ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 

อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕]อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 14อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 15อ่านอรรถกถา 25 / 16อ่านอรรถกถา 25 / 440
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พาลวรรคที่ ๕

หน้าต่างที่ ๖ / ๑๕.

               ๖. เรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา [๕๐]               
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มุหุตฺตมปิ เจ วิญฺญู" เป็นต้น.

               ภิกษุสมาทานธุดงค์               
               ความพิสดารว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมคราวแรกในชัฏแห่งป่าไร่ฝ้ายแก่สหาย ๓๐ นั้น ผู้แสวงหาหญิงอยู่. ในกาลนั้น สหายทั้งหมดเทียวถึงความเป็นเอหิภิกขุ เป็นผู้ทรงบาตรและจีวร อันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์ สมาทานธุดงค์ ๑๓ ประพฤติอยู่ โดยล่วงไปแห่งกาลนาน เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแม้อีก ฟังอนมตัคคธรรมเทศนา๑- บรรลุพระอรหัตแล้ว ณ อาสนะนั้นนั่นเอง.
____________________________
๑- สํ. นิทาน. เล่ม ๑๖/ข้อ ๔๒๑.

               ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในธรรมสภาว่า "น่าอัศจรรย์หนอ! ภิกษุเหล่านี้ รู้แจ้งธรรมพลันทีเดียว." พระศาสดาทรงสดับกถานั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น, แม้ในกาลก่อน ภิกษุเหล่านี้เป็นนักเลง เป็นสหายกันประมาณ ๓๐ คน ฟังธรรมเทศนาของสุกร ชื่อมหาตุณฑิละ ในตุณฑิลชาดก๒- รู้แจ้งธรรมได้ฉับพลันทีเดียว สมาทานศีล ๕ แล้ว, เพราะอุปนิสัยนั้นนั่นเอง เขาเหล่านั้น จึงบรรลุพระอรหัต ณ อาสนะที่ตนนั่งแล้วทีเดียวในกาลบัดนี้" ดังนี้แล้ว
               เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๖. มุหุตฺตมปิ เจ วิญฺญู    ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ
                         ขิปฺปํ ธมฺมํ วิชานาติ    ชิวฺหา สูปรสํ ยถา.
                         ถ้าวิญญูชน เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิต แม้ครู่เดียว,
                         เขาย่อมรู้แจ้งธรรมได้ฉับพลัน, เหมือนลิ้นรู้รสแกงฉะนั้น.
____________________________
๒- ขุ. ชา.ฉักก.เล่ม ๒๗/๙๑๗; อรรถกถา ขุ. ชา.ฉักก.เล่ม ๒๗/๙๑๗.

               แก้อรรถ               
               พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า :-
               "ถ้าวิญญูชน คือว่าบุรุษผู้บัณฑิต เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตอื่น แม้ครู่เดียว, เขาเรียนอยู่ สอบสวนอยู่ ในสำนักบัณฑิตอื่นนั้น ชื่อว่าย่อมรู้แจ้งปริยัติธรรมโดยพลันทีเดียว, แต่นั้น เขาให้บัณฑิตบอกกัมมัฏฐานแล้ว เพียรพยายามอยู่ในข้อปฏิบัติ, เป็นบัณฑิต ย่อมรู้แจ้งแม้โลกุตรธรรมพลันทีเดียว, เหมือนบุรุษผู้มีชิวหาประสาทอันโรคไม่กำจัดแล้ว พอวางอาหารลงที่ปลายลิ้นเพื่อจะรู้รส ย่อมรู้รส อันต่างด้วยรสเค็มเป็นต้นฉะนั้น."
               ในกาลจบเทศนา ภิกษุเป็นอันมากบรรลุพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.

               เรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา จบ.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พาลวรรคที่ ๕
อ่านอรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓] [๔] [๕] [๖] [๗] [๘] [๙] [๑๐] [๑๑] [๑๒] [๑๓] [๑๔] [๑๕]
อ่านอรรถกถา 25 / 1อ่านอรรถกถา 25 / 14อรรถกถา เล่มที่ 25 ข้อ 15อ่านอรรถกถา 25 / 16อ่านอรรถกถา 25 / 440
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=434&Z=478
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=20&A=2059
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=20&A=2059
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๙  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๔๘
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :