ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 243อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 244อ่านอรรถกถา 25 / 245อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต
ทุติยวรรค สุจิสูตร

               อรรถกถาสุจิสูตร               
               ในสุจิสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า โสเจยฺยานิ ได้แก่ ความสะอาด.
               บทว่า กายโสเจยฺยํ ได้แก่ กายสุจริต. แม้วจีโสเจยยะและมโนโสเจยยะ ก็ได้แก่วจีสุจริตและมโนสุจริตนั่นเอง.
               สมจริงดังคำที่ตรัสไว้มีอาทิว่า
               บรรดาโสเจยยะ ๓ อย่างนั้น กายโสเจยยะคืออะไร? คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต.๑-
____________________________
๑- องฺ. ติก. เล่ม ๒๐/ข้อ ๕๖๐

               พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาดังต่อไปนี้
               ชื่อว่าความสะอาดทางกาย เพราะละกายทุจริตทุกอย่างได้แล้ว ด้วยสามารถแห่งการตัดขาด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ากายสุจิ.
               บทว่า โสเจยฺยสมฺปนฺนํ ความว่า เข้าถึงแล้วด้วยโสเจยยสมบัติที่บริสุทธิดีแล้ว เพราะระงับกิเลสได้แล้ว.
               คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้น.

               จบอรรถกถาสุจิสูตรที่ ๗               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ทุติยวรรค สุจิสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 243อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 244อ่านอรรถกถา 25 / 245อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=5674&Z=5688
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=5378
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=5378
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๓๑  มีนาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :