ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙]อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 35อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 36อ่านอรรถกถา 25 / 38อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖

หน้าต่างที่ ๑๒ / ๓๙.

               ๑๒. เรื่องนางกิสาโคตมี [๒๗๕]               
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภนางกิสาโคตมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปํสุกูลธรํ" เป็นต้น .

               นางโคตมีเห็นท้าวสักกะ               
               ได้ยินว่า ในกาลนั้นท้าวสักกะเข้าไปเฝ้าพระศาสดา พร้อมกับเทวบริษัท ในที่สุดแห่งปฐมยาม ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ทรงสดับธรรมกถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.
               ในขณะนั้น นางกิสาโคตมีคิดว่า "เราจักเฝ้าพระศาสดา" เหาะมาทางอากาศแล้ว เห็นท้าวสักกะ จึงกลับไปเสีย๑-
               ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็นนางผู้ถวายบังคมแล้ว กลับไปอยู่ ทูลถามพระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า ภิกษุณีนั่นชื่อไร? พอมาเห็นพระองค์แล้วก็กลับ."
____________________________
๑- การเที่ยวไปกลางคืนเสมอๆ ภิกษุณีมิได้ประพฤติ.

               นางกิสาโคตมีเลิศทางทรงผ้าบังสุกุล               
               พระศาสดาตรัสว่า "มหาบพิตร ภิกษุณีนั่น ชื่อกิสาโคตมี เป็นธิดาของตถาคต เป็นยอดแห่งพระเถรีผู้ทรงผ้าบังสุกุลทั้งหลาย" ดังนี้
               ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๑๒.  ปํสุกูลธรํ ชนฺตุํ    กิสนฺธมนิสนฺถตํ
                         เอกํ วนสฺมึ ฌายนฺตํ    ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
                                   เราเรียกชนผู้ทรงผ้าบังสุกุล ผู้ผอม สะพรั่ง
                         ด้วยเอ็น ผู้เพ่งอยู่ผู้เดียวในป่านั้นว่า เป็นพราหมณ์.

               แก้อรรถ               
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิสํ ความว่า ก็ชนทั้งหลายผู้ทรงผ้าบังสุกุล บำเพ็ญข้อปฏิบัติอันสมควรแก่ตน ย่อมเป็นผู้มีเนื้อและโลหิตน้อย และเป็นผู้มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสอย่างนั้น.
               สองบทว่า เอกํ วนสฺมึ ความว่า เราย่อมเรียกบุคคลผู้เพ่งอยู่ผู้เดียว ในที่สงัดนั้นว่า เป็นพราหมณ์.
               ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

               เรื่องนางกิสาโคตมี จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕] [๑๖] [๑๗] [๑๘] [๑๙] [๒๐] [๒๑] [๒๒] [๒๓] [๒๔] [๒๕] [๒๖] [๒๗] [๒๘] [๒๙] [๓๐] [๓๑] [๓๒] [๓๓] [๓๔] [๓๕] [๓๖] [๓๗] [๓๘] [๓๙]
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 35อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 36อ่านอรรถกถา 25 / 38อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1301&Z=1424
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=25&A=2016
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=25&A=2016
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :