ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 52อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 53อ่านอรรถกถา 23 / 54อ่านอรรถกถา 23 / 281
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต อัพยากตวรรคที่ ๑
๓. ติสสสูตร

               พระสูตรที่ ๓ ไม่มีเนื้อความอรรถกถา.

               ๓. ติสสพรหมสุตตวัณณนา [ฉบับมหาจุฬาฯ]               
               พรรณนาพระสูตรว่าด้วยติสสพรหม               
               [๕๖] ในพระสูตรที่ ๓ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
               คําว่า ภิกษุณี (ภิกฺขุนิโย) ความว่า ภิกษุณี ๕๐๐ รูป ผู้เป็นบริวารของพระนางมหาปชาบดีภิกษุณี
               คําว่า หลุดพ้นแล้ว (วิมุตฺตา) ได้แก่ หลุดพ้นแล้วด้วยวิมุตติ ๕ ประการ
               คําว่า เพราะไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ (อนุปาทิเสสา) ความว่า หลุดพ้นแล้วด้วย ๕ ประการ ไม่มีส่วนเหลือ เพราะไม่กำหนดเศษอุปาทานที่เหลือ
               คําว่า ในบุคคลผู้มีอุปาทานเหลืออยู่ว่า ยังมีอุปาทานเหลืออยู่ (สอุปาทิเสเส วา สอุปาทิเสโส) ได้แก่ ในบุคคลผู้เป็นไปกับอุปาทานขันธ์ที่เหลือว่า “ผู้นี้ยังเป็นไปกับอุปาทานขันธ์ที่เหลือ”
               แม้ในบุคคลนอกนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน
               คําว่า ติสส (ติสโส) ได้แก่ พรหมผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระเถระ
               คําว่า ที่สมควร (อนุโลมิกานิ) ได้แก่ ที่สมควรแก่ข้อปฏิบัติ คือเป็นที่สงัด มีขอบเขตที่สุด
               คําว่า อินทรีย์ (อินฺทฺริยานิ) ได้แก่ อินทรีย์ที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนามีศรัทธาเป็นต้น
               คําว่า อบรม (สมนฺนานยมาโน) ได้แก่ ตั้งไว้ในการประมวลมาพร้อม
               คําว่า ไม่ได้แสดงแก่เธอ (น หิ ปน เต) ความว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคจึงทรงปรารภเหตุนี้ คือเพื่อจะทรงแสดงบุคคลที่ ๗ เพราะพระองค์ยังไม่ได้ทรงแสดงสัทธานุสารีบุคคลที่ ๗ ไว้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเมื่อจะทรงแสดงบุคคลที่ ๗ นั้น ด้วยอำนาจผู้มีวิปัสสนาอย่างแรงกล้า จึงตรัสอย่างนี้
               บรรดาคําเหล่านั้น คําว่า นิมิตทั้งปวง (สพฺพนิมิตฺตานํ) ได้แก่ นิจจนิมิตเป็นต้นทั้งหมด
               คําว่า อันหานิมิตไม่ได้ (อนิมิตฺตํ) ได้แก่ สมาธิในวิปัสสนาอันมีกำลัง
               -----------------------------------------------------               

               ๓. ติสฺสพฺรหฺมาสุตฺตวณฺณนา               
               [๕๖] ตติเย ภิกฺขุนิโยติ มหาปชาปติยา ปริวารา ปญฺจสตา ภิกฺขุนิโย.
วิมุตฺตาติ ปญฺจหิ วิมุตฺตีหิ วิมุตฺตา. อนุปาทิเสสาติ อุปาทานเสสํ อฏฺฐเปตฺวา ๒-
ปญฺจหิ วิมุตฺตีหิ อนวเสสาหิ วิมุตฺตา. สอุปาทิเสเส วา สอุปาทิเสโสติ สอุปาทาน-
เสเส ปุคฺคเล "สอุปาทานเสโส อยนฺ"ติ. อิตรสฺมึปิ เอเสว นโย. ติสฺโสติ เถรสฺส
สทฺธิวิหาริโก พฺรหฺมา. อนุโลมิกานีติ ปฏิปตฺติยา อนุโลมานิ วิวิตฺตานิ อนฺติม-
ปริยนฺติมานิ. อินฺทฺริยานีติ สทฺธาทีนิ วิปสฺสนินฺทฺริยานิ. สมนฺนานยมาโนติ
สมนฺนาหาเร ฐปยมาโน. น หิ ปน เตติ อิทํ กสฺมา อารภิ? สตฺตมสฺส
ปุคฺคลสฺส ทสฺสนตฺถํ. สตฺตโม หิ สทฺธานุสาริปุคฺคโล น ทสฺสิโต. อถ ภควา
พลววิปสฺสกวเสน ตํ ทสฺเสนฺโต เอวมาห. ตตฺถ สพฺพนิมิตฺตานนฺติ สพฺเพสํ
นิจฺจนิมิตฺตาทีนํ. อนิมิตฺตนฺติ พลววิปสฺสนาสมาธึ.
@เชิงอรรถ: ฉ.ม. ปถวีตลํ สี. อคเหตฺวา

               อนุสยวคฺโค ทุติโย.               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต อัพยากตวรรคที่ ๑ ๓. ติสสสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 52อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 53อ่านอรรถกถา 23 / 54อ่านอรรถกถา 23 / 281
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=1637&Z=1733
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4260
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4260
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :