ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 284อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 285อ่านอรรถกถา 25 / 286อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ จตุกกนิบาต
ตัณหาสูตร

               อรรถกถาตัณหาสูตร               
               ในอรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               ในบทว่า ตณฺหุปฺปาทา นี้มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าอุปปาทะ เพราะหมายความว่าเป็นที่เกิดขึ้น.
               ถามว่า อะไรเกิดขึ้น?
               ตอบว่า ตัณหา. ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ชื่อว่าตัณหุปปาทะ. อธิบายว่า เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา คือเป็นเหตุแห่งตัณหา.
               บทว่า ยตฺถ ได้แก่ ในอารมณ์เหล่าใดที่เป็นนิมิต.
               บทว่า อุปฺปชฺชมานา ได้แก่ มีปกติเกิดขึ้น ในบทว่า จีวรเหตุ๑- นี้ มีอธิบายว่า ตัณหาย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุแห่งจีวรว่า เราจักได้จีวรที่น่าชอบใจ.
____________________________
๑- ที. ปา. เล่ม ๑๑/ข้อ ๒๓๗   องฺ. จตุกฺก. เล่ม ๒๑/ข้อ ๙

               แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
               อนึ่ง ศัพท์ว่า อิติ ในบทว่า อิติ ภวาภวเหตุ นี้ เป็นนิบาตใช้ในความหมายว่านิทัสสนะ เหมือนอย่างที่มีความหมายว่า แม้เพราะเหตุแห่งจีวรเป็นต้น.
               อนึ่ง ในบทว่า ภวาภว นี้ ท่านประสงค์เอาเนยใสและเนยข้นเป็นต้นที่ประณีตๆ เพราะหมายความว่า เป็นเหตุให้มีความไม่มีโรค. บรรดาสมบัติและภพทั้งหลาย สมบัติและภพที่ประณีตและประณีตกว่า ท่านเรียกว่าภวาภวะดังนี้บ้าง.
               อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภโว ได้แก่ สมบัติ. บทว่า อภโว ได้แก่ วิบัติ.
               บทว่า ภโว ได้แก่ วุฑฒิ (ความเจริญ).
               บทว่า อภโว ได้แก่ หานิ (ความเสื่อม) และตัณหาก็มีภวาภวะนั้นเป็นนิมิตจึงเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภวาภวเหตุ วา ดังนี้.
               คาถาทั้งหลายมีความหมายดังกล่าวแล้วในตอนต้นนั่นแล.
               อนึ่ง บทว่า ตณฺหาทุติโย ได้แก่ มีตัณหาเป็นสหาย.
               อธิบายว่า สัตว์นี้ เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏซึ่งมีที่สุดเบื้องต้นอันใครๆ ตามรู้ไม่ได้ ก็มิได้ท่องเที่ยวไปคนเดียว แต่ว่าได้ตัณหาเป็นที่สอง คือเป็นเพื่อนท่องเที่ยวไป.
               จริงอย่างนั้น ตัณหานั้นไม่ให้สัตว์ได้คิดถึงการตกไปในเหวนั้น ให้เห็นแต่เฉพาะอานิสงส์ในภพทั้งหลาย แม้อากูลด้วยโทษเป็นอเนก เหมือนพรานตีผึ้งฉะนั้น จึงให้สัตว์หมุนอยู่ในข่ายที่ไร้ประโยชน์.
               บทว่า เอตมาทีนวํ ญตฺวา ความว่า รู้โทษนั้น คือที่หมายรู้ว่าเป็นอย่างนี้ และเป็นอย่างอื่นในขันธ์ทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน.
               บทว่า ตณฺหา ทุกฺขสฺส สมฺภวํ ความว่า รู้ว่าตัณหาเป็นบ่อเกิด คือเป็นแดนเกิด ได้แก่เป็นเหตุแห่งภัยและวัฏทุกข์.
               ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการที่ภิกษุรูปหนึ่งเจริญวิปัสสนาแล้ว บรรลุอรหัตผลด้วยคำเพียงเท่านี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงชมเชยภิกษุผู้ขีณาสพนั้น จึงตรัสคำว่า วีตตณฺโห เป็นต้น.
               ส่วนคำใดที่มิได้กล่าวไว้ในที่นี้ คำนั้นมีนัยดังกล่าวแล้วในตอนต้นนั่นแล.

               จบอรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ จตุกกนิบาต ตัณหาสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 284อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 285อ่านอรรถกถา 25 / 286อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=6630&Z=6642
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=8375
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=8375
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๑  มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :