ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 24 / 1อ่านอรรถกถา 24 / 94อรรถกถา เล่มที่ 24 ข้อ 95อ่านอรรถกถา 24 / 96อ่านอรรถกถา 24 / 229
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ อุบาสกวรรคที่ ๕
๕. อุตติยสูตร

               อรรถกถาอุตติยสูตรที่ ๕               
               อุตติยสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า ตุณฺหี อโหสิ ความว่า อุตติยปริพาชกตั้งอยู่ในสัตตูปลัทธิ ลัทธิว่ามีสัตว์ จึงถามในข้อที่ไม่ควรถาม เหุตนั้นจึงนิ่งเสีย.
               บทว่า สพฺพํ สามุกฺกํสิกํ วต เม ความว่า พระสมณโคดมถูกเราถามคำถามสูงสุดแห่งบรรดาคำถามทุกอย่าง ก็นิ่งไม่ตอบ คงจะไม่อาจไม่สามารถจะตอบแน่แท้ ท่านอย่าได้มีความเห็นชั่วๆ อย่างที่ว่ามานี้เลย.
               บทว่า ตทสฺส ได้แก่ ทิฏฐินั้นพึงเกิดขึ้นอย่างนี้.
               บทว่า ปจฺจนฺติมํ ความว่า เพราะเหตุที่หอรบและกำแพงเป็นต้นของนครในมัชฌิมประเทศจะมั่นคงหรืออ่อนแอ ก็หรือว่าจะไม่เป็นที่อันโจรรังเกียจโดยประการทั้งปวง ฉะนั้น ไม่ทรงถือเอาข้อนั้น จึงตรัสว่า ปจฺจนติมํ นครํ.
               บทว่า ทฬฺหทฺทาลํ แปลว่า มีกำแพงแข็งแรง.
               บทว่า พฬฺหปาการโตรณํ ได้แก่ มีกำแพงแข็งแรงและมีบานประตูแข็งแรง.
               เพราะเหตุไร จึงตรัสว่ามีประตูเดียว.
               เพราะว่าในนครที่มีประตูมาก จำจะต้องมีคนรักษาประตูที่ฉลาดมากคน ประตูเดียวคนเดียวก็พอ. ก็คนอื่นผู้เสมอด้วยปัญญาของพระตถาคตไม่มี เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่ามีประตูเดียว เพื่อจะแสดงความเปรียบเทียบข้อที่พระศาสดาทรงเป็นบัณฑิต และทรงเป็นดุจผู้เฝ้าประตูฉะนั้น.
               บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต.
               บทว่า พยตฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้สามารถ.
               บทว่า เมธาวี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยเมธา กล่าวคือปัญญารู้ความอาบัติแห่งฐานะ.
               บทว่า อนุปริยายปถํ ได้แก่ ทางกำแพงที่มีชื่อว่า เฉลียง.
               บทว่า กาการสนฺธึ ได้แก่ ที่ที่ไม่มีอิฐ ๒ แผ่น.
               บทว่า ปาการวิวรํ ได้แก่ ที่ช่องของกำแพง.
               บทว่า ตเทเวตํ ปญฺหํ ความว่า อุตติยปริพาชกถามซ้ำปัญหาที่ถามไว้โดยนัยว่า โลกเที่ยงเป็นต้นแล้วหยุดเสียอันนั้นแหละ ด้วยบทว่า สพฺโพ จ เตน โลโก พระเถระแสดงว่า อุตติยปริพาชกตั้งอยู่ในสัตตูปลัทธิ จึงถามโดยอาการอย่างอื่น.

               จบอรรถกถาอุตติยสูตรที่ ๕               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ อุบาสกวรรคที่ ๕ ๕. อุตติยสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 24 / 1อ่านอรรถกถา 24 / 94อรรถกถา เล่มที่ 24 ข้อ 95อ่านอรรถกถา 24 / 96อ่านอรรถกถา 24 / 229
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=4423&Z=4478
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8287
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8287
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :