ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 428อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 429อ่านอรรถกถา 25 / 430อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ปารายนวรรค
โธตกปัญหาที่ ๕

               อรรถกถาโธตกสูตร#- ที่ ๕               
____________________________
#- บาลีเป็น โธตกปัญหา.

               โธตกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ปุจฺฉามิ ตํ โธตกมาณพได้ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ดังนี้.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า วาจาภิกงฺขามิ คือ ข้าพระองค์ปรารถนาอย่างยิ่งซึ่งพระวาจาของพระองค์.
               เบทว่า สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโน พึงศึกษาธรรมเป็นเครื่องดับกิเลสเพื่อตน คือพึงศึกษาอธิศีลเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่การดับกิเลสมีราคะเป็นต้นเพื่อตน.
               เบทว่า อิโต คือจากปากของเรา.
               เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โธตกมาณพมีความดีใจสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทูลขอให้ปลดเปลื้องข้อสงสัย จึงกล่าวคาถานี้ว่า ปสฺสามหํ ดังนี้เป็นต้น.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺสามหํ เทวมนุสฺสโลเก คือ ข้าพระองค์เห็นพระองค์ผู้เป็นพราหมณ์หากังวลมิได้ ทรงยังพระวรกายให้เป็นไปอยู่ในเทวโลก และมนุษยโลก.
               เบทว่า ตนฺตํ นมสฺสามิ คือ ข้าพระองค์ขอถวายนมัสการพระองค์.
               เบทว่า ปมุญฺจ คือ ขอพระองค์จงทรงปลดเปลื้อง.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงการปลดเปลื้องความสงสัยอันเนื่องด้วยพระองค์ จึงตรัสพระคาถาว่า นาหํ ดังนี้เป็นต้น.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า นาหํ คมิสฺสามิ คือ เราจักไม่มาถึง คือไม่ศึกษา. อธิบายว่า จักไม่พยายาม.
               เบทว่า ปโมจนาย แปลว่าเพื่อปลดเปลื้อง.
               เบทว่า กกํกถึ คือ ความสงสัย. บทว่า ตเรสิ คือ พึงข้าม.
               เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โธตกมาณพยิ่งดีใจหนักขึ้น สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งขึ้น เมื่อจะทูลขอให้สั่งสอน จึงกล่าวคาถาว่า อนุสาส พฺรหฺเม ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพรหม ขอพระองค์ทรงสั่งสอนเถิด ดังนี้เป็นต้น.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺเม นี้เป็นคำพูดที่ประเสริฐที่สุด. ด้วยเหตุนั้น โธตกมาณพจึงทูลเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อนุสาส พฺรหฺเม ดังนี้.
               บทว่า วิเวกธมฺมํ ธรรมเป็นเครื่องสงัดกิเลส ได้แก่ธรรมคือนิพพานเป็นเครื่องสงัดสังขารทั้งปวง.
               เบทว่า อพฺยาปชฺชมาโน ไม่ขัดข้องอยู่ คือไม่ขัดข้องมีประการต่างๆ.
               เบทว่า อิเธว สนฺโต คือ อยู่ในที่นี้แหละ. บทว่า อสิโต แปลว่า ไม่อาศัย.
               สองคาถาจากนี้ไปมีนัยดังกล่าวแล้วในเมตตคูสูตรนั่นแล มีต่างกันอย่างเดียวคือในเมตตคูสูตรนั้นเป็น ธมฺมํ ในสูตรนี้เป็นสนฺติ. กึ่งคาถาก่อนในคาถาที่สาม มีนัยดังกล่าวแล้วในเมตตคูสูตรนั้นเหมือนกัน. ในส่วนที่ผิดกันคือบทว่า สงฺโค คือเป็นฐานะที่ข้องอยู่. อธิบายว่า เป็นเครื่องข้อง.
               บทที่เหลือในที่ทั้งปวงชัดดีแล้ว.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาแม้นี้ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตด้วยประการฉะนี้แล.
               เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุพระอรหัตเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.

               จบอรรถกถาโธตกสูตรที่ ๕               
               แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย               
               ชื่อปรมัตถโชติกา               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ปารายนวรรค โธตกปัญหาที่ ๕ จบ.
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 428อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 429อ่านอรรถกถา 25 / 430อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=11116&Z=11153
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=9913
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=9913
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๑  พฤษภาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :