ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 240อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 241อ่านอรรถกถา 23 / 242อ่านอรรถกถา 23 / 281
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๔
๖. อานันทสูตร

               อรรถกถาอานันทสูตรที่ ๖               
               อานันทสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บทว่า สมฺพาเธ ได้แก่ ในที่คับแคบคือกามคุณ ๕.
               บทว่า โอกาสาธิคโม ได้แก่ ถึงโอกาส.
               บทว่า สตฺตานํ วิสุทฺธิยา ได้แก่ เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายถึงความบริสุทธิ์.
               บทว่า สมติกฺกมาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การล่วงไป.
               บทว่า อตฺถงฺคมาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การดับไป.
               บทว่า ญายสฺส อธิคมาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุมรรคพร้อมด้วยวิปัสสนา.
               บทว่า นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การทำนิพพานอันหาปัจจัยมิได้ให้ประจักษ์.
               บทว่า ตเทว นามํ จกฺขุํ ภวิสฺสติ ได้แก่ จักษุนั่นเองคือปสาทจักษุ จักแตกต่างกันไปก็หามิได้.
               บทว่า เต รูปา ได้แก่ รูปารมณ์นั้นเองจักมาสู่คลอง (ปสาทจักษุ).
               บทว่า ตญฺจายตนํ โน ปฏิสํเวทิสฺสติ ได้แก่ บุคคลผู้ไม่มีสัญญา จักไม่รู้รูปายตนะนั้น.
               แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
               บทว่า อุทายี ได้แก่ พระกาฬุทายิเถระ.
               บทว่า สญฺญเมว นุ โข ได้แก่ เป็นผู้มีจิตหรือหนอ.
                อักษรเป็นเพียงบทสนธิ.
               บทว่า กึ สญฺญี ได้แก่ เป็นผู้มีสัญญาด้วยสัญญาชนิดไหน.
               บทว่า สพฺพโส รูปสญฺญานํ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ความว่า ถามว่า เพราะเหตุไร พระอานนท์จึงถือเอารูปสัญญานี้ การเสวยอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น ย่อมมีแก่ท่านผู้พร้อมเพรียงด้วยปฐมฌานเป็นต้นหรือ.
               ตอบว่า ไม่มี ก็กสิณรูปยังเป็นอารมณ์อยู่เพียงใด รูปชื่อว่ายังไม่ล่วงไปอยู่เพียงนั้น รูปนั้นจักอาจเพื่อเป็นปัจจัย เพราะยังไม่ล่วงไป แต่ก็รูปนั้น เพราะยังไม่ล่วงไปจึงชื่อว่าไม่มี พระอานนท์ถือเอาคำนี้นั่นแลเพื่อแสดงว่า เพราะรูปไม่มี จึงไม่อาจเป็นปัจจัยได้.
               บทว่า ชฏิลคาหิยา ได้แก่ ภิกษุณีผู้อยู่ในเมืองชฏิลคหะ.
               ในบทว่า น จาภิณโต เป็นต้น พึงทราบเนื้อความต่อไปนี้.
               สมาธิ ชื่อว่าข่มห้ามด้วยการชักชวนไม่ได้ เพราะไม่น้อมไปด้วยอำนาจของราคะ ไม่นำออกไปด้วยอำนาจของโทสะ ข่มห้ามกิเลสทั้งหลายแล้วตั้งอยู่ด้วยการชักชวน ด้วยการประกอบไม่ได้ แต่เกิดขึ้นได้ในเมื่อตัดกิเลสได้แล้ว.
               บทว่า วิมุตฺตตฺตา ฐิโต ได้แก่ ชื่อว่าตั้งอยู่แล้ว เพราะพ้นจากกิเลสทั้งหลาย.
               บทว่า ฐิตตฺตา สนฺตุสิโต ได้แก่ ชื่อว่าสันโดษ เพราะตั้งมั่นแล้วนั่นเอง.
               บทว่า สนฺตุสิตตฺตา โน ปริตสฺสติ ได้แก่ ไม่ถึงความสะดุ้ง เพราะเป็นผู้สันโดษแล้ว.
               ด้วยบทว่า อยํ ภนฺเต อานนฺท สมาธิ กึผโล นี้ พระเถรีถือเอาสมาธิในอรหัตผลแล้วถามว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ สมาธินี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นผลของอะไร ดุจถือเอาผลตาลแล้วถามว่า ผลนี้ชื่อผลอะไรดังนี้.
               บทว่า อญฺญา ผโล วุตฺโต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระอรหัตว่า อญฺญา ชื่อว่าสมาธิในอรหัตผลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว.
               บทว่า เอวํสญฺญีปิ ความว่า แม้มีสัญญาด้วยสัญญาในอรหัตผลนี้ ก็ไม่เสวยอายตนะนั้น เพราะเหตุนั้น ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถึงสมาธิในอรหัตผลด้วยประการฉะนี้.

               จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๔ ๖. อานันทสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 240อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 241อ่านอรรถกถา 23 / 242อ่านอรรถกถา 23 / 281
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=9146&Z=9187
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7004
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7004
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :