ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙]อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 35อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 36อ่านอรรถกถา 25 / 38อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖

หน้าต่างที่ ๓๔ / ๓๙.

               ๓๔. เรื่องภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ ๑ [๒๙๗]               
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "หิตฺวา มานุสกํ" เป็นต้น.

               นักฟ้อนออกบวชได้บรรลุพระอรหัต               
               ได้ยินว่า นักฟ้อนนั้นเที่ยวเล่นกีฬาคือการฟ้อนชนิดหนึ่ง ฟังธรรมกถาของพระศาสดา บวชแล้วบรรลุพระอรหัต. เมื่อภิกษุนั้นกำลังเข้าไปบิณฑบาตกับภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
               ภิกษุทั้งหลายเห็นบุตรของนักฟ้อนคนหนึ่งกำลังเล่นอยู่ จึงถามว่า "ผู้มีอายุ บุตรของนักฟ้อนนั่น เล่นกีฬาที่ท่านเล่นแล้วๆ, ท่านยังมีความเยื่อใยในกีฬาชนิดนี้อยู่หรือหนอแล?"
               เมื่อภิกษุนั้นตอบว่า "ไม่มี" จึงพูดกันว่า "ท่านผู้เจริญ ภิกษุนี้กล่าวไม่จริง พยากรณ์พระอรหัตผล."
               พระศาสดาทรงสดับคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราก้าวล่วงกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวงได้แล้ว"
               ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๓๔.  หิตฺวา มานุสกํ โยคํ    ทิพฺพํ โยคํ อุปจฺจคา
                         สพฺพโยควิสํยุตฺตํ    ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
                                   ผู้ใด ละกิเลสเครื่องประกอบ อันเป็นของมนุษย์
                         ล่วงกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นของทิพย์ได้แล้ว, เรา
                         เรียกผู้นั้น ซึ่งพรากกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวงได้แล้ว
                         ว่า เป็นพราหมณ์.

               แก้อรรถ               
               บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า มานุสกํ โยคํ ได้แก่ อายุและกามคุณทั้ง ๕ อันเป็นของมนุษย์. แม้ในกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า อุปจฺจคา เป็นต้น ความว่า ผู้ใดละกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นของมนุษย์ ก้าวล่วงกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ได้แล้ว, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งพรากกิเลสเครื่องประกอบทั้งหมดแม้ ๔ อย่างได้แล้วว่า เป็นพราหมณ์.
               ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

               เรื่องภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ ๑ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙]
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 35อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 36อ่านอรรถกถา 25 / 38อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1301&Z=1424
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=25&A=2016
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=25&A=2016
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :