ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 426อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 427อ่านอรรถกถา 25 / 428อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ปารายนวรรค
ปุณณกปัญหาที่ ๓

               อรรถกถาปุณณกสูตร#- ที่ ๓               
____________________________
#- บาลีเป็น ปุณณกปัญหา

               ปุณณกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า อเนชํ ดังนี้ แม้พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงตรัสห้ามโมฆราชโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า มูลทสฺสาวึ คือ ผู้เห็นรากเหง้ามีอกุศลมูลเป็นต้น.
               บทว่า อิสโย ได้แก่ชฎิล มีชื่อว่าฤาษี.
               บบทว่า ยญฺญํ ได้แก่ ไทยธรรม. บทว่า อกปฺปยึสุ คือ แสวงหา.
               บทว่า อาสึสมานา คือ ปรารถนารูปเป็นต้น. บทว่า อิตฺถตฺตํ คือ ปรารถนาความเป็นมนุษย์เป็นต้น. บทว่า ชรํ สิตา คือ อาศัยชรา. ในบทนี้ ท่านกล่าวถึงทุกข์ในวัฏฏะทั้งหมดด้วยหัวข้อคือชรา. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า สัตว์ทั้งหลายอาศัยทุกข์ในวัฏฏะ เมื่อไม่พ้นไปจากทุกข์นั้นจึงปรารถนาอย่างนี้.
               ยัญนั่นแล ชื่อว่า ยัญญปถะ ในบทนี้ว่า กจฺจิสฺสุ เต ภควา ยญฺญปเถ อปฺปมตฺตา อตารุ ชาติญฺจ ชรญฺจ มาริส ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นิรทุกข์ สัตว์ทั้งหลายเป็นคนไม่ประมาทในยัญ ข้ามพ้นชาติและชราได้บ้างหรือ. ท่านอธิบายไว้ว่า สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้ไม่ประมาทในยัญ ปรารภยัญ ข้ามพ้นทุกข์ในวัฏฏะได้บ้างหรือ.
               บทว่า อาสึสนฺติ คือ สัตว์ทั้งหลายปรารถนาการได้รูปเป็นต้น. บทว่า โถมยนฺติ คือ สรรเสริญยัญเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า สุจึ ทินฺนํ เราให้ของที่สะอาดแล้ว. บทว่า อภิชปฺปนฺติ ย่อมปรารถนา คือย่อมเปล่งวาจาเพื่อได้รูปเป็นต้น. บทว่า ชุหนฺติ ย่อมบูชา คือย่อมให้.
               บทว่า กามาภิชปฺปนฺติ ปฏิจฺจ ลาภํ ย่อมรำพันถึงกามก็เพราะอาศัยลาภ คือสัตว์ทั้งหลายย่อมรำพันถึงกามบ่อยๆ เพราะอาศัยการได้ลาภมีรูปเป็นต้น คือย่อมกล่าวว่า ทำอย่างไรดีหนอ กามทั้งหลายจะพึงมีแก่เราบ้าง. ท่านอธิบายว่า กามทั้งหลายอาศัยตัณหาย่อมเจริญ.
               บทว่า ยาจโยคา ผู้ประกอบการบูชา คือน้อมไปในการบูชา.
               บทว่า ภวราครตฺตา กำหนัดยินดีในภพ.
               ความว่า สัตว์ทั้งหลายกำหนัดด้วยความยินดีในภพ ด้วยความปรารถนาเป็นต้นเหล่านี้อย่างนี้ หรือเป็นผู้กำหนัดด้วยความยินดีในภพ กระทำความปรารถนาเป็นต้นเหล่านี้ ชื่อว่าไม่ข้ามพ้น คือไม่ข้ามพ้นทุกข์ในวัฏฏะมีชาติเป็นต้นไปได้.
               บทว่า สงฺขาย คือ พิจารณาแล้วด้วยญาณ.
               บทว่า ปโรวรานิ ยิ่งและหย่อน. อธิบายว่า ยิ่งและหย่อน มีความเป็นตนของผู้อื่นและความเป็นตนของตนเองเป็นต้น.
               บทว่า วิธูโม ปราศจากควัน คือเว้นควันมีกายทุจริตเป็นต้น. บทว่า อนิโฆ ไม่มีกิเลสอันกระทบจิต คือเว้นจากกิเลสอันกระทบจิต คือราคะเป็นต้น. บทว่า อตาริ โส ผู้นั้นข้ามไปได้ คือผู้เห็นปานนั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้ามชาติและชราไปได้.
               บทที่เหลือในบทนี้ชัดดีแล้ว.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบสูตรนี้ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตด้วยประการฉะนี้.
               เมื่อจบเทศนา แม้พราหมณ์นี้ก็ได้ตั้งอยู่ในพระอรหัต พร้อมด้วยอันเตวาสิก ๑,๐๐๐. ชนอื่นอีกหลายพัน ก็เกิดดวงตาเห็นธรรม.
               บทที่เหลือเช่นกับที่กล่าวแล้วนั้นแล.

               จบอรรถกถาปุณณกสูตรที่ ๓               
               แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย               
               ชื่อปรมัตถโชติกา               
               --------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ปารายนวรรค ปุณณกปัญหาที่ ๓ จบ.
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 426อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 427อ่านอรรถกถา 25 / 428อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=11022&Z=11059
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=9827
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=9827
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๑  พฤษภาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :