ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 15อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 16อ่านอรรถกถา 23 / 17อ่านอรรถกถา 23 / 281
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อนุสยวรรคที่ ๒
๖. อนิจจาสูตร

               อรรถกถาอนิจจสูตรที่ ๖               
               อนิจจสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               บุคคล ชื่อว่าอนิจานุปัสสี เพราะตามเห็นขยายไปด้วยปัญญาอย่างนี้ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง. บุคคล ชื่อว่าอนิจจสัญญี เพราะมีความสำคัญอย่างนี้ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง. บุคคล ชื่อว่าอนิจจปฏิสังเวที เพราะรู้ชัดด้วยญาณ (ปัญญา) อย่างนี้ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง.
               บทว่า สตตํ ได้แก่ ทุกกาล.
               บทว่า สมิตํ ความว่า จิตดวงหลัง ถึงแล้วคือเข้าถึงแล้ว สืบต่อกับจิตดวงก่อนอย่างใด จิตดวงก่อนก็สืบต่อกับจิตดวงหลังอย่างนั้น.
               บทว่า อพฺโพกิณฺณํ ความว่า ต่อกันไม่ขาดระยะ คือไม่เจือปนด้วยจิตดวงอื่น.
               บทว่า เจตสา อธิมุจฺจมาโน ได้แก่ น้อมใจไป.
               บทว่า ปญฺญาย ปริโยคามหาโน ได้แก่ ตามเข้าไปด้วยวิปัสสนาญาณ.
               บทว่า อปุพฺพํ อจริมํ ได้แก่ ไม่ก่อนไม่หลัง คือในขณะเดียวกันนั่นเอง.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสมสีสีบุคคลไว้ในพระสูตรนี้.
               สมสีสีบุคคลนั้นมี ๔ จำพวก คือ โรคสมสีสี เวทนาสมสีสี อิริยาปถสมสีสีและชีวิตสมสีสี.
               บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดไม่ถูกโรคอย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว โรคสงบระงับและอาสวะสิ้นไป โดยคราวเดียวกันนั่นเอง บุคคลนี้ ชื่อว่าโรคสมสีสี.
               ส่วนบุคคลใดพรั่งพร้อมด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งมีการยืนเป็นต้น เห็นแจ้งอยู่ อิริยาบถสิ้นสุดและอาสวะสิ้นไป โดยขณะเดียวกันนั่นเอง บุคคลนี้ ชื่อว่าอิริยาปถสมสีสี.
               ส่วนบุคคลใดพยายามฆ่าตัวตายหรือทำสมณธรรมอยู่ ชีวิตสิ้นไปและอาสวะก็สิ้นไป โดยขณะเดียวกันนั่นเอง บุคคลนี้ ชื่อว่าชีวิตสมสีสี.
               ชีวิตสมสีสีบุคคลนี้ ท่านประสงค์เอาในพระสูตรนี้.
               ในชีวิตสมสีสีบุคคลนั้น มีอธิบายว่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะย่อมมีได้ด้วยมรรคจิต ความสิ้นสุดแห่งชีวิตย่อมมีได้ด้วยจุติจิตก็จริง ถึงกระนั้น ชื่อว่าความเกิดพร้อมแห่งธรรมที่เป็นที่สิ้นอาสวะและการสิ้นสุดแห่งชีวิต ทั้ง ๒ อย่างย่อมมีในขณะเดียวกันไม่ได้. ก็เพราะเหตุที่พออาสวะของชีวิตสมสีสีบุคคลนั้นสิ้นไป ความสิ้นสุดแห่งชีวิตก็มาถึงในลำดับวาระแห่งปัจจเวกขณะทีเดียว ไม่ปรากฏช่องว่าง ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้.
               บทว่า อนฺตราปรินิพฺพายี นี้ เป็นชื่อของพระอนาคามีบุคคลผู้เกิดในภูมิใดภูมิหนึ่ง บรรดาสุทธาวาสภูมิทั้ง ๕ หรือเลยไปหน่อยหนึ่ง หรือยังตั้งอยู่ตรงกลาง ในขณะที่บังเกิดแล้วบรรลุพระอรหัต.
               บทว่า อุปหจฺจปรินิพฺพายี ได้แก่ พระอนาคามีบุคคลล่วงเลยกลางอายุขัยแล้ว จึงบรรลุพระอรหัตในสุทธาวาสภูมินั่นเอง.
               บทว่า อสงฺขารปรินิพฺพายี ได้แก่ พระอนาคามีบุคคลผู้ทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป โดยไม่ต้องกระตุ้นเตือน ไม่ต้องกระทำความพากเพียร ของบุคคลเหล่านั้นทั้งนั้น.

               สสงฺขารปรินิพฺพายีติ โย สสงฺขาเรน สมฺปโยเคน กิเลเส เขเปติ ฯ
               บทว่า สสงฺขารปรินิพฺพายี ได้แก่ พระอนาคามีบุคคลผู้ทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป โดยต้องกระตุ้นเตือน ต้องมีความพยายาม.
               บทว่า อุทฺธํโสโตอกนิฏฐาคามี ได้แก่ พระอนาคามีบุคคลผู้บังเกิดในสุทธาวาสภูมิชั้นต่ำ ๔ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง จุติจากภูมินั้นแล้วเกิดในอกนิฏฐภูมิโดยลำดับ แล้วบรรลุพระอรหัต.

               จบอรรถกถาอนิจจสูตรที่ ๖               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อนุสยวรรคที่ ๒ ๖. อนิจจาสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 23 / 1อ่านอรรถกถา 23 / 15อรรถกถา เล่มที่ 23 ข้อ 16อ่านอรรถกถา 23 / 17อ่านอรรถกถา 23 / 281
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=279&Z=316
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3639
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3639
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๘  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๕๐
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :