ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 202อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 203อ่านอรรถกถา 25 / 204อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เอกนิบาต
ตติยวรรค สัมปชานมุสาวาทสูตร

               อรรถกถาสัมปชานมุสาวาทสูตร               
               ในสัมปชานมุสาวาทสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               อะไรเป็นเหตุให้เกิด บทว่า เอกธมฺมํ อตีตสฺส เรื่องมีอยู่ว่า
               ลาภสักการะเป็นอันมากเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ เสื่อมจากพวกเดียรถีย์. พวกเดียรถีย์เมื่อเสื่อมจากลาภสักการะก็อับเฉา หมดฤทธิ์เดช เกิดริษยา จึงพากันไปชักชวนปริพาชิกาชื่อจิญจมาณวิกาว่า นี่แน่น้องสาว เธอจงกล่าวตู่พระสมณโคดม ด้วยคำไม่จริงทีเถิด.
               นางจิญจมานวิกาก็เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งกำลังทรงแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท ได้กล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง. ท้าวสักกะได้ประกาศความไม่จริงของนางในท่ามกลางบริษัท. มหาชนพากันแช่งด่าว่า อีหญิงกาลกิณี แล้วฉุดกระชากออกจากวิหาร แผ่นดินได้แยกออกเป็นช่อง นางจิญจมาณวิกาเป็นดุจฟืนติดเปลวไฟนรกไปบังเกิดในอเวจีมหานรก. พวกเดียรถีย์ยิ่งเสื่อมจากลาภสักการะมากขึ้น.
               ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย นางจิญจมาณวิกาด่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นทักษิไณยบุคคลผู้เลิศ ทรงคุณยิ่งด้วยคำไม่จริง ได้ถึงความพินาศยิ่งใหญ่ ดังนี้.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเหตุนั้น จึงตรัสมหาปทุมชาดกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางจิญจมาณวิกาได้ด่าเราด้วยคำไม่จริง แล้วถึงความพินาศยิ่งใหญ่ มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็เหมือนกัน. เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไป จึงตรัสพระสูตรนี้ด้วยบทว่า เอกธมฺมมตีตสฺส ดังนี้. เพื่อให้เรื่องนี้เกิดขึ้น.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกธมฺมํ ได้แก่ ธรรม คือวจีสัจอย่างหนึ่ง.
               บทว่า อตีตสฺส ความว่า เมื่อบุคคลล่วงเลยมารยาทอันพระอริยะทั้งหลายเว้นโวหารอันมิใช่อริยะ ๘ ประการแล้ว เพื่อดำรงมั่นอยู่ในโวหารอันเป็นอริยะ ๘ ประการ จึงยึดมั่นอยู่ด้วยบทว่า สจฺจํ ภเณ น อลิกํ ควรพูดความจริง ไม่ควรพูดเหลาะแหละดังนี้ เป็นต้น บุคคลคือบุรุษ ชื่อว่าบุรุษ บุคคลอันบุรุษบุคคลนั้น.
               บทว่า อกรณียํ ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะทำ.
               จริงอยู่ บุคคลพูดเท็จทั้งๆ รู้ กระทำบาปกรรมไรๆ ไว้ เมื่อเขาพูดว่า ท่านทำกรรมนี้ ยังจักยืนยันด้วยคำเท็จว่า เราไม่ได้ทำดังนี้. ก็เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ยังทำบาปกรรมเรื่อยๆ ไป ย่อมไม่ละอายในบาปกรรมนั้น เพราะล่วงเลยคำสัจอันเป็นมารยาทที่ดี. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กตมํ เอกธมฺมํ ยทิทํ ภิกฺขเว สมฺปชานมุสาวาโท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือสัมปชานมุสาวาท ดังนี้
               พึงทราบอธิบายความในคาถาดังต่อไปนี้.
               บทว่า มุสาวาทิสฺส ได้แก่ มักพูดเท็จ ไม่จริง ไม่แท้ เพื่อให้คนอื่นรู้. คำพูด ๑๐ คำไม่มีคำพูดจริงแม้แต่คำเดียว.
               บทว่า ชนฺตุโน ได้แก่ สัตว์. จริงอยู่ สัตว์ท่านเรียกว่า ชนฺตุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้เกิด.
               บทว่า วิติณฺณปรโลกสฺส ได้แก่ สละโลกหน้าเสีย เพราะบุคคลเช่นนี้ย่อมไม่เห็นสมบัติแม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ มนุษย์สมบัติ เทวโลกสมบัติ นิพพานสมบัติในที่สุด.
               บทว่า นตฺถิ ปาปํ ได้แก่ บาป ชื่อนี้ที่คนเช่นนั้นจะไม่พึงทำ ไม่มี.

               จบอรรถกถาสัมปชานมุสาวาทสูตรที่ ๕               
               ---------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เอกนิบาต ตติยวรรค สัมปชานมุสาวาทสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 202อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 203อ่านอรรถกถา 25 / 204อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=4831&Z=4842
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=2154
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=2154
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :