ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 17อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 18อ่านอรรถกถา 23 / 19อ่านอรรถกถา 23 / 281
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อนุสยวรรคที่ ๒
๑๐. นิททสวัตถุสูตร

               พระสูตรที่ ๑๐ ไม่มีเนื้อความอรรถกถา.

               ๑๐. นิททสวัตถุสุตตวัณณนา [ฉบับมหาจุฬาฯ]               
               พรรณนาพระสูตรว่าด้วยนิททสวัตถุ               
               [๒๐] ในพระสูตรที่ ๑๐ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
               คำว่า นิททสวัตถุ (นิทฺทสวตฺถูนิ) ได้แก่ เรื่องอ้างถึงผู้มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี คือ เหตุที่พูดกันอย่างนี้ว่า “ภิกษุมีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี ไม่ถึง ๒๐ ปี ไม่ถึง ๓๐ ปี ไม่ถึง ๔๐ ปี ไม่ถึง ๕๐ ปี”
               ได้ทราบว่า ปัญหานี้เกิดขึ้นแล้วในสมัยพวกเดียรถีย์ เพราะนิครนถ์ทั้งหลายเรียกนิครนถ์ผู้ตายแล้ว ในเวลายังไม่ถึง ๑๐ ปีว่า 'ผู้มีอายุไม่ครบ ๑๐ ปี'
               ได้ทราบว่า นิครนถ์นั้น (เมื่อเกิดอีก) จะมีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี ไม่ใช่มีอายุ ๑๐ ปีเท่านั้น แม้อายุ ๙ ปีก็ดี แม้อายุ ๑ ปีก็ดี ย่อมไม่มี โดยนัยนี้นั่นเอง พวกเดียรถีย์จึงกล่าวถึงนิครนถ์ผู้ตายแล้วแม้ในเวลามี ๒๐ ปีเป็นต้นว่า “มีอายุไม่ถึง ๒๐ ปี ไม่ถึง ๓๐ ปี ไม่ถึง ๔๐ ปี ไม่ถึง ๕๐ ปี”
               ท่านพระอานนท์เที่ยวไปในหมู่บ้าน ได้ฟังคํากล่าวนั้นแล้ว ไปยังวิหาร กราบทูลพระผู้มีพระภาค
               พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ นี้ไม่ใช่คํากล่าวของพวกเดียรถีย์ นี้เป็นคํากล่าวของพระขีณาสพในศาสนาของเรา เพราะพระขีณาสพปรินิพพานแล้วในเวลามีอายุ ๑๐ ปี จึงไม่มีอายุ ๑๐ ปีอีก ไม่ใช่มีอายุ ๑๐ ปีเท่านั้น แม้อายุ ๙ ปีก็ดี ฯลฯ แม้อายุ ๑ ปีก็ดี ก็ย่อมไม่มี ไม่ใช่อายุ ๑ ปีเท่านั้น แม้อายุ ๑๑ เดือนก็ดี ฯลฯ แม้อายุ ๑ เดือนก็ดี แม้อายุครู่เดียวก็ดี ก็ย่อมไม่มีเหมือนกัน”
               เพราะเหตุไร เพราะไม่มีการปฏิสนธิอีก แม้ในอายุไม่ถึง ๒๐ ปีเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน ดังนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “นี้เป็นคํากล่าวของพระขีณาสพในศาสนาของเรา” เพื่อจะทรงแสดงเหตุที่มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี ก็ได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้
               บรรดาคําเหล่านั้น คําว่า ในธรรมวินัยนี้ (อิธ) ได้แก่ ในพระศาสนานี้
               คําว่า เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา (สิกฺขาสมาทาเน ติพฺพจฺฉนฺโท โหติ) ได้แก่ เป็นผู้มีฉันทะมีกําลัง ในการบําเพ็ญสิกขา ๓ ประการให้บริบูรณ์
               คําว่า และได้ความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป (อายติญฺจ สิกฺขาสมาทาเน อธิคตเปโม) ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยการได้ความรักในการบําเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์เท่านั้นในอนาคต คือแม้ในวันรุ่งขึ้น เป็นต้น
               คําว่า ในการใคร่ครวญธรรม (ธมฺมนิสนฺติยา) ได้แก่ ในการไตร่ตรองธรรม คํานี้เป็นชื่อของวิปัสสนา
               คําว่า ในการกําจัดความอยาก (อิจฺฉาวินเย) ได้แก่ ในการกําจัดตัณหา
               คําว่า หลีกเร้น (ปฏิสลฺลาเน) ได้แก่ ในภาวะมีผู้เดียว
               คําว่า ในการปรารภความเพียร (วิริยารมฺเภ) ได้แก่ ในการบําเพ็ญความเพียรทางกายและทางจิตให้บริบูรณ์
               คําว่า ในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน (สติเนปกฺเก) ได้แก่ ในการระลึกได้และในภาวะ (ปัญญา) ที่รักษาตน
               คําว่า ในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ (ทิฏฺฐิปฏิเวเธ) ได้แก่ ในการเห็นมรรค
               คําที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น
               อนุสยวรรคที่ ๒ จบ               
               -----------------------------------------------------               

               ๑๐. นิทฺทสวตฺถุสุตฺตวณฺณนา               
               [๒๐] ทสเม นิทฺทสวตฺถูนีติ นิทฺทสานิ วตฺถูนิ, ๒- "นิทฺทโส ภิกฺขุ, นิพฺพีโส,
นิตฺตึโส, นิจฺจตฺตาฬีโส, นิปฺปญฺญาโส"ติ เอวํ วจนการณานิ. อยํ กิร ปโญฺห
ติตฺถิยสมเย อุปฺปนฺโน. ติตฺถิยา หิ ทสวสฺสปฺปตฺตกาเล ๓- มตํ นิคณฺฐํ นิทฺทโสติ
วทนฺติ. โส กิร ปุน ทสวสฺโส น โหติ. น เกวลญฺจ ทสวสฺโสว, นววสฺโสปิ
@เชิงอรรถ: ฉ.ม. อสงฺขาเรเนว ฉ.ม. นิทฺทสาทิวตฺถูนิ ฉ.ม. ทสวสฺสกาเล
เอกวสฺโสปิ น โหติ. เอเตเนว นเยน วีสติวสฺสาทิกาเลปิ มตํ นิคณฺฐํ "นิพฺพีโส
นิตฺตึโส นิจฺจตฺตาฬีโส นิปฺปญฺญาโส"ติ วทนฺติ. อายสฺมา อานนฺโท คาเม วิจรนฺโต
ตํ กถํ สุตฺวา วิหารํ คนฺตฺวา ภควโต อาโรเจสิ. ภควา อาห:- น ยิทํ ๑-
อานนฺท ติตฺถิยานํ อธิวจนํ, มม สาสเน ขีณาสวสฺเสตํ อธิวจนํ. ขีณาสโว หิ
ทสวสฺสกาเล ปรินิพฺพุโต ปุน ทสวสฺโส น โหติ. น เกวลญฺจ ทสวสฺโสว,
นววสฺโสปิ ฯเปฯ เอกวสฺโสปิ. น เกวลญฺจ เอกวสฺโสว, เอกาทสมาสิโกปิ ฯเปฯ
เอกมาสิโกปิ เอกมุหุตฺติโกปิ น โหติเยว. กสฺมา? ปุน ปฏิสนฺธิยา อภาวา.
นิพฺพีสาทีสุปิ เอเสว นโย. อิติ ภควา "มม สาสเน ขีณาสวสฺเสตํ อธิวจนนฺ"ติ
วตฺวา เยหิ ๒- การเณหิ นิทฺทโส โหติ, ตานิ ทสฺเสตุํ อิมํ เทสนํ อารภิ.
               ตตฺถ อิธาติ อิมสฺมึ สาสเน. สิกฺขาสมาทาเน ติพฺพจฺฉนฺโท โหตีติ
สิกฺขาตฺตยปูรเณ พลวจฺฉนฺโท โหติ. อายติญฺจ สิกฺขาสมาทาเน อธิคตเปโมติ
อนาคเต ปุนทิวสาทีสุปิ สิกฺขาปูรเณ อธิคตเปเมเนว สมนฺนาคโต โหติ.
ธมฺมนิสนฺติยาติ ธมฺมนิสามนาย. ๓- วิปสฺสนาเยตํ อธิวจนํ. อิจฺฉาวินเยติ
ตณฺหาวินเย. ปฏิสลฺลาเนติ เอกีภาเว. วิริยารมฺเภติ กายิกเจตสิกสฺส วิริยสฺส
ปูรเณ. สติเนปกฺเกติ สติยญฺเจว นิปกภาเว จ. ทิฏฺฐิปฏิเวเธติ มคฺคทสฺสเน. เสสํ
สพฺพตฺถ อุตฺตานเมวาติ.
@เชิงอรรถ: ฉ.ม. น อิทํ ฉ.ม. เตหิ สี.,ม. ธมฺมนิสนฺตีติ ธมฺมนิสามนา

               อนุสยวคฺโค ทุติโย.               
               -----------------------------------------------------               

               รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
                         ๑. อนุสยสูตรที่ ๑
                         ๒. อนุสยสูตรที่ ๒
                         ๓. กุลสูตร
                         ๔. ปุคคลสูตร
                         ๕. อุทกูปมสูตร
                         ๖. อนิจจาสูตร
                         ๗. ทุกขสูตร
                         ๘. อนัตตาสูตร
                         ๙. นิพพานสูตร
                         ๑๐. นิททสวัตถุสูตร
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อนุสยวรรคที่ ๒ ๑๐. นิททสวัตถุสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 17อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 18อ่านอรรถกถา 23 / 19อ่านอรรถกถา 23 / 281
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=368&Z=388
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3670
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3670
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :