ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙]อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 35อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 36อ่านอรรถกถา 25 / 38อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖

หน้าต่างที่ ๒๐ / ๓๙.

               ๒๐. เรื่องพระเขมาภิกษุณี [๒๘๓]               
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภพระเขมาภิกษุณี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "คมฺภีรปญฺญํ" เป็นต้น.

               พระเขมาภิกษุณีพบท้าวสักกะ               
               ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง ท้าวสักกเทวราชเสด็จมากับเทวบริษัท ในระหว่างแห่งปฐมยาม ประทับนั่งสดับธรรมกถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงอยู่ ในสำนักพระศาสดา.
               ในขณะนั้น พระเขมาภิกษุณีมาด้วยดำริว่า "จักเฝ้าพระศาสดา" เห็นท้าวสักกะแล้ว ยืนอยู่ในอากาศนั่นเอง ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ก็กลับไป.
               ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นพระเขมานั้นแล้ว ทูลถามว่า "พระเจ้าข้า ภิกษุณีนั่นชื่ออะไร? มายืนอยู่ในอากาศนั้นเอง ถวายบังคมแล้ว กลับไป."

               ลักษณะแห่งพราหมณ์ในพระพุทธศาสนา               
               พระศาสดาตรัสว่า "มหาบพิตร ภิกษุณีนั่น เป็นธิดาของตถาคต ชื่อเขมา เป็นผู้มีปัญญามาก ฉลาดในทางและมิใช่ทาง"
               ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๒๐.  คมฺภีรปญฺญํ เมธาวึ    มคฺคามคฺคสฺส โกวิทํ
                         อุตฺตมตฺถํ อนุปฺปตฺตํ    ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
                                   เราเรียกผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นปราชญ์ ฉลาดในทาง
                         และมิใช่ทาง บรรลุประโยชน์สูงสุด นั้นว่าเป็นพราหมณ์.

               แก้อรรถ               
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คมฺภีรปญฺญํ เป็นต้น ความว่า เราเรียกบุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเป็นไปในธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น อันลึกซึ้ง ผู้เป็นปราชญ์ ประกอบด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม ผู้ชื่อว่าฉลาดในทางและมิใช่ทาง เพราะความเป็นผู้ฉลาดในทางและมิใช่ทาง อย่างนี้ คือนี้เป็นทางแห่งทุคติ, นี้เป็นทางแห่งสุคติ, นี้เป็นทางแห่งพระนิพพาน, นี้มิใช่ทาง, ผู้บรรลุประโยชน์อันสูงสุด กล่าวคือพระอรหัตนั้นว่า เป็นพราหมณ์.
               ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

               เรื่องพระเขมาภิกษุณี จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙]
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 35อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 36อ่านอรรถกถา 25 / 38อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1301&Z=1424
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=25&A=2016
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=25&A=2016
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :