ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐]อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 28อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 29อ่านอรรถกถา 25 / 30อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ธัมมัฏฐวรรคที่ ๑๙

หน้าต่างที่ ๖ / ๑๐.

               ๖. เรื่องภิกษุชื่อหัตถกะ [๑๙๙]               
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุชื่อหัตถกะ
               ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น มุณฺฑเกน สมโณ" เป็นต้น.

               พระหัตถกะพูดอวดดี               
               ได้ยินว่า ภิกษุนั้นพูดฟุ้งไป กล่าวว่า "ท่านทั้งหลายพึงไปสู่ที่ชื่อโน้น ในกาลโน้น, เราจักทำวาทะ" แล้วไปในที่นั้นก่อน กล่าวคำทั้งหลายเป็นต้นว่า "ดูเถิดท่านทั้งหลาย พวกเดียรถีย์ไม่มาเพราะกลัวผม, นี่แหละเป็นความแพ้ของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น" เที่ยวพูดฟุ้งไป กลบเกลื่อนคำอื่นด้วยคำอื่น.

               ลักษณะสมณะและผู้มิใช่สมณะ               
               พระศาสดาทรงสดับว่า "ได้ยินว่า ภิกษุชื่อหัตถกะทำอย่างนั้น" แล้วรับสั่งให้เรียกเธอมา ตรัสถามว่า "หัตถกะ ได้ยินว่าเธอทำอย่างนั้น จริงหรือ?" เมื่อเธอกราบทูลว่า "จริง"
               จึงตรัสว่า "เหตุไฉน เธอจึงทำอย่างนั้น? ด้วยว่าผู้ทำมุสาวาทเห็นปานนั้น จะชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะเหตุสักว่ามีศีรษะโล้นเป็นต้นเท่านั้น หามิได้,
               ส่วนผู้ใด ยังบาปน้อยหรือใหญ่ให้สงบแล้วตั้งอยู่ ผู้นี้แหละชื่อว่าสมณะ"
               ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
                         ๖. น มุณฺฑเกน สมโณ    อพฺพโต อลิกํ ภณํ
                         อิจฺฉาโลภสมาปนฺโน    สมโณ กึ ภวิสฺสติ.
                         โย จ สเมติ ปาปานิ    อณุํถูลานิ สพฺพโส
                         สมิตตฺตา หิ ปาปานํ    สมโณติ ปวุจฺจติ.
                                   ผู้ไม่มีวัตร พูดเหลาะแหละ ไม่ชื่อว่าสมณะ เพราะ
                         ศีรษะโล้น, ผู้ประกอบด้วยความอยากและความโลภ จะ
                         เป็นสมณะอย่างไรได้;
                                   ส่วนผู้ใดยังบาปน้อยหรือใหญ่ให้สงบโดยประการ
                         ทั้งปวง, ผู้นั้น เรากล่าวว่า "เป็นสมณะ" เพราะยังบาปให้
                         สงบแล้ว.

               แก้อรรถ               
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุณฺฑเกน ความว่า เพราะเหตุสักว่าศีรษะโล้น.
               บทว่า อพฺพโต คือ เว้นจากศีลวัตรและธุดงควัตร.
               สองบทว่า อลิกํ ภณํ ความว่า ผู้กล่าวมุสาวาท ประกอบด้วยความอยากในอารมณ์อันยังไม่ถึง และด้วยความโลภในอารมณ์อันถึงแล้ว จักชื่อว่าเป็นสมณะอย่างไรได้.
               บทว่า สเมติ ความว่า ส่วนผู้ใดยังบาปน้อยหรือใหญ่ให้สงบ, ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "เป็นสมณะ" เพราะยังบาปเหล่านั้นให้สงบแล้ว.
               ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

               เรื่องภิกษุชื่อหัตถกะ จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ธัมมัฏฐวรรคที่ ๑๙
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐]
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 28อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 29อ่านอรรถกถา 25 / 30อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=946&Z=985
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=24&A=828
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=24&A=828
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๐  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :