ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 58อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 59อ่านอรรถกถา 23 / 60อ่านอรรถกถา 23 / 281
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต อัพยากตวรรคที่ ๑
๙. ปุญญวิปากสูตร

               อรรถกถาปุญญวิปากสูตรที่ ๙               
               ปุญญวิปากสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               คำว่า มา ภิกฺขเว ปุญฺญานํ ภายิตฺถ ความว่า พวกเธอเมื่อจะทำบุญ อย่าได้กลัวต่อบุญเหล่านั้นเลย.
               ด้วยคำว่า เมตฺตจิตฺตํ ภาเวสี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราอบรมจิตทำให้ประณีตประกอบเมตตาอันประกอบด้วยฌานหมวด ๓ และหมวด ๔
               คำว่า สํวฏฺฏมาเน สุทาหํ ตัดบทเป็น สํวฏฺฏมาเน สุทํ อหํ.
               บทว่า สํวฏฺฏมาเน ความว่า เมื่อโลกอันไฟไหม้อยู่ คืออันไฟทำให้พินาศอยู่.
               บทว่า ธมฺมิโก ได้แก่ ประกอบด้วยกุศลธรรม ๑๐ ประการ.
               บทว่า ธมฺมราชา นี้เป็นไวพจน์ของบทว่า ธมฺมราชา นั้น.
               อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นธรรมราชา เพราะทรงได้ราชสมบัติโดยธรรม.
               บทว่า จาตุรนฺโต ได้แก่ มีความเป็นใหญ่ในแผ่นดินที่ชื่อว่าจาตุรันต์ ด้วยอำนาจมีมหาสมุทรทั้ง ๔ มีในทิศบูรพาเป็นต้น.
               บทว่า วิชิตาวี แปลว่า ผู้ชนะสงคราม.
               ชนบทในพระเจ้าจักรพรรดิ์นั้น ถึงความมั่นคงถาวร เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้ทรงมีชนบทถึงความมั่นคงถาวร.
               บทว่า ปโรสหสฺสํ แปลว่า มีพระโอรสมากเกิน ๑,๐๐๐ พระองค์.
               บทว่า สูรา ได้แก่ ผู้ไม่ขลาด
               ในบทว่า วีรงฺครูปา มีรูปวิเคราะห์ดังต่อไปนี้
               องค์ของผู้แกล้วกล้า ชื่อว่าวีรังคะ วีรังคะ องค์ผู้กล้าหาญเป็นรูปของโอรสเหล่านั้น เหตุนั้น โอรสเหล่านั้นชื่อว่าวิรังครูปา ผู้มีองค์แห่งผู้กล้าหาญเป็นรูป.
               ท่านอธิบายไว้ว่า โอรสเหล่านั้นไม่เกียจคร้าน เหมือนผู้มีความเพียรเป็นปกติ มีความเพียรเป็นสภาวะ และมีความเพียรมาก. ท่านอธิบายว่า แม้จะรบทั้งวันก็ไม่เหน็ดเหนื่อย.
               บทว่า สาครปริยนฺตํ ความว่า มีมหาสมุทรตั้งจดขุนเขาจักรวาฬเป็นขอบเขตล้อมรอบ.
               บทว่า อทณฺเฑน ได้แก่ เว้นจากอาชญา คือการปรับสินไหมด้วยทรัพย์บ้าง ลงอาชญาทางตัวบทกฏหมาย โดยสั่งจำคุก ตัดมือเท้าและประหารชีวิตบ้าง
               บทว่า อสตฺเถน ได้แก่ เว้นจากใช้ศัสตราเบียดเบียนผู้อื่นมีศัสตรามีคมข้างเดียวเป็นต้น.
               บทว่า ธมฺเมน อภิวิชัย ความว่า ทรงชนะตลอดแผ่นดินมีประการดังกล่าวแล้ว โดยธรรมอย่างเดียว โดยนัยมีอาทิว่า ไม่พึงฆ่าปาณะ สัตว์. ที่พระราชาผู้เป็นข้าศึก ต้อนรับเสด็จอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์โปรดเสด็จมาเถิด.
               บทว่า สุเขสินํ ความว่า ย่อมเรียกสัตว์ทั้งหลายผู้แสวงหาความสุข.
               บทว่า สุญฺญพฺรหฺมูปโค ความว่า ผู้เข้าถึงวิมารพรหมอันว่างเปล่า.
               บทว่า ปฐวี อิมํ ความว่า ซึ่งแผ่นดินใหญ่อันมีสาครล้อมรอบ.
               บทว่า อสาหเสน แปลว่า ด้วยกรรมที่มิได้ยั้งคิด.
               บทว่า สเมน มนุสาสิตํ ความว่า พร่ำสอนด้วยกรรมอันสม่ำเสมอ.
               บทว่า เตหิ เอตํ สุเทสิตํ ความว่า ฐานะนี้ คือมีประมาณเท่านี้อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายแสดงดีแล้ว ตรัสดีแล้ว.
               บทว่า ปฐโพฺย แปลว่า เจ้าแผ่นดิน.

               จบอรรถกถาปุญญวิปากสูตรที่ ๙               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต อัพยากตวรรคที่ ๑ ๙. ปุญญวิปากสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 58อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 59อ่านอรรถกถา 23 / 60อ่านอรรถกถา 23 / 281
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=1939&Z=1976
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4339
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4339
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :