ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙]อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 35อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 36อ่านอรรถกถา 25 / 38อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖

หน้าต่างที่ ๒๕ / ๓๙.

               ๒๕. เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ [๒๘๘]               
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระปิลินทวัจฉเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อกกฺกสํ" เป็นต้น.

               พระปิลินทวัจฉะใช้วาทะว่าคนถ่อยจนติดปาก               
               ได้ยินว่า ท่านปิลินทวัจฉะนั้นกล่าวคำเป็นต้นว่า "คนถ่อยจงมา, คนถ่อยจงไป" ย่อมร้องเรียกทั้งคฤหัสถ์ทั้งบรรพชิต ด้วยวาทะว่าคนถ่อยทั้งนั้น.
               ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุเป็นอันมากกราบทูลแด่พระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า ท่านปิลินทวัจฉะย่อมร้องเรียกภิกษุทั้งหลาย ด้วยวาทะว่าคนถ่อย."
               พระศาสดารับสั่งให้หาท่านมาแล้ว ตรัสถามว่า "ปิลินทวัจฉะ ได้ยินว่า เธอร้องเรียกภิกษุทั้งหลาย ด้วยวาทะว่าคนถ่อยจริงหรือ?" เมื่อท่านกราบทูลว่า "อย่างนั้น พระเจ้าข้า"
               จึงทรงกระทำบุพเพนิวาสของท่านปิลินทวัจฉะนั้นไว้ในพระหฤทัย แล้วตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ายกโทษแก่ภิกษุชื่อปิลินทวัจฉะเลย, ภิกษุทั้งหลาย วัจฉะหามีโทสะในภายใน ร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่า คนถ่อยไม่, ภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ ชาติของภิกษุชื่อวัจฉะไม่สับสนกันทั้งหมดนั้นเกิดแล้วในตระกูลพราหมณ์ ในภายหลัง, วาทะคนถ่อยนั้น เธอร้องเรียกมาแล้วตลอดกาลนาน, ถ้อยคำกระทบกระทั่งชนเหล่าอื่น อันเป็นคำระคายหู คำหยาบคายนั่นเทียว ชื่อว่าย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ, เพราะว่าบุตรของเรากล่าวอย่างนั้น ด้วยอำนาจแห่งความเคยชิน"
               เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๒๕.  อกกฺกสํ วิญฺญาปนึ    คิรํ สจฺจํ อุทีรเย
                         ยาย นาภิสเช กญฺจิ    ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
                                   ผู้ใด พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่ระคายหู อันให้รู้
                         กันได้ เป็นคำจริง อันเป็นเหตุไม่ยังใครๆ ให้ขัดใจ,
                         เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.

               แก้อรรถ               
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกกฺกสํ ได้แก่ คำไม่หยาบ.
               บทว่า วิญฺญาปนึ ได้แก่ ให้รู้เนื้อความกันได้.
               บทว่า สจฺจํ ได้แก่ เป็นเนื้อความอันจริง.
               บทว่า นาภิสเช เป็นต้น ความว่า บุคคลไม่พึงยังบุคคลอื่นให้ข้องใจด้วยอำนาจแห่งการให้เขาโกรธ ด้วยถ้อยคำอันใด, ธรรมดาพระขีณาสพพึงกล่าวถ้อยคำเห็นปานนั้นนั่นแล เหตุนั้น เราจึงเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.
               ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

               เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙]
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 35อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 36อ่านอรรถกถา 25 / 38อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1301&Z=1424
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=25&A=2016
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=25&A=2016
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :