สุสมาหิโต
                         วนฺตโลกามิโส ภิกฺขุ    อุปสนฺโตติ วุจฺจติ.
                                   ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบ
                         ผู้ตั้งมั่นดีแล้ว มีอามิสในโลกอันคายเสียแล้ว
                         เราเรียกว่า "ผู้สงบระงับ."

               แก้อรรถ               
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตกาโย เป็นต้น ความว่า ชื่อว่าผู้มีกายสงบแล้ว เพราะความไม่มีกายทุจริตทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น, ชื่อว่าผู้มีวาจาสงบแล้ว เพราะความไม่มีวจีทุจริตทั้งหลายมีมุสาวาทเป็นต้น, ชื่อว่ามีใจสงบแล้ว เพราะความไม่มีมโนทุจริตทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น, ชื่อว่าผู้ตั้งมั่นดีแล้ว เพราะความที่ทวารทั้ง ๓ มีกายเป็นต้นตั้งมั่นแล้วด้วยดี, ชื่อว่ามีอามิสในโลกอันคายแล้ว เพราะความที่อามิสในโลกเป็นของอันตนสำรอกเสียแล้วด้วยมรรค ๔, พระศาสดาตรัสเรียกว่า ‘ชื่อว่าผู้สงบ’ เพราะความที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นในภายในสงบระงับแล้ว.
               ในกาลจบเทศนา พระเถระตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว
               เทศนาได้เป็นประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

               เรื่องพระสันตกายเถระ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ภิกขุวรรคที่ ๒๕
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒]
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 34อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 35อ่านอรรถกถา 25 / 36อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1244&Z=1300
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=25&A=949
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=25&A=949
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :