ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 425อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 426อ่านอรรถกถา 25 / 427อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ปารายนวรรค
ติสสเมตเตยยปัญหาที่ ๒

               อรรถกถาติสสเมตเตยยสูตร#-ที่ ๒               
____________________________
#- บาลีเป็น ติสสเมตเตยปัญหา.

               ติสสเมตเตยยสูตร มีคำเริ่มต้นว่า โกธ สนฺตุสฺสิโต ใครชื่อว่า ผู้ยินดีในโลกนี้ ดังนี้.
               ติสสเมตเตยยสูตร มีการเกิดขึ้นอย่างไร?
               มีการเกิดขึ้นด้วยอำนาจของการถามของสูตรทั้งหมด. ก็พราหมณ์เหล่านั้นทูลถามความสงสัยของตนๆ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปวารณาไว้แล้วว่า ให้พวกเราถามได้ตามโอกาส ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าอันติสสเมตเตยยมาณพทูลถามแล้ว ทรงพยากรณ์แก่อันเตวาสิกเหล่านั้น. พึงทราบว่า สูตรเหล่านี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งการถามด้วยประการฉะนี้แล.
               เมื่อจบปัญหาของอชิตะแล้ว โมฆราชเริ่มจะทูลถามปัญหาอย่างนี้ว่า มัจจุราชย่อมไม่เห็นผู้เพ่งดูโลกอย่างไร.๑- พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า อินทรีย์ของโมฆราชนั้นยังไม่แก่กล้า จึงทรงห้ามว่า ดูก่อนโมฆราช ท่านจงหยุดก่อน คนอื่นจงถามเถิด.
____________________________
๑- ขุ. ส. เล่ม ๒๕/ข้อ ๔๓๙   ขุ. จูฬ. เล่ม ๓๐/ข้อ ๔๙๙

               ลำดับนั้น ติสสเมตเตยยะเมื่อจะทูลถามความสงสัยของตน จึงกล่าวคาถาว่า โกธ ดังนี้เป็นต้น.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า โกธ สนฺตุสฺสิโต คือ ใครชื่อว่าเป็นผู้ยินดีในโลกนี้. บทว่า อิญฺชิตา ความหวั่นไหว คือความดิ้นรนด้วยตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า อุภนฺตมภิญฺญาย คือ รู้ส่วนสุดทั้งสอง. บทว่า มนฺตา น ลิมฺปติ คือ ไม่ติดอยู่ ด้วยปัญญา.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงพยากรณ์ความนั้นแก่ติสสเมตเตยยะจึงตรัสสองคาถาว่า กาเมสุ ในกามทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น.
               ในบทเหล่านั้นบทว่า กาเมสุ พฺรหฺมจริยวา ภิกษุเห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วประพฤติพรหมจรรย์. อธิบายว่า ประพฤติพรหมจรรย์มีกามเป็นนิมิต เห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วประกอบด้วยมรรคพรหมจรรย์. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงความยินดี.
               ด้วยบทมีอาทิว่า วีตตณฺโห มีตัณหาไปปราศแล้ว ทรงแสดงถึงความไม่หวั่นไหว.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขาย นิพฺพุโต พิจารณาเห็นธรรมแล้วดับกิเลส คือพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วดับกิเลสด้วยการดับราคะเป็นต้น.
               บทที่เหลือชัดดีแล้ว เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในบทนั้นๆ .
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสูตรนี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแล.
               เมื่อจบเทศนา พราหมณ์แม้นี้ก็ตั้งอยู่ในพระอรหัต พร้อมด้วยอันเตวาสิก ๑,๐๐๐ ชนอื่นอีกหลายพันได้เกิดดวงตาเห็นธรรม.
               บทที่เหลือเช่นเดียวกับบทก่อนนั่นแล.

               จบอรรถกถาติสสเมตเตยยสูตรที่ ๒               
               แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย               
               ชื่อปรมัตถโชติกา               
               --------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ปารายนวรรค ติสสเมตเตยยปัญหาที่ ๒ จบ.
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 425อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 426อ่านอรรถกถา 25 / 427อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=11006&Z=11021
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=29&A=9801
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=29&A=9801
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๑  พฤษภาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :