ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 24 / 1อ่านอรรถกถา 24 / 43อรรถกถา เล่มที่ 24 ข้อ 44อ่านอรรถกถา 24 / 45อ่านอรรถกถา 24 / 229
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อักโกสวรรคที่ ๕
๔. กุสินาราสูตร

               อักโกสวรรคที่ ๕               
               อรรถกถากุสินาราสูตรที่ ๔               
               วรรคที่ ๕ กุสินาราสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า กุสินารายํ ได้แก่ นครมีชื่ออย่างนี้ ชนทั้งหลายย่อมนำพลีไปเซ่น เพื่อประโยชน์แก่เทวดาทั้งหลายในที่นี้ เหตุนั้น ที่นั้นจึงชื่อว่าพลิหรณะ เป็นที่นำพลีไปเซ่น. ในที่นำพลีไปเช่นนั้น.
               ในบทว่า อจฺฉิทเทน อปฺปฏิมํเสน เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้.
               ความประมาทหรืออเนสนากรรมมีเวชกรรมเป็นต้น ที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งกระทำแล้ว กายสมาจารของภิกษุนั้น ย่อมเป็นดุจใบตาลที่ตัวปลวกเป็นต้นกัดแล้ว และชื่อว่าบกพร่อง เพราะอาจจะจับต้อง คือจับที่ใดที่หนึ่งคร่ามาได้. กายสมาจารตรงกันข้าม ชื่อว่าไม่มีช่องไม่บกพร่อง.
               ส่วนวจีสมาจาร ชื่อว่าเป็นช่องบกพร่อง เพราะพูดเท็จพูดทิ่มแทงพูดส่อเสียด โจทด้วยอาบัติที่ไม่มีมูลเป็นต้น. วจีสมาจารตรงกันข้าม ชื่อว่าไม่มีช่องไม่บกพร่อง.
               บทว่า เมตฺตํ นุ โข เม จิตฺตํ ได้แก่ เมตตาจิตที่ภิกษุตัดกังวลได้มาด้วยการประกอบเนืองๆ ซึ่งกรรมฐานภาวนา.
               บทว่า อนาฆาตํ ได้แก่ เว้นอาฆาต. อธิบายว่า กำจัดอาฆาตด้วยการข่มไว้.
               บทว่า กตฺถ วุตฺตํ ความว่า สิกขาบทนี้ ตรัสไว้ที่นครไหน.
               ในบทว่า กาเลน วกฺขามิ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้
               ภิกษุให้ภิกษุอื่นกระทำโอกาสๆ หนึ่งแล้วโจท ชื่อว่ากล่าวโดยกาล. โจทกลางสงฆ์ กลางคณะ ที่โรงสลาก โรงยาคู โรงภัต โรงตรึก หนทาง ภิกษาจารและศาลาฉัน ที่ศาลาเฝ้า [บำรุง] หรือในคณะพวกอุปัฏฐากปวารณา ชื่อว่ากล่าวโดยมิใช่กาล.
               กล่าวด้วยเรื่องที่แท้จริง ชื่อว่ากล่าวด้วยเรื่องจริง. กล่าวว่า พ่อมหาจำเริญ ตาแก่ พ่อทำลายบริษัท พ่อถือบังสุกุล พ่อนักเทศก์ นี้สมควรแก่พ่อหรือ ชื่อว่ากล่าวด้วยคำหยาบ. กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านผู้เฒ่า ท่านผู้อนุเคราะห์บริษัท ท่านผู้ทรงผ้าบังสุกุล ท่านธรรมกถึก นี้สมควรแก่ท่านหรือ ชื่อว่ากล่าวด้วยคำไพเราะ. กล่าวอาศัยเหตุ ชื่อว่ากล่าวด้วยคำอิงประโยชน์.
               บทว่า เมตฺตจิตฺโต วกฺขามิ โน โหสนฺตโร ความว่า เราจะตั้งเมตตาจิตกล่าว ไม่มีประทุฏจิตกล่าว.

               จบอรรถกถากุสินาราสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อักโกสวรรคที่ ๕ ๔. กุสินาราสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 24 / 1อ่านอรรถกถา 24 / 43อรรถกถา เล่มที่ 24 ข้อ 44อ่านอรรถกถา 24 / 45อ่านอรรถกถา 24 / 229
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=1903&Z=1955
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7781
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7781
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :